Please use this identifier to cite or link to this item: http://202.28.20.112/dspace/handle/123456789/489
Title: DEMOCRATIC LEADERSHIP OF THE SCHOOL ADMINISTRATORS UNDERTHE OFFICE OF CHIANG RAI PRIMARY EDUCATIONAL SERVICE AREA 3
ภาวะผู้นำแบบประชาธิปไตยของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงราย เขต 3
Authors: Songtham Soiyana
ทรงธรรม สร้อยยานะ
Watchara Jatuporn
วัชระ จตุพร
University of Phayao. School of Education
Keywords: ภาวะผู้นำแบบประชาธิปไตย
Democratic leadership
Issue Date:  9
Publisher: University of Phayao
Abstract: The aims of this study were 1) to examine democratic leadership level of school administrators under Chiang Rai Primary Educational Service Office 3; 2) to develop the recommendations on democratic leadership of school administrators under Chiang Rai Primary Educational Service Area Office 3. Following the Krejcie & Morgan sample size formula and Simple random sampling, 438 samples were randomly selected from the 2,625 populations involving administrators and teachers under Chiang Rai Primary Educational Service Office 3. The research instruments were checklists, Rating Scale (IOC = 1), Alpha Coefficient 0.86 and open-ended questions. The data was calculated for frequency, percentage, mean and standard deviation (S.D.). The results showed that: 1. The level of democratic leadership of school administrators under Chiang Rai Primary Educational Service Area Office 3, in overall, was ranked at the high level. The individual aspects analysis revealed that teamworking competence showed the highest mean followed by building participation and Decentralization respectively, while trust and credentiality on subordinates were ranked at the lowest mean. 2. The recommendations for democratic leadership of school administrators under Chiang Rai Primary Educational Service Area Office 3 were proposed. 1) Trust and credentiality on subordinates involved: 1.1) Support teacher’s development of morality, ethics and competence; 1.2) Promote freedom in job performance. 2) Building participation involved: 2.1) Allow teachers’ participation in administration of tasks in various sections; 2.2) Disclose information of school administration activities publicly. 3) Decentralization involved: 3.1) Design personnel structure and define job responsibility clearly; 3.2) Build strong development network. 4) Teamworking competence involved: 4.1) Administrators must show expertise in their administration jobs and be able to give advice; 4.2) Administrators must not only give command; 4.3) Administrators should implement consistent supervision and monitoring job performance of the team.
การศึกษาค้นคว้าในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาระดับภาวะผู้นำแบบประชาธิปไตยของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงราย เขต 3 2) เพื่อศึกษาข้อเสนอแนะ แนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำแบบประชาธิปไตยของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงราย เขต 3 ประชากรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษาและครู สังกัดสำนักงาน เขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงรายเขต 3 รวมทั้งสิ้น จำนวน 2,625 คน กำหนดขนาดของกลุ่มตัวอย่างจากตารางสำเร็จรูปของเครจซีและมอร์แกนและใช้วิธีการสุ่มอย่างง่าย ได้กลุ่มตัวอย่างทั้งสิ้นรวม 438 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบแบบสอบถามแบบตรวจรายการ (Check List) แบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า (Rating  Scale) ค่าดัชนีความสอดคล้องของเครื่องมือเท่ากับ 1 ค่าสัมประสิทธิ์แอลฟ่าเท่ากับ 0.86 และแบบสอบถามแบบปลายเปิด (Open Ended Question) วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาความถี่ร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการศึกษา พบว่า 1. ระดับภาวะผู้นำแบบประชาธิปไตยของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงรายเขต 3 โดยภาพรวม อยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านความสามารถในการทำงานเป็นทีม มีค่าเฉลี่ยสูงสุด รองลงมา คือ ด้านการสร้างการมีส่วนร่วมและด้านการกระจายอำนาจ ตามลำดับส่วนด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด คือ ด้านการไว้วางใจและเชื่อมั่นในผู้ใต้บังคับบัญชา 2. ข้อเสนอแนะภาวะผู้นำแบบประชาธิปไตยของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงาน เขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงราย เขต 3 1) ด้านการไว้วางใจและเชื่อมั่นในผู้ใต้บังคับบัญชา พบว่า 1.1) ควรส่งเสริมการพัฒนาคุณธรรมจริยธรรมและความรู้ความสามารถของครู 1.2) ให้ครูได้แสดงความคิดเห็นและมีอิสระในการปฏิบัติงาน 2) ด้านการสร้างการมีส่วนร่วม พบว่า 2.1) ให้ครูมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการในงาน ฝ่ายต่าง ๆ 2.2) จัดทำผลการดำเนินงานเป็นสารสนเทศให้ทุกฝ่ายได้รับรู้อย่างทั่วถึง 3) ด้านการกระจายอำนาจ พบว่า 3.1) มีโครงสร้างบุคลากรและกำหนดขอบข่ายงานที่ชัดเจน 3.2) สร้างเครือข่ายการพัฒนาที่เข้มแข็ง 4) ด้านความสามารถในการทำงานเป็นทีม พบว่า 4.1) มีความเชี่ยวชาญในงาน สามารถให้คําปรึกษาด้านต่าง ๆ ได้ 4.2) ไม่ควรเป็นผู้สั่งการเพียงอย่างเดียว 4.3) มีการนิเทศติดตามการปฏิบัติงานของทีมสม่ำเสมอ
Description: Master of Education (M.Ed. (Educational Administration))
การศึกษามหาบัณฑิต (กศ.ม. (การบริหารการศึกษา))
URI: http://202.28.20.112/dspace/handle/123456789/489
Appears in Collections:School of Education

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
62170129.pdf2.12 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.