Please use this identifier to cite or link to this item:
http://202.28.20.112/dspace/handle/123456789/608
Title: | Biodiversity of Trichoptera larvae in Phayao province and its culture in the laboratory ความหลากหลายทางชีวภาพของตัวอ่อนแมลงหนอนปลอกน้ำในจังหวัดพะเยาและการเลี้ยงในห้องปฏิบัติการ |
Authors: | Dej Mann เดช มานน์ Sitthisak Pinmongkholgul สิทธิศักดิ์ ปิ่นมงคลกุล University of Phayao. School of Science |
Keywords: | ตัวอ่อนแมลงหนอนปลอกน้ำ, การเลี้ยง, ห้องปฏิบัติการ, อาหาร Trichoptera larvae Rearing Laboratory Feed |
Issue Date: | 17 |
Publisher: | University of Phayao |
Abstract: | Caddisfly larvae have been used in many fields. However, reported information on the rearing of caddisfly larvae in the laboratory was poorly understood. Therefore, it would be beneficial to study biodiversity of Trichoptera larvae in Phayao province. Samples of the larvae were collected from October 2019 to July 2020 in small streams at Wiang Lo Wildlife Sanctuary (Huai Mae Chun) and Phu Sang National Park (Nam Pueai, Nam Pueai upper stream, Huai Pong Pha, Huai Sai Kad, Nam Yuan upper stream, Nam Yuan Huai Pum) Phayao province (7 stations). A total of 2,795 individual caddisfly larvae belonging to 13 families were found. The larvae of the family Hydropsychidae were the most abundant from all stations. 7 families of case-making caddisflies, 5 families of net-spinning, and 1 family of free-living were found. The diversity index, richness index, and the evenness index of the larvae were highest at Huai Pong Pha (1.90, 3.50 and 0.86, respectively) and lowest at Nam Yuan upper stream (0.93, 2.27 and 0.48 respectively). Marilia sumatrana larvae of the Odontoceridae family were selected for study some optimal culture conditions in the laboratory. This study was divided into 3 experimental 1) The effects of the flowing and still water rearing systems on the growth and survival rate of M. sumatrana in the laboratory. The results indicated that the lengths gain of larvae cases reared in the flow water and still water were not significantly different (p > 0.05) and the survival rates of the flow water treatment were significantly (p < 0.05) higher than that of the still water treatment. 2) The effect of foods on the growth and survival rate of M. sumatrana in the laboratory. The results showed that the lengths gain of the larvae cases from treatments fed by catfish fry feed and shrimp feed were significantly (p < 0 .05) higher than those fed by leaf litter but the survival rates of any treatment were not significantly different (p > 0.05). 