Please use this identifier to cite or link to this item: http://202.28.20.112/dspace/handle/123456789/483
Title: ASTUDYON THE STATE OF SCHOOL MANAGEMENT FOLLOWING ANTI-CORRUPTION EDUCATION OF CHIANG RAI PRIMARY EDUCATIONAL SERVICE AREA OFFICE 3
การศึกษาสภาพการบริหารหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน ชุดหลักสูตร ต้านทุจริตศึกษา ของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ประถมศึกษาเชียงราย เขต 3
Authors: Karat Wannasut
กะรัต วรรณสุทธิ์
Natthawut Sabphaso
ณัฐวุฒิ สัพโส
University of Phayao. School of Education
Keywords: การบริหารหลักสูตร
หลักสูตรต้านทุจริตศึกษา
Management Curriculum
Anti-Corruption Education
Issue Date:  9
Publisher: University of Phayao
Abstract: The purposes of this research were to study school management following the Anti-Corruption Education of Chiang Rai Primary Educational Service Area Office 3, and to compare with management prior to the Anti-Corruption Education of Chiang Rai Primary Educational Service Area Office 3. The study sampled 323 people, including directors of education and teachers. The research used a random stratified sampling of participants by using the sample size table of Krejcie and Morgan. Data was collected using a five-rating question and was analyzed through a computer program to calculate the mean, S.D., and One-Way ANOVA. The results of the study were as follows: 1) The school management following Anti-Corruption Education of Chiang Rai Primary Educational Service Area Office 3 was in the high levels. 2) Work experiences the result were significantly different at the statistical level of .05 and also school size the result were significantly different at the statistical level of .05.
การศึกษาค้นคว้าด้วยตนเองครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพ 1) ศึกษาสภาพทางการบริหารหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน ชุดหลักสูตรต้านทุจริตศึกษา ของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงราย เขต 3 2) เพื่อเปรียบเทียบความคิดเห็นเกี่ยวกับการบริหารหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน ชุดหลักสูตรต้านทุจริตศึกษา ของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงราย เขต 3 โดยทำการศึกษาจากกลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษา และครูผู้สอน จำนวน 323 คน ของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงราย เขต 3 จำนวน 140 โรงเรียน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาแบบสอบถาม แบบสอบถามเป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ยค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One-Way ANOVA) วิเคราะห์เปรียบเทียบรายคู่ด้วยวิธีการของ Scheffeผลการศึกษาค้นคว้าพบว่า 1) สภาพการบริหารหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน ชุดหลักสูตรต้านทุจริตศึกษา ของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงราย เขต 3 อยู่ในระดับมาก 2) ผลการเปรียบเทียบความคิดเห็นเกี่ยวกับการบริหารหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน ชุดหลักสูตรต้านทุจริตศึกษา ของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงราย เขต 3 จำแนกตามประสบการณ์การทำงาน โดยภาพรวม มีความคิดเห็นแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 และจำแนกตามขนาดของโรงเรียน โดยภาพรวม มีความคิดเห็นแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05
Description: Master of Education (M.Ed. (Educational Administration))
การศึกษามหาบัณฑิต (กศ.ม. (การบริหารการศึกษา))
URI: http://202.28.20.112/dspace/handle/123456789/483
Appears in Collections:School of Education

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
62170040.pdf2.07 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.