Please use this identifier to cite or link to this item: http://202.28.20.112/dspace/handle/123456789/567
Title: THE DEVELOPMENT OF AN INSTRUCTIONAL MODEL TO ENHANCE CHINESE LANGUAGE TEACHING CAPACITY BASED ON COGNITIVE APPRENTICESHIP FOR TEACHER PROFESSIONAL STUDENTS IN CHINESE LANGUAGE TEACHING MAJOR
การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนเพื่อเสริมสร้างสมรรถนะการสอนภาษาจีนตามแนวคิดการฝึกหัดทางปัญญา สำหรับนักศึกษาวิชาชีพครูวิชาเอกการสอนภาษาจีน
Authors: Janjira Chaipamornrit
จันทร์จิรา ชัยภมรฤทธิ์
Ketsaraphan punsrikate Khongcharoen
เกศราพรรณ พันธุ์ศรีเกตุ คงเจริญ
University of Phayao. School of Education
Keywords: รูปแบบการสอน สมรรถนะการสอนภาษาจีน การฝึกหัดทางปัญญา
Intructional model Chinese language teaching capacity Cognitive apprenticeship
Issue Date:  7
Publisher: University of Phayao
Abstract: The objective of this research is 1) To develop teaching and learning models to enhance Chinese teaching competency according to the concept of intellectual training of teaching professional students majoring in teaching Chinese 2) To evaluate the teaching style to enhance Chinese teaching competency. according to the concept of intellectual training of teaching professional students Chinese language teaching majors, which consist of Knowledge and understanding of teaching design and teaching and learning management teaching design and instructional management skills and attitude towards the teaching profession The sample group used in the research 60 students in the Chinese Language Teaching Department, Faculty of Education, Chiang Rai Rajabhat University, 4th year, were selected by specific selection. Then the drawings were divided into 30 experimental groups and 30 control groups. The experimental groups were taught according to the teaching model to enhance teaching competency according to the concept of intellectual practice. The control group was treated with normal teaching methods. The tools used for data collection were the Cognitive Scale, Teaching Design and Instructional Management. Teaching Design and Instructional Management Skills Assessment Form and an attitude measurement model towards the teaching profession Analyze the data by taking the mean. Standard Deviation and t-test The results showed that 1. The experimental group was a teacher-professional student who studied by using a teaching model based on the concept of intellectual training. The scores on knowledge and understanding of teaching design and teaching management differed from the teaching profession students who were in the control group. that have been taught with normal teaching methods that are taught by normal teaching It was statistically significant at the .05 level, which was in line with the assumptions set. 2. The experimental group was a teacher professional student. that learns by using a teaching-learning model based on the concept intellectual exercise The scores on teaching design and instructional management skills differed from the control group. who are professional teachers who study by teaching normally It was statistically significant at the .05 level and was consistent with the hypothesis. 3. The experimental group was a teacher professional student. that are taught by using a teaching-learning style according to thinking intellectual exercise The attitude scores towards the teaching profession were different from the control group which were students who studied by normal teaching. It was statistically significant at the .05 level and matched the hypothesis set. 4. Additional research results that are qualitative research In addition to the quantitative research tools mentioned above. It can be summarized as follows: the recording of observations of the model teacher's teaching management, teaching style, teaching methods, teaching techniques used by teachers. The model teachers have arranged the teaching steps in a variety of ways according to the subject matter. Teachers have different opinions on the preparation of learning management plans. Students can prepare a learning management plan with all the elements. But be careful about the use of words, for example, some words are used in spoken language. should be changed to use the words used in the written language The feelings of the students who studied from the model teachers That is, the teacher is a very high role model teacher. have a good teaching preparation Teaching materials are selected that are consistent with the content. Make students interested in teaching and learning management of teachers. Therefore, children are enthusiastic about learning. Students are involved in the teacher's teaching at all times.
