Please use this identifier to cite or link to this item: http://202.28.20.112/dspace/handle/123456789/563
Title: MANAGEMENT STRATEGIES OF SCHOOL IN REMOTE HIGHLAND AREAS
กลยุทธ์การบริหารโรงเรียนบนพื้นที่สูงและทุรกันดาร
Authors: Chongkol Kaewko
จงกล แก้วโก
Sombat Noparak
สมบัติ นพรัก
University of Phayao. School of Education
Keywords: กลยุทธ์การบริหารโรงเรียน
พื้นที่สูงและทุรกันดาร
Management Strategies of School
Remote Highland Areas
Issue Date:  9
Publisher: University of Phayao
Abstract: The purposes of this research were 1) to study the environment, need, and guidelines for the management strategies of school in remote highland areas. 2) to establish a strategies for the management of school in remote highland areas. 3) The evaluation for the management of school in remote highland areas. The research consists of 3 step. For step 1, study the environment, need, and guidelines for the management of school in remote highland areas. The samples used in the research were 400 school administrators and teachers, 12 experts and school administrators, teachers and board of educational institutions, totaling 3 schools. The research instruments were questionnaires and interviews. The SPSS for Windows package was used to measure data analysis. The statistics used consisted of percentage, mean, and standard deviation and content analysis. For step 2, establish a strategies for the school management of remote highland areas. The focus group discussion was organized among 9 experts to confirm the propriety standard of the strategies. For step 3, evaluate strategies for the management strategies of school in remote highland areas. The sample of this research consisted of 77 school administrators. The research instruments were questionnaires. Statistics employed for data analyses were mean and standard deviation. The results revealed that; 1. The management strategies of school in remote highland areas consists of 4 strategies, 16 sub-strategies, 62 measures and 48 indicators, which is the most propriety level. The strategies consist of 1) creating educational opportunities with 4 sub-strategies, 12 measures, 7 indicators. 2) Improve the quality of education in improving the quality of life according to the philosophy of sufficiency economy with 5 sub-strategies, 24 measures, 18 indicators. 3) improve the personnel management system with 3 sub-strategies, 14 measures, 13 indicators. and 4) accelerate the development of efficiency of the management system based on the spatial context, with 4 sub-strategies, 12 measures, 10 indicators. 2. The evaluation of the feasibility of strategies which was at a high level, and utility of strategies which was the most level.
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสภาพแวดล้อม ความต้องการและแนวทางการบริหารโรงเรียนบนพื้นที่สูงและทุรกันดาร 2) เพื่อสร้างกลยุทธ์การบริหารโรงเรียนบนพื้นที่สูงและทุรกันดาร 3) เพื่อประเมินกลยุทธ์การบริหารโรงเรียนบนพื้นที่สูงและทุรกันดาร กำหนดขั้นตอนการวิจัยเป็น 3 ขั้นตอน ขั้นตอนที่ 1 การศึกษาสภาพแวดล้อม ความต้องการการบริหารโรงเรียนบนพื้นที่สูงและทุรกันดาร กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษาและครูผู้สอน จำนวน 400 คน เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถามการศึกษาแนวทางการบริหารโรงเรียนบนพื้นที่สูงและทุรกันดาร กลุ่มผู้ให้ข้อมูล ได้แก่ ผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 12 คน เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสัมภาษณ์ การศึกษาแนวปฏิบัติที่ดีการบริหารโรงเรียนบนพื้นที่สูงและทุรกันดาร กลุ่มผู้ให้ข้อมูล ได้แก่ ผู้บริหาร ครูผู้สอนและกรรมการสถานศึกษา จำนวน 3 โรงเรียน เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสัมภาษณ์ ขั้นตอนที่ 2 การยกร่างและตรวจสอบร่างกลยุทธ์โดยผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 9 คน ด้วยการสนทนากลุ่ม ขั้นตอนที่ 3 การประเมินความเป็นไปได้และความเป็นประโยชน์ กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้บริหารโรงเรียน จำนวน 77 คน เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถาม การวิเคราะห์ข้อมูลใช้โปรแกรมสำเร็จรูป สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัย พบว่า 1. กลยุทธ์การบริหารโรงเรียนบนพื้นที่สูงและทุรกันดารมีทั้งหมด 4 กลยุทธ์หลัก 16 กลยุทธ์ย่อย 62 มาตรการและ 48 ตัวชี้วัด กลยุทธ์หลักที่ 1) สร้างโอกาสทางการศึกษา ประกอบด้วย 4 กลยุทธ์ย่อย 12 มาตรการและ 7 ตัวชี้วัด กลยุทธ์หลัก 2) ปรับปรุงคุณภาพการศึกษาในการพัฒนาคุณภาพชีวิตตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ประกอบด้วย 5 กลยุทธ์ย่อย 24 มาตรการ และ 18 ตัวชี้วัด กลยุทธ์หลัก 3) ปรับปรุงระบบการบริหารงานบุคลากร ประกอบด้วย 3 กลยุทธ์ย่อย 14 มาตรการและ 13 ตัวชี้วัด และกลยุทธ์หลัก 4) เร่งพัฒนาประสิทธิภาพระบบการบริหารโดยใช้บริบทเชิงพื้นที่เป็นฐาน ประกอบด้วย 4 กลยุทธ์ย่อย 12 มาตรการและ 10 ตัวชี้วัด โดยกลยุทธ์มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด 2. ผลการประเมินกลยุทธ์มีความเป็นไปได้อยู่ในระดับมาก และความเป็นประโยชน์อยู่ในระดับมากที่สุด
Description: Doctor of Philosophy (Ph.D (Educational Administration))
การศึกษาดุษฎีบัณฑิต (กศ.ด. (การบริหารการศึกษา))
URI: http://202.28.20.112/dspace/handle/123456789/563
Appears in Collections:School of Education

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
58208160.pdf12.4 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.