Please use this identifier to cite or link to this item: http://202.28.20.112/dspace/handle/123456789/589
Title: Effects of Protection Motivation Theory for Prevention Coronavirus Disease 2019 of Unvaccinated Elderly at Sankamphaeng District, Chiangmai Province.
ผลของการประยุกต์ใช้ทฤษฎีแรงจูงใจเพื่อป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ของผู้สูงอายุที่ยังไม่ได้รับวัคซีน อำเภอสันกําแพง จังหวัดเชียงใหม่
Authors: Sirijit Wachirawong
สิริจิตต์ วชิราวงศ์
Anukool Manotone
อนุกูล มะโนทน
University of Phayao. School of Medicine
Keywords: ทฤษฎีแรงจูงใจ, โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019, ผู้สูงอายุ
Protection Motivation Theory or Coronavirus Disease 2019 or Elderly
Issue Date:  17
Publisher: University of Phayao
Abstract: The coronavirus disease 2019 or COVID-19 pandemic was impacted on the lives of people, especially the elderly who are at high risk of Covid-19 infection. This research were 2 parts. This research aimed to study Effects of Protection Motivation Theory for Prevention Coronavirus Disease 2019 of Unvaccinated Elderly at Sankamphaeng District, Chiangmai Province. Part 1 of the research focuses on Knowledge, Attitude, Preventative behaviors of Corona Virus Disease 2019. The simple random sampling of 374 people. The first set of 374 questionnaires had been used to collect data. The data were analyzed by descriptive statistics as mean percentage standard division and Part II is Quasi-experimental research by one group pretest-posttest design. Specifically, 30 people with the lowest mean result from Part 1 were selected for the COVID-19 prevention incentive program by using the second questionnaires. The results showed that the samples were males with similar proportions as females. (50.30 and 49.70 percent), aged group between 60-69 years (36.10 percent), and Buddhist (97.10 percent), graduated from primary school (58.00 percent), had a congenital disease (62.80 percent) and they didn’t require vaccination for COVID-19 prevention (73.3 percent). The average scores of knowledge and attitude were moderate, preventive behaviors were high (= 9.05, S.D. = 2.57, = 3.25, S.D. = 0.55 and = 3.15, S.D. = 0.53 respectively). Part 2 shows that the samples were males with similar proportions as females. (53.30 and 46.70 percent), aged group between 70-79 years (43.70 percent), and Buddhist (100.00 percent), Mostly not studied (66.70 percent) and follow by graduated from primary school (33.30 percent), had a congenital disease (56.70 percent), they didn’t need vaccination for preventive COVID-19 (50.00 percent) and the samples had average scores of protective motivation and preventative behaviors of Corona Virus Disease 2019 were significantly higher than before at 0.05 significant level. COVID-19 has a higher level of motivation for disease prevention and prevention behavior. It will assist produce more appropriate and effective disease prevention behaviors. If it is promoted to with both family members and communities.
สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโควิด 19 อย่างต่อเนื่อง ส่งผลกระทบเป็นวงกว้างต่อการดำรงชีวิตของประชาชน โดยเฉพาะผู้สูงอายุซึ่งเป็นกลุ่มวัยที่มีความเสี่ยงสูง ต่อการติดเชื้อโควิด 19 การวิจัยครั้งนี้แบ่งเป็นสองตอน มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรม การสร้างแรงจูงใจ เพื่อป้องกันโรคโควิด 19 จากการประยุกต์ใช้ทฤษฎีแรงจูงใจ เพื่อป้องกันโรค ของผู้สูงอายุที่ยังไม่ได้รับวัคซีนป้องกัน  โรคโควิด 19 อำเภอสันกำแพง จังหวัดเชียงใหม่ โดยตอนที่ 1 เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research) เพื่อศึกษา ความรู้ ทัศนคติ พฤติกรรมการป้องกันโรคโควิด 19 สุ่มตัวอย่างแบบง่าย เก็บข้อมูลด้วยแบบสอบถามชุดที่ 1 จำนวน 374 ชุด วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติพรรณนา ค่าเฉลี่ย ร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ส่วนตอนที่ 2 การวิจัยแบบกึ่งทดลอง (Quasi-Experimental Research)  ใช้กลุ่มตัวอย่างแบบกลุ่มเดียวเปรียบเทียบก่อนและหลังการทดลอง (One Group Pretest-Posttest Design) คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างที่มีคะแนนเฉลี่ยต่ำที่สุดแบบเฉพาะเจาะจงจากตอนที่ 1 จำนวน 30 คน ในการเข้ารับโปรแกรมการสร้างแรงจูงใจเพื่อป้องกันโรคโควิด 19 โดยเก็บข้อมูล ด้วยแบบสอบถามชุดที่ 2 ผลการวิจัยพบว่า ตอนที่ 1 กลุ่มตัวอย่างเป็นเพศชายมีสัดส่วนใกล้เคียงกับเพศหญิง อายุอยู่ในช่วง 60-69 ปี (ร้อยละ 36.10) นับถือศาสนาพุทธ (ร้อยละ 97.10) จบการศึกษาระดับชั้นประถมศึกษา (ร้อยละ 58.00) มีโรคประจำตัว (ร้อยละ 62.80) และไม่มีความต้องการรับวัคซีนป้องกัน โรคโควิด 19 (ร้อยละ 73.3) ค่าเฉลี่ยคะแนนความรู้และทัศนคติอยู่ในระดับปานกลาง (= 9.05, S.D. = 2.57 และ = 3.25, S.D. = 0.55 ตามลำดับ) ส่วนพฤติกรรมการป้องกันโรคโควิด 19 อยู่ในระดับสูง (= 3.15, S.D. = 0.53) ในตอนที่ 2 พบว่า กลุ่มตัวอย่างเป็นเพศชายมีสัดส่วนใกล้เคียงกับเพศหญิง อายุส่วนใหญ่อยู่ในช่วง 70-79 ปี (ร้อยละ 43.70) ทั้งหมดนับถือศาสนาพุทธ ไม่ได้ศึกษาเป็นส่วนใหญ่ (ร้อยละ 66.70) รองลงมาคือ จบการศึกษาระดับชั้นประถมศึกษา (ร้อยละ 33.30) กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ มีโรคประจำตัว (ร้อยละ 56.70) มีความต้องการและไม่มีความต้องการรับวัคซีนป้องกันโรคโควิด 19 ในสัดส่วนที่เท่ากัน (ร้อยละ 50.00) ด้านแรงจูงใจเพื่อป้องกันโรคและพฤติกรรมการป้องกันโรคโควิด 19 ก่อนและหลังได้รับโปรแกรมการสร้างแรงจูงใจเพื่อป้องกันโรคโควิด 19 มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ซึ่งระดับแรงจูงใจเพื่อป้องกันโรคและพฤติกรรมการป้องกันโรคโควิด 19 อยู่ในระดับ ที่ดีขึ้น หากได้รับการส่งเสริมกับบุคคลทั้งในครอบครัว และชุมชน จะช่วยให้เกิดพฤติกรรมการป้องกันโรค ที่เหมาะสมและมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
Description: Master of Public Health (M.P.H.)
สาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต (ส.ม.)
URI: http://202.28.20.112/dspace/handle/123456789/589
Appears in Collections:School of Medicine

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
63054727.pdf2.31 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.