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนเสริมสร้างสมรรถนะการสอนภาษาจีนตามแนวคิดการฝึกหัดทางปัญญา ของนักศึกษาวิชาชีพครู วิชาเอกการสอนภาษาจีน 2) เพื่อประเมินผลรูปแบบการเรียนการสอนเสริมสร้างสมรรถนะการสอนภาษาจีน ตามแนวคิดการฝึกหัดทางปัญญาของนักศึกษาวิชาชีพครู วิชาเอกการสอนภาษาจีนซึ่งประกอบด้วย ความรู้ความเข้าใจ การออกแบบการสอนและการจัดการเรียนการสอน ทักษะการออกแบบการสอนและการจัดการเรียน การสอนและเจตคติต่อวิชาชีพครู กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในงานวิจัย คือ นักศึกษาสาขาการสอนภาษาจีน คณะครุศาสตร์มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย ชั้นปีที่ 4 จำนวน 60 คน ได้มาด้วยการเลือกแบบเจาะจง จากนั้นจับฉลากแบ่งเป็นกลุ่มทดลอง 30 คน และกลุ่มควบคุม 30 คน โดยกลุ่มทดลองได้รับการจัดการเรียนการสอน ตามรูปแบบการเรียนการสอนเสริมสมรรถนะการสอนตามแนวคิดฝึกหัดทางปัญญา กลุ่มควบคุมได้รับ การจัดการเรียนการสอนด้วยรูปแบบปกติ เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบวัดความรู้ ความเข้าใจการออกแบบการสอนและการจัดการเรียนการสอน  แบบประเมินทักษะการออกแบบการสอนและการจัดการเรียนการสอน และแบบวัดเจตคติที่มีต่อวิชาชีพครู  วิเคราะห์ข้อมูลโดยการนำมาหาค่าเฉลี่ยส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและการทดสอบหาค่า (t-test) ผลการวิจัยพบว่า               1. กลุ่มทดลองที่เป็นนักศึกษาวิชาชีพครูที่เรียนโดยใช้รูปแบบการเรียนการสอนตามแนวคิด การฝึกหัดทางปัญญา มีคะแนนความรู้ความเข้าใจการออกแบบการสอนและการจัดการเรียนการสอนแตกต่างจากนักศึกษาวิชาชีพครูที่เป็นกลุ่มควบคุม ที่ได้รับการสอนด้วยวิธีการสอนปกติ ที่เรียนโดยการเรียนการสอนปกติ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ซึ่งเป็นไปตามสมมติฐานที่ได้ตั้งไว้               2. กลุ่มทดลองที่เป็นนักศึกษาวิชาชีพครู ที่เรียนโดยใช้รูปแบบการเรียนการสอนตามแนวคิด การฝึกหัดทางปัญญา มีคะแนนทักษะการออกแบบการสอนและการจัดการเรียนการสอนแตกต่างจากกลุ่มควบคุม ที่เป็นนักศึกษาวิชาชีพครูที่เรียนโดยการสอนปกติ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และสอดคล้องกับสมมติฐานที่ได้วางไว้               3. กลุ่มทดลองที่เป็นนักศึกษาวิชาชีพครู ที่เรียนโดยใช้รูปแบบการเรียนการสอนตามแนวคิด การฝึกหัดทางปัญญา มีคะแนนเจตคติต่อวิชาชีพครูแตกต่างจากกลุ่มควบคุมที่เป็นนักศึกษาที่เรียนโดยการสอนปกติ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และตรงกันกับสมมติฐานที่ได้ตั้งไว้               4. ผลการวิจัยเพิ่มเติมที่เป็นวิจัยเชิงคุณภาพ ที่นอกเหนือจากเครื่องมือในการวิจัยเชิงปริมาณ ที่กล่าวมาแล้วข้างต้น สามารถสรุปได้ดังนี้การบันทึกการสังเกตการณ์จัดการเรียนการสอนของครูต้นแบบรูปแบบการสอน วิธีสอน เทคนิคการสอนที่ครูใช้ ครูต้นแบบมีการจัดลำดับขั้นตอนการสอนอย่างหลากหลายตามเนื้อหาสาระ ครูมีความคิดเห็นที่แตกต่างกันด้านการจัดทำแผนการจัดการเรียนรู้ว่า นักศึกษาสามารถจัดทำแผนการจัดการเรียนรู้ได้ครบองค์ประกอบ แต่ควรระวังเรื่องการใช้คำ เช่น มีการใช้คำบางคำที่เป็นภาษาพูด ควรเปลี่ยนเป็นใช้คำที่ใช้ในภาษาเขียน ความรู้สึกของนักศึกษาที่ได้ศึกษาจากครูต้นแบบ คือ ครูนั้นมีความเป็นครูต้นแบบสูงมาก มีการเตรียมการสอนที่ดี มีการเลือกใช้สื่อการสอนที่สอดคล้องกับเนื้อหา ทำให้เด็กนักเรียนสนใจต่อการจัดการเรียนการสอนของครู จึงทำให้เด็กมีความกระตือรือร้นในการเรียนนักเรียนมีส่วนร่วมในการเรียนการสอนของครูตลอดเวลา
Description: Doctor of Education Program (Ed.D.(Curriculum and Instruction))
การศึกษาดุษฎีบัณฑิต (กศ.ด.(หลักสูตรและการสอน))
URI: http://202.28.20.112/dspace/handle/123456789/567
Appears in Collections:School of Education

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
58208441.pdf466.92 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.