Please use this identifier to cite or link to this item: http://202.28.20.112/dspace/handle/123456789/590
Title: The effectiveness of the program based on health belief model in modifying the antibiotic use behavior among peoplein MaeLoi, Thoeng, Chiang Rai province
ประสิทธิผลของโปรแกรมการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ยาปฏิชีวนะโดยประยุกต์ใช้ทฤษฎีแบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพของประชาชนตำบลแม่ลอย อำเภอเทิง จังหวัดเชียงราย
Authors: Apichaya Kawee
อภิชญา กาวี
Somkid Juwa
สมคิด จูหว้า
University of Phayao. School of Medicine
Keywords: ยาปฏิชีวนะ
โปรแกรมการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ยาปฏิชีวนะ
พฤติกรรมการใช้ยาปฏิชีวนะ
antibiotic
antibiotic behavior modification program
antibiotic use behavior
Issue Date:  30
Publisher: University of Phayao
Abstract: This quasi-experimental research aimed to study the effectiveness of the program based on health belief model in modifying the antibiotic use behavior. The study groups were 78 persons live in in Mae Loi, Thoeng, Chiang Rai province ages 20-60 years and participants were simple random sampling to either the group (n = 38) or the control group (n = 38). The experimental group received program based on health belief model in modifying the antibiotic use behavior 4 sessions, 2-3 hours each, total of 9 activities over 8 weeks. Questionnaire was used as an instrument in this study. Data were collected by questionnaires which were validated by 3 experts and had Cronbach's alpha coefficients = .86 and .78 respectively. Data was collected at before and after implementing the program. Data analyzed by using Descriptive statistics, paired t-test and independent t-test. The study results showed that after participating in the program based on health belief model in modifying the antibiotic use behavior, The experimental group had mean perceived health belief theory and the average antibiotic used behavior was higher than before joining the program at α .05 significant level and the experimental group had higher average perceptions of health beliefs and antibiotic use behavior than the control group after joining the program at α .05 significant level.
การวิจัยกึ่งทดลองครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาประสิทธิผลของโปรแกรมการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ยาปฏิชีวนะโดยประยุกต์ใช้ทฤษฎีแบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพ กลุ่มตัวอย่างที่ศึกษาเป็นประชาชนทั่วไป อายุ 20-60 ปีที่อาศัยอยู่ในตำบลแม่ลอย อำเภอเทิง จังหวัดเชียงราย โดยใช้วิธีการสุ่มอย่างง่าย จำนวน 76 คน โดยเป็นกลุ่มทดลอง และกลุ่มควบคุม กลุ่มละ 38 คน โดยกลุ่มทดลองได้รับโปรแกรมการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ยาปฏิชีวนะ จำนวน 4 ครั้ง ครั้งละ 2-3 ชั่วโมง รวมกิจกรรมทั้งหมด 9 กิจกรรม ใช้ระยะเวลาในการจัดกิจกรรม 8 สัปดาห์ เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามก่อนและหลังการทดลอง ซึ่งผ่านการตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหาจากผู้ทรงคุณวุฒิ 3 ท่าน และได้ค่าสัมประสิทธิ์อัลฟ่าของครอนบาค (Cronbach’s coefficient alpha) เท่ากับ .86 และ .78 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา ความถี่ ร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน paired t-test และ independent t-test ผลการวิจัยพบว่าประสิทธิผลของโปรแกรมการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ยาปฏิชีวนะโดยประยุกต์ใช้ทฤษฎีแบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพมีประสิทธิผลทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของคะแนนเฉลี่ยการรับรู้ตามทฤษฎีความเชื่อด้านสุขภาพ และคะแนนเฉลี่ยพฤติกรรมการใช้ยาปฏิชีวนะ ของกลุ่มทดลองหลังได้รับโปรแกรมเพิ่มขึ้นกว่าก่อนได้รับโปรแกรม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ในส่วนของคะแนนเฉลี่ยการรับรู้ตามทฤษฎีความเชื่อด้านสุขภาพและคะแนนเฉลี่ยพฤติกรรมการใช้ยาปฏิชีวนะ ของกลุ่มทดลองหลังได้รับโปรแกรมสูงกว่ากลุ่มควบคุม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
Description: Master of Public Health (M.P.H.)
สาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต (ส.ม.)
URI: http://202.28.20.112/dspace/handle/123456789/590
Appears in Collections:School of Medicine

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
63054738.pdf2.84 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.