Please use this identifier to cite or link to this item: http://202.28.20.112/dspace/handle/123456789/510
Title: PERFORMANCE STATE ACCORDING TO LOCAL CURRICULUM FOR SCHOOL TEACHER INMOUNTAINOUS AREA CHIANG RAI PRIMARY EDUCATIONAL SERVICE AREA OFFICE 2
สภาพการดำเนินงานตามหลักสูตรท้องถิ่นของครูโรงเรียนบนพื้นที่สูงสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงราย เขต 2
Authors: Angwara Pechdin
อังค์วรา เพชรดิน
Thararat Malaitao
ธารารัตน์ มาลัยเถาว์
University of Phayao. School of Education
Keywords: หลักสูตรท้องถิ่นของโรงเรียนบนพื้นที่สูง
Local curriculum for school in mountain area
Issue Date:  9
Publisher: University of Phayao
Abstract: This research Purpose were to study and compare performance state according to local curriculum for school teacher in mountainous Chiang Rai Primary Educational Service Area Office 2 classified by position and experience The samples used this time were administrators and teachers in the Wawi Educational Quality Development Network Center. And the Huai Khrai Network Center, Mae Suai District Chiang Rai Primary Educational Service Area Office 2, for the academic year 2020, from all 16 schools, a sample of 144 people was obtained. Index of Item Objectives Congruence (IOC) between the question and the content was 0.67–1.00 and the Alpha Coefficient was obtained. 0.96 The result showed that: 1) the curriculum of performance state according to local curriculum for school teacher in mountainous Chiang Rai Primary Educational Service Area Office 2, had a high level of opinion. On the highlands, Mae Suai District, Chiang Rai Primary Educational Service Area Office 2, found that personal characteristics, such as position and work experience, had an effect on the performance state according to local curriculum for school teacher in mountainous Chiang Rai Primary Educational Service Area Office 2 different statistical significance .05.
การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบสภาพการดำเนินงานตามหลักสูตรท้องถิ่นของครูโรงเรียนบนพื้นที่สูง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงราย เขต 2 จำแนกตามตำแหน่ง และประสบการณ์ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในครั้งนี้ ได้แก่ ผู้บริหาร และครูในศูนย์เครือข่ายพัฒนาคุณภาพการศึกษาวาวี และศูนย์เครือข่ายห้วยไคร้ อำเภอแม่สรวย สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงราย เขต 2 ปีการศึกษา 2563 จากทั้ง 16 โรงเรียน ได้กลุ่มตัวอย่างจำนวน 144 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามมาตรประมาณค่า 5 ระดับ โดยหาค่าดัชนีความสอดคล้องของเครื่องมือ (Index of Item Objectives Congruence: IOC) ระหว่างข้อคำถามกับเนื้อหามีค่า 0.67–1.00 และหาค่าสัมประสิทธิ์แอลฟา (Alpha Coefficient) ได้ค่าความเชื่อมั่นของสภาพการดำเนินงานตามหลักสูตรท้องถิ่นของครูโรงเรียนบนพื้นที่สูง เท่ากับ 0.96 ผลการวิจัยพบว่า 1) สภาพการดำเนินงานตามหลักสูตรท้องถิ่นของครูโรงเรียนบนพื้นที่สูง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงราย เขต 2 มีความคิดเห็นในระดับมาก 2) จากการเปรียบเทียบความแตกต่างสภาพ การดำเนินงานตามหลักสูตรท้องถิ่นของครูโรงเรียนบนพื้นที่สูง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงราย เขต 2 พบว่า ปัจจัยลักษณะส่วนบุคคล ได้แก่ ตำแหน่ง และประสบการณ์การทำงานมีผลต่อสภาพ การดำเนินงานตามหลักสูตรท้องถิ่นของครูโรงเรียนบนพื้นที่สูง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงราย เขต 2 แตกต่างกันที่มีนัยสำคัญทางสถิติ .05
Description: Master of Education (M.Ed. (Educational Administration))
การศึกษามหาบัณฑิต (กศ.ม. (การบริหารการศึกษา))
URI: http://202.28.20.112/dspace/handle/123456789/510
Appears in Collections:School of Education

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
62170433.pdf1.76 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.