3) The effect of temperature (25, 30 and room temp.) on the growth and survival rate of M. sumatrana in the laboratory. The results showed that in all three treatments, there was no difference in the length gain and the survival rates (p > 0.05). In conclusion, the culture conditions of the M. sumatrana larvae in the laboratory should be reared in flowing water in 25ºC and fed with catfish fry feed. Finally, the results of this study might be applied to other types of caddisfly larval culture design. ตัวอ่อนแมลงหนอนปลอกน้ำถูกนำมาใช้ประโยชน์ในหลายด้าน แต่ยังขาดข้อมูลด้านการเลี้ยงตัวอ่อนแมลงหนอนปลอกน้ำในระดับห้องปฏิบัติการ จึงสำรวจความหลากหลายของตัวอ่อนแมลงหนอนปลอกน้ำที่เหมาะสมต่อการนำมาเลี้ยงในห้องปฏิบัติการ โดยเก็บตัวอย่างจากลำธารในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเวียงลอ (ห้วยแม่จุน) และเขตอุทยานแห่งชาติภูซาง (น้ำเปื๋อย, น้ำเปื๋อยส่วนต้น, ห้วยโป่งผา, ห้วยทรายกาด, น้ำญวนส่วนต้น, น้ำญวนห้วยปุ้ม) จังหวัดพะเยา รวม 7 สถานี ช่วงเดือนตุลาคม 2562 ถึงเดือนกรกฎาคม 2563 พบตัวอ่อนจำนวน 13 วงศ์ รวม 2,795 ตัว โดยตัวอ่อนในวงศ์ Hydropsychidae พบสูงสุดในทุกสถานีสำรวจ พบตัวอ่อนที่สร้างปลอกหุ้มตัวจากวัสดุตามธรรมชาติ 7 วงศ์ กลุ่มที่สร้างเส้นใยเป็นปลอกหุ้มตัว 5 วงศ์ และกลุ่มที่อยู่อาศัยอิสระ 1 วงศ์ ค่าดัชนีความหลากหลาย ดัชนีความมากชนิด และดัชนีความสม่ำเสมอ ของตัวอ่อนแมลงหนอนปลอกน้ำที่สำรวจ พบสูงสุดที่ ห้วยโป่งผา (1.90, 3.50 และ 0.86 ตามลำดับ) และต่ำสุดที่ น้ำญวนส่วนต้น (0.93, 2.27 และ 0.48 ตามลำดับ) ตัวอ่อนวงศ์ Odontoceridae ชนิด Marilia sumatrana ถูกคัดเลือกนำมาใช้ศึกษาปัจจัยบางประการที่ส่งผลต่อการเลี้ยงตัวอ่อนแมลงหนอนปลอกน้ำในห้องปฏิบัติการ โดยแบ่งการศึกษาออกเป็น 3 การทดลองย่อย ได้แก่ 1) ศึกษาการเลี้ยงตัวอ่อน M. sumatrana ในสภาวะน้ำไหลและน้ำไม่ไหล ที่ส่งผลต่อการเจริญเติบโต และอัตรารอดในห้องปฏิบัติการ พบว่า ปลอกของตัวอ่อนที่เลี้ยงในสภาวะน้ำไหล และน้ำไม่ไหล มีความยาวที่เพิ่มขึ้นไม่แตกต่างกัน (p > 0.05) อัตรารอดของชุดการทดลองที่เลี้ยงในสภาวะน้ำไหลสูงกว่าชุดการทดลองที่เลี้ยงในน้ำไม่ไหลอย่างมีนัยสำคัญ (p < 0.05) 2) ศึกษาอิทธิพลของอาหารต่างชนิดที่ส่งผลต่อการเจริญเติบโต และอัตรารอดของตัวอ่อน M. sumatrana ในห้องปฏิบัติการ พบว่า ตัวอ่อนที่เลี้ยงด้วยอาหารลูกปลาดุกบดละเอียด และอาหารกุ้งบดละเอียดมีความยาวของปลอกที่เพิ่มขึ้นมากกว่าตัวอ่อนที่เลี้ยงด้วยเศษซากใบไม้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < 0.05) ส่วนอัตรารอดพบว่าไม่แตกต่างกัน (p > 0.05) และ 3) ศึกษาอิทธิพลของอุณหภูมิน้ำที่ต่างกัน (25, 30 องศาเซลเซียส และอุณหภูมิห้อง) ต่อการเจริญเติบโต และอัตรารอดของตัวอ่อน M. sumatrana ในห้องปฏิบัติการ พบว่า ในทั้ง 3 ชุดการทดลอง ความยาวของปลอกที่เพิ่มขึ้นและอัตรารอดไม่แตกต่างกัน (p > 0.05) สรุปได้ว่า การเลี้ยงตัวอ่อนแมลงหนอนปลอกน้ำชนิด M. sumatrana ในห้องปฏิบัติการควรเลี้ยงในสภาวะน้ำไหล และเลี้ยงด้วยอาหารลูกปลาดุกบดละเอียด ผลการศึกษานี้สามารถนำไปประยุกต์ใช้กับการออกแบบการเลี้ยงตัวอ่อนแมลงหนอนปลอกน้ำชนิดอื่น ๆ ต่อไปได้ |
Description: | Master of Science (M.Sc. (ฺBiology)) วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (วท.ม. (ชีววิทยา)) |
URI: | http://202.28.20.112/dspace/handle/123456789/608 |
Appears in Collections: | School of Science |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
62081298.pdf | 2.1 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.