Please use this identifier to cite or link to this item: http://202.28.20.112/dspace/handle/123456789/584
Title: PREDICTING FACTORS OF PREVENTIVE BEHAVIORS FOR AGRICULTURAL CHEMICAL EXPOSURE OF GARLIC GROWERS, MAE KHA SUBDISTRICT, FANG DISTRICT, CHIANG MAI PROVINCE
ปัจจัยทำนายพฤติกรรมการป้องกันสารเคมีกำจัดศัตรูพืชของเกษตรกร ผู้ปลูกกระเทียม ตำบลแม่คะ อำเภอฝาง จังหวัดเชียงใหม่
Authors: Sarinya Saosing
ศรินยา เสาร์สิงห์
Namngern Chantaramanee
น้ำเงิน จันทรมณี
University of Phayao. School of Medicine
Keywords: สารเคมีกำจัดศัตรูพืช
การรับรู้สมรรถนะแห่งตน
ความรอบรู้ด้านสุขภาพ
พฤติกรรมการป้องกันสารเคมีกำจัดศัตรูพืช
Agricultural Chemical Exposure
Self-efficacy
Health literacy
Preventive behaviors for agricultural chemical exposure
Issue Date:  17
Publisher: University of Phayao
Abstract: This study was a cross-sectional survey research. The objective of the study to predicting factors of preventive behaviors for agricultural chemical exposure of garlic growers in Mae Kha Subdistrict, Fang district, Chiang Mai Province. The sample group was 200 people, sampling by simple random sampling. Data were collected by using a questionnaire, and analyzed by frequency distribution, percentage, mean score, standard deviation. And factors of preventive behaviors relation were analyzed by Chi-square, Pearson’s Correlation Coefficient and Stepwise multiple regression. The results showed that most of the samples were male (84.50%), marital status was married/couple (88.00%), graduated in primary school (79.00%), average family income from garlic planting was 97,725.00 ± 59,566.68 baht per year, average occupation of garlic planting was 19.68 ± 8.50 years, the secondary occupations was other agriculture together which garlic planting (68.50%), average duration of agricultural chemical exposure was 22.78 ± 9.60 years. The most agricultural chemical exposure was Mancozeb (81.50%), and the majority spraying by themselves (70.00%). Level of pesticide preventive behaviors of garlic growers was high. Factors statistically related to pesticide preventive behavior of garlic growers were Benomyl using, Perceived self-efficacy in preventive agricultural chemical exposure, outcome expectation in preventive agricultural chemical exposure, access-literacy, communication skill, decision skill, self-management skill and media-literacy. And this study also found that access-literacy, media-literacy and outcome expectation was able to predict the preventive agricultural chemical exposure by 33.40 percent that statistically significant at the 0.05 level. The results can be used to organize a health promotion program to behaviors modification and develop a surveillance system for the dangers arising from the use of agricultural chemical for farmers further
การศึกษานี้เป็นการศึกษาวิจัยเชิงสำรวจแบบภาคตัดขวาง เพื่อศึกษาปัจจัยทำนายพฤติกรรม การป้องกันสารเคมีกำจัดศัตรูพืชของเกษตรกรผู้ปลูกกระเทียม ตำบลแม่คะ อำเภอฝาง จังหวัดเชียงใหม่ กลุ่มตัวอย่างคือ เกษตรกรผู้ปลูกกระเทียมในตำบลแม่คะ จำนวน 200 คน สุ่มตัวอย่างด้วยวิธีการสุ่มอย่างง่าย รวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้การแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบน มาตรฐาน วิเคราะห์ความสัมพันธ์โดยใช้สถิติไคสแควร์ สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน และสถิติถดถอย เชิงพหุคูณแบบขั้นตอน ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศชาย (ร้อยละ 84.50) ส่วนมากสถานภาพ สมรส/คู่ (ร้อยละ 88.00) สำเร็จการศึกษาระดับชั้นประถมศึกษา (ร้อยละ 79.00) รายได้เฉลี่ยของครอบครัวจาก การปลูกกระเทียม 97,725.00 ± 59,566.68 บาทต่อปี ระยะเวลาเฉลี่ยการประกอบอาชีพปลูกกระเทียม 19.68 ± 8.50 ปี ส่วนมากอาชีพรอง ทำเกษตรกรรมอื่นควบคู่ (ร้อยละ 68.50) ระยะเวลาเฉลี่ยในการใช้สารเคมี กำจัดศัตรูพืช 22.78 ± 9.60 ปี สารเคมีที่ใช้ในการปลูกกระเทียมมากที่สุด คือ Mancozeb (ร้อยละ 81.50) และส่วนใหญ่ฉีดพ่นเองทั้งหมด (ร้อยละ 70.00) กลุ่มตัวอย่างมีพฤติกรรมการป้องกันสารเคมีกำจัดศัตรูพืชของ เกษตรกรผู้ปลูกกระเทียมอยู่ในระดับมาก ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการป้องกันสารเคมีกำจัดศัตรูพืช ของเกษตรกรผู้ปลูกกระเทียม ได้แก่ การใช้สารเคมี Benomyl การรับรู้ความสามารถในการป้องกันอันตราย จากการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืช การคาดหวังในผลลัพธ์ของการป้องกันอันตรายจากการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืช การเข้าถึงข้อมูลและบริการสุขภาพ ทักษะการสื่อสาร ทักษะการตัดสินใจ ทักษะการจัดการตนเอง และการรู้ เท่าทันสื่อและพบว่าการเข้าถึงข้อมูลและบริการสุขภาพ การรู้เท่าทันสื่อ และการคาดหวังในผลลัพธ์ของ การป้องกันอันตรายจากการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืช สามารถร่วมทำนายพฤติกรรมการป้องกันสารเคมีกำจัด ศัตรูพืชของเกษตรกรผู้ปลูกกระเทียม ได้ร้อยละ 33.40 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ผลที่ได้ สามารถนำไปจัดโปรแกรมส่งเสริมสุขภาพในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมและพัฒนาระบบเฝ้าระวังอันตราย ที่เกิดจากการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชของเกษตรกรต่อไปได้
Description: Master of Public Health (M.P.H.)
สาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต (ส.ม.)
URI: http://202.28.20.112/dspace/handle/123456789/584
Appears in Collections:School of Medicine

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
62055682.pdf2.76 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.