Please use this identifier to cite or link to this item: http://202.28.20.112/dspace/handle/123456789/384
Title: Factor affecting participation in tackling smog and forest firescase studies Wang sai kham Wang nua Lampang
ปัจจัยที่ส่งผลต่อการมีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาหมอกควันและไฟป่ากรณีศึกษาพื้นที่ตำบลวังทรายคำ อำเภอวังเหนือ จังหวัดลำปาง
Authors: Jaturaphat Chotchindakun
จตุรภัทร โชติจินดากุล
Raksi Kiattibutra
รักษ์ศรี เกียรติบุตร
University of Phayao. School of Political and Social Science
Keywords: การมีส่วนร่วมของประชาชน
หมอกควัน
ไฟป่า
People participation
Smog
Forest fire
Issue Date:  17
Publisher: University of Phayao
Abstract: The purpose of this study was to study the level of participation and the factors affecting participation in tackling smog and forest fires. in Wang Sai Kham Subdistrict, Wang Nuea District, Lampang Province. The study was conducted in a quantitative format. The population was the people of Wang Sai Kham Sub-District. The population was the people of Wang Sai Kham Sub-District. The Krejci and Morgan approach was used to select a sample of 400 participants. The researchers used a simple randomized method to collect primary data via a research questionnaire. The data were analyzed data by using percentage, frequency, mean, standard deviation, correlation analysis (t-test) and content analysis. The results showed that the most of respondents were males between the ages of 51 and 60 and they worked in agriculture. They receive an average income less than 3,000 baht. They have been residents for almost 20 years. People's participation is high, as indicated by their participation in benefit sharing, decision-making, and monitoring and evaluation, respectively. There are three elements that influence people's participation in the area, as follows: 1) Community preparedness; 2) Community participation 3) A policy framework that were statistically significant at 0.01 F-test value was 8.269 for dealing with smog and forest fires. There are suggestions that a diverse sample study was conducted.
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับการมีส่วนร่วมและปัจจัยที่มีผลต่อการมีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาหมอกควันและไฟป่าในพื้นที่ตำบลวังทรายคำ อำเภอวังเหนือ จังหวัดลำปาง เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ ประชากรที่ศึกษาคือประชาชนในเขตตำบลวังทรายคำ คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างด้วยวิธีของเครซี่และมอร์แกน ได้กลุ่มตัวอย่าง 400 คน เก็บแบบสอบถามโดยการสุ่มแบบบังเอิญ ใช้สถิติ ร้อยละ ความถี่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสหสัมพันธ์ F-test และข้อมูลเชิงเนื้อหา ผลการศึกษาพบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เป็นเพศชาย อายุอยู่ในช่วง 51-60 ปี การศึกษาระดับประถมศึกษา อาชีพเกษตรกร รายได้เฉลี่ยต่อเดือนน้อยกว่า 3,000 บาท อาศัยอยู่ในหมู่บ้านมากกว่า 20 ปี การมีส่วนร่วมของประชาชนอยู่ในระดับ “มีส่วนร่วมมาก” ได้แก่ มีส่วนร่วมในการปฏิบัติงาน  มีส่วนร่วมในการแบ่งปันผลประโยชน์ มีส่วนร่วมในการตัดสินใจ และมีส่วนร่วมในการติดตามและประเมินผล ตามลำดับ ปัจจัยที่ส่งผลต่อการมีส่วนร่วมของประชาชนในพื้นที่ ได้แก่ 1) ความพร้อมของชุมชน 2) ความผูกพันต่อชุมชน 3) กรอบนโยบายภาครัฐในการแก้ไขปัญหาหมอกควันและไฟป่า ทั้งหมดมีความสัมพันธ์อย่างมีนัยสำคัญทางข้อมูลทางสถิติที่ 0.01 ค่า F-test เท่ากับ 8.269 ข้อเสนอแนะควรมีการศึกษากลุ่มตัวอย่างที่หลากหลาย
Description: Master of Public Administration (M.P.A. (Public Policy))
รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต (รป.ม. (นโยบายสาธารณะ))
URI: http://202.28.20.112/dspace/handle/123456789/384
Appears in Collections:School of Political and Social Science

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
63212813.pdf4.71 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.