Please use this identifier to cite or link to this item: http://202.28.20.112/dspace/handle/123456789/494
Title: The Relationship Between the Results Based Management Andthe Effectiveness of Small Schools Under the Office ofChiang Rai Primary Educational Service Area 2
ความสัมพันธ์ระหว่างการบริหารแบบมุ่งผลสัมฤทธิ์กับประสิทธิผลของโรงเรียนขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงราย เขต 2
Authors: Miss nidaporn Krueawong
นิดาพร เครือวงค์
Natthawut Sabphaso
ณัฐวุฒิ สัพโส
University of Phayao. School of Education
Keywords: การบริหารแบบมุ่งผลสัมฤทธิ์
ประสิทธิผลของโรงเรียนขนาดเล็ก
RESULT-BASED MANAGEMENT
EFFECTIVENESS OF SMALL SCHOOL
Issue Date:  9
Publisher: University of Phayao
Abstract: The purposes of this research were to study 1) the levels of the result-based management in small schools under the Office of Chiang Rai Primary Educational Service Area 2, 2) to study levels of the effectiveness of small schools under the Office of Chiang Rai Primary Educational Service Area 2, and 3) the relationship between the result-based management and effectiveness of small schools under the Office of Chiang Rai Primary Educational Service Area 2. The research samples were 214 informants from administrators and teachers in small schools under the Office of Chiang Rai Primary Educational Service Area 2. The instrument for collecting data was a questionnaire. The collected data were analyzed by means of frequency, percentage, arithmetic mean, standard deviation, and Pearson’s Product Moment Correlation Coefficient. The results of the research were as follow: 1) The overall and aspects of the result based managements in small schools under the Office of Chiang Rai Primary Educational Service Area 2 were at a high level. When considered individually, it was found at high level in all aspects. The side with the highest mean was Outcomes, followed by Objectives, Process and Outputs. The article with the lowest mean is the Inputs, respectively. 2) The effectiveness of a small school Under the Office of Chiang Rai Primary Educational Service Area 2, overall and aspects were at a high level. When considered individually, it was found at high level in all aspects. The side with the highest mean was the achievement of organizational goals, followed by the ability to develop educational institutions and productivity. The article with the lowest mean was curiosity. And students’ self-pursuit of knowledge, respectively. 3) The relationship between the results based management and the effectiveness of small schools under the Office of Chiang Rai Primary Educational Service Area 2 was statistically significant correlated at .01 level.
การศึกษาค้นคว้าในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับการบริหารแบบมุ่งผลสัมฤทธิ์ของโรงเรียนขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงราย เขต 2 2) ศึกษาระดับประสิทธิผลของโรงเรียนขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงรายเขต 2 และ 3) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการบริหารแบบมุ่งผลสัมฤทธิ์กับประสิทธิผลของโรงเรียนขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงรายเขต 2 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ ในการวิจัยครั้งนี้ คือ ผู้บริหารสถานศึกษาและครูที่ปฏิบัติหน้าที่สอนในโรงเรียนขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงราย เขต 2 จำนวน 214 คน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้เป็นแบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า (Rating Scale) 5 ระดับ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน ผลการศึกษาพบว่า 1) การบริหารแบบมุ่งผลสัมฤทธิ์ของโรงเรียนขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงราย เขต 2 ภาพรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า อยู่ในระดับมากทุกด้าน โดยด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ด้านผลลัพธ์ (Outcomes) รองลงมา คือ ด้านวัตถุประสงค์ (Objectives) ด้านกิจกรรม (Process) และด้านผลผลิต (Outputs) ตามลำดับ ส่วนข้อที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด คือ ด้านปัจจัยนำเข้า (Inputs) 2) ประสิทธิผลของโรงเรียนขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงราย เขต 2 โดยภาพรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่าอยู่ในระดับมากทุกด้าน โดยด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ด้านการบรรลุเป้าหมายขององค์กร รองลงมา คือ ด้านความสามารถในการพัฒนาสถานศึกษา และด้านความสามารถในการผลิต ส่วนด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด คือ ด้านความใฝ่รู้ และการแสวงหาความรู้ด้วยตนเองของนักเรียน 3) ความสัมพันธ์ระหว่างการบริหารแบบมุ่งผลสัมฤทธิ์ 5 ด้าน กับประสิทธิผลของโรงเรียนขนาดเล็ก 4 ด้าน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงราย เขต 2 มีความสัมพันธ์กันในทางบวกและอยู่ในระดับสูงมาก อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
Description: Master of Education (M.Ed. (Educational Administration))
การศึกษามหาบัณฑิต (กศ.ม. (การบริหารการศึกษา))
URI: http://202.28.20.112/dspace/handle/123456789/494
Appears in Collections:School of Education

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
62170185.pdf3.03 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.