Please use this identifier to cite or link to this item: http://202.28.20.112/dspace/handle/123456789/473
Title: CONFLICTS MANAGING WITHIN SCHOOLS OF SCHOOL ADMINISTRATORS UNDER THE SECONDARY EDUCATION SERVICE AREA OFFICE LAMPANG, LAMPHUN
การบริหารความขัดแย้งภายในโรงเรียนของผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา ลำปาง ลำพูน
Authors: Jirakan Wonglungka
จิรกานต์ วงค์ลังกา
Thararat Malaitao
ธารารัตน์ มาลัยเถาว์
University of Phayao. School of Education
Keywords: การบริหาร
การบริหารความขัดแย้ง
Administration
Conflicts Management
Issue Date:  30
Publisher: University of Phayao
Abstract: The research purposes: To study conflicts managing within schools of school administrators. To compare Conflicts managing within schools of school administrators Under the Secondary Education Service Area Office Lampang, Lamphun, which they were classified by gender, highest educational qualification, and work experiences. The sample group used in this research were educational institute administrators, deputy directors of the school in the 2021 academic year. The researcher calculated the sample size according to purposive  sampling quantity 80 people. The research instrument was a statistical questionnaire used to analyze the data including percentage, mean, standard deviation, t-test and F-test. The results that conflict management compromise had the highest, followed by cooperation, while the side with the lowest mean was on winning. The results of the comparison of school administrators under the district office Secondary education area, Lampang, Lamphun with gender, highest educational qualification, and  work experience. There were no significant differences in opinions on conflict management at the level .05.
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ดังนี้ เพื่อศึกษาการบริหารความขัดแย้งของผู้บริหารสถานศึกษา และ เพื่อเปรียบเทียบการบริหารความขัดแย้งของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา ลำปาง ลำพูน ที่จำแนกตาม เพศ วุฒิการศึกษาสูงสุด ประสบการณ์ในการทำงาน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยนี้ คือ ผู้บริหารสถานศึกษา รองผู้อำนวยการสถานศึกษา ในปีการศึกษา 2564 ผู้วิจัยได้กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างโดยใช้วิธีการเฉพาะเจาะจง จำนวน 80 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่า t-test และค่า F-test โดยกำหนดนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ผลการวิจัย พบว่า การบริหารความขัดแย้งด้านการประนีประนอมมีค่าเฉลี่ยสูงที่สุด รองลงมา คือ ด้านการร่วมมือ ส่วนด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำที่สุด คือ ด้านการเอาชนะ ผลการเปรียบเทียบผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา ลำปาง ลำพูน ที่มีเพศ วุฒิการศึกษาสูงสุด ประสบการณ์ในการทำงาน ที่แตกต่างกัน มีความคิดเห็นเกี่ยวกับการบริหารความขัดแย้งที่ไม่แตกต่างกันในทุก ๆ ด้าน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
Description: Master of Education (M.Ed. (Educational Administration))
การศึกษามหาบัณฑิต (กศ.ม. (การบริหารการศึกษา))
URI: http://202.28.20.112/dspace/handle/123456789/473
Appears in Collections:School of Education

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
63205961.pdf2.78 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.