Please use this identifier to cite or link to this item: http://202.28.20.112/dspace/handle/123456789/372
Title: Teachers’ Participation in Internal Quality Assurance Management in Poochaosamingprai Schools Group Under The Samutprakan Primary Educational Service Area Office 1
การมีส่วนร่วมของครูในการจัดดำเนินงานประกันคุณภาพการศึกษาภายใน กลุ่มโรงเรียนปู่เจ้าสมิงพราย สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรปราการ เขต 1
Authors: Supawee Chooratsamee
สุปวีณ์ ชูรัศมี
Achara Whattananarong
อัจฉรา วัฒนาณรงค์
University of Phayao. College of Management
Keywords: การมีส่วนร่วมของครู
การจัดดำเนินงานประกันคุณภาพการศึกษาภายใน
กลุ่มโรงเรียนปู่เจ้าสมิงพราย
Teachers’ participation
Internal quality assurance management
Poochaosamingprai schools group
Issue Date:  7
Publisher: University of Phayao
Abstract: The objectives of this study were to investigate and compare the teachers' participation in internal quality assurance management in Poochaosamingprai schools group under the Samutprakan Primary Educational Service Area Office 1 in the aspects of Plan, Do, Check and Act in overall and each aspect classified by gender, age, education level and quality assurance experience. This study was quantitative research. The samples consisted of 200 teachers teaching in the academic year 2020. The instrument used was a five rating scale questionnaire with reliability at .99. Data were analyzed by frequency, percentage, mean, standard deviation, a t-test, a One - Way Analysis of variance and Scheffe's method. The results of the study were as follows: 1) The teachers' participation in internal quality assurance management in overall and each aspect were at a high level. 2) There was no significant difference between the teachers with different gender in participation in internal quality assurance management in overall. When considered in each aspect, it was found that there was a significant difference in the aspect of Do at the level of .05. 3) There was no significant difference between the teachers with different age in participation in internal quality assurance management in overall. When considered in each aspect, it was found that there was a significant difference in the aspect of Plan at the level of .05. 4) There was no significant difference between the teachers with different education level in participation in internal quality assurance management in overall and each aspect. 5) There was a significant difference between the teachers with different quality assurance experience in participation in internal quality assurance management in overall. When considered in each aspect, it was found that there was a significant difference in the aspect of Plan at the level of .05.
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบการมีส่วนร่วมของครูในการจัดดำเนินงานประกันคุณภาพการศึกษาภายใน กลุ่มโรงเรียนปู่เจ้าสมิงพราย สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรปราการ เขต 1 ด้านการวางแผน ด้านการดำเนินงานตามแผน ด้านการตรวจสอบและประเมินผล และด้านการพัฒนาปรับปรุงแก้ไข โดยรวมและรายด้าน จำแนกตามเพศ อายุ ระดับการศึกษา และประสบการณ์ทางการประกันคุณภาพ เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่าง คือ ครูผู้สอนในปีการศึกษา 2563 จำนวน 200 คน เครื่องมือที่ใช้ คือ แบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ มีค่าความเชื่อมั่น เท่ากับ .99 สถิติที่ใช้ ได้แก่ ความถี่  ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบที การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว และวิธีการของเชฟเฟ่ ผลการวิจัยพบว่า 1) ครูมีส่วนร่วมในการจัดดำเนินงานประกันคุณภาพการศึกษาภายใน โดยรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก 2) ครูที่เพศต่างกัน มีส่วนร่วมในการจัดดำเนินงานประกันคุณภาพการศึกษาภายในโดยรวมไม่ต่างกัน เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านการดำเนินงานตามแผนต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3) ครูที่ช่วงอายุต่างกัน มีส่วนร่วมในการจัดดำเนินงานประกันคุณภาพการศึกษาภายในโดยรวมไม่ต่างกัน เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านการวางแผนต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 4) ครูที่ระดับการศึกษาต่างกัน มีส่วนร่วมในการจัดดำเนินงานประกันคุณภาพการศึกษาภายในโดยรวมและรายด้าน ไม่ต่างกัน และ 5) ครูที่ประสบการณ์ทางการประกันคุณภาพต่างกัน มีส่วนร่วมในการจัดดำเนินงานประกันคุณภาพการศึกษาภายในโดยรวมต่างกัน เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านการวางแผนต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
Description: Master of Education (M.Ed. (Educational Administration))
การศึกษามหาบัณฑิต (กศ.ม. (การบริหารการศึกษา))
URI: http://202.28.20.112/dspace/handle/123456789/372
Appears in Collections:School of Management and Information Sciences

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
62160117.pdf1.91 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.