Please use this identifier to cite or link to this item: http://202.28.20.112/dspace/handle/123456789/571
Title: A CREATIVE LEADERSHIP DEVELOPMENT MODEL FOR ADMINISTRATORS OF SECONDARY SCHOOLS UNDER OFFICE OF THE BASIC EDUCATION COMMISSION
รูปแบบการพัฒนาภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ของผู้บริหารโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
Authors: Jitrawee Suesut
จิตรวี ซื่อสัตย์
Santi Buranachart
สันติ บูรณะชาติ
University of Phayao. School of Education
Keywords: รูปแบบการพัฒนาภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์, ภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์, ผู้บริหารโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
Model of Creative Leadership Development
Creative Leadership
Administrators of secondary schools under office of the basic education commission
Issue Date:  16
Publisher: University of Phayao
Abstract: The purposes of this research were 1) to study a creative leadership of secondary school administrators that affect school effectiveness and guidelines for developing creative leadership of secondary school administrators under the office of the basic education commission. 2) to design a creative leadership development model for administrators of secondary schools under office of the basic education commission, and 3) to evaluate a creative leadership development model for administrators of secondary schools under office of the basic education commission. The findings were as follow: 1. The creative leadership characteristics of all secondary school administrators had a statistically significant positive influence on the effectiveness of secondary schools at 0.05 level. In descending order of influence, operations to the goal, motivation, problem-solving ability, vision, imagination and flexible thinking. In addition, the guidelines for developing the creative leadership of administrators based on the curriculum and the creative leadership development manual of secondary school administrators under the office of the basic education commission. 2. A creative leadership development model for administrators of secondary schools under office of the basic education commission consists of; 1) input is school administrator's creative leadership development curriculum and handbook, and 2) process is learning management through training (10%), study-based learning and training (20%) and on-site learning (70%), in addition 3) output is school administrators have creative leadership traits, moreover 4) outcome is quality of administrative processes and management of school administrators. Lastly, 5) feedback is the results of the creative leadership development of secondary school administrators according to the curriculum and the creative leadership development manual. 3. The evaluation result of a creative leadership development model for administrators of secondary schools under office of the basic education commission were considered in high level for feasibility and the highest level for utilization.
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาคุณลักษณะภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ของผู้บริหารโรงเรียนมัธยมศึกษาที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของโรงเรียน และแนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ของผู้บริหารโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน 2) เพื่อสร้างรูปแบบการพัฒนาภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ของผู้บริหารโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน และ 3) เพื่อประเมินรูปแบบการพัฒนาภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ของผู้บริหารโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ผลการวิจัยพบว่า 1. คุณลักษณะภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ของผู้บริหารโรงเรียนมัธยมศึกษาทุกตัวมีอิทธิพลรวมทางบวกต่อประสิทธิผลของโรงเรียนมัธยมศึกษาอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 โดยเป็นอิทธิพลทางบวกทั้งหมด เรียงตามลำดับจากอิทธิพลมากไปน้อย ได้แก่ ด้านการปฏิบัติงานสู่เป้าหมาย ด้านการมีแรงจูงใจ ด้านความสามารถในการแก้ปัญหา ด้านการมีวิสัยทัศน์ ด้านการมีจินตนาการ และด้านความคิดยืดหยุ่น แนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ของผู้บริหารโรงเรียนยึดตามหลักสูตรและคู่มือการพัฒนาภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ของผู้บริหารโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน 2. รูปแบบการพัฒนาภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ของผู้บริหารโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ประกอบด้วย 1) ปัจจัยนำเข้า (Input) คือ หลักสูตรและคู่มือการพัฒนาภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ของผู้บริหารโรงเรียน 2) กระบวนการ (Process) คือ การจัดการเรียนรู้โดยเป็นการเรียนรู้จากการฝึกอบรม (10%) การเรียนรู้จากการศึกษาดูงานและการฝึกอบรม (20%) และการเรียนรู้จากการปฏิบัติงานจริงในสถานศึกษา (70%) 3) ผลผลิต (Output) คือ ผู้บริหารโรงเรียนมีคุณลักษณะภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ 4) ผลลัพธ์ (Outcome) คือ คุณภาพกระบวนการบริหารและการจัดการของผู้บริหารโรงเรียน และ 5) ข้อมูลย้อนกลับ (Feedback) คือ ผลการพัฒนาภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ของผู้บริหารโรงเรียนตามหลักสูตรและคู่มือการพัฒนาภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ 3. ผลการประเมินความเป็นไปได้และความเป็นประโยชน์ของรูปแบบการพัฒนาภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ของผู้บริหารโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานในภาพรวม พบว่า มีความเป็นไปได้อยู่ในระดับมาก และมีความเป็นประโยชน์อยู่ในระดับมากที่สุด
Description: Doctor of Philosophy (Ph.D (Educational Administration))
การศึกษาดุษฎีบัณฑิต (กศ.ด. (การบริหารการศึกษา))
URI: http://202.28.20.112/dspace/handle/123456789/571
Appears in Collections:School of Education

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
59206855.pdf6.87 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.