Please use this identifier to cite or link to this item: http://202.28.20.112/dspace/handle/123456789/364
Title: THE INVECTIVES OF NORTHERN THAI DIALECT ON “HA KHON MUEANG” FACEBOOK FANPAGE
คำบริภาษภาษาไทยถิ่นเหนือในเฟซบุ๊กแฟนเพจ “ฮาคนเมือง”
Authors: Nalinee Suwannapok
นลินี สุวรรณโภค
Sarawut Lordee
ศราวุธ หล่อดี
University of Phayao. School of Liberal Arts
Keywords: คำบริภาษ
ภาษาไทยถิ่นเหนือ
เฟซบุ๊ก
แฟนเพจ “ฮาคนเมือง”
กลวิธีการสร้างคำ
โลกทัศน์
invectives
Northern Thai dialect
Facebook
“Ha Khon Mueang” fanpage
word formation strategy
worldview
Issue Date:  21
Publisher: University of Phayao
Abstract: The objectives of this thesis are to analyze word formation strategies of the Northern Thai dialect invectives and to analyze the worldview reflected from the invectives of Northern Thai dialects on “Ha Khon Mueang” Facebook fanpage. The research collected data on the Northern Thai dialect invectives in the comment section on Facebook fanpage “Ha Khon Mueang” from March 2012 to December 2020. A total of 303 invectives were found. The results of the research are as follows: The word formation strategy analysis of the Northern Thai dialect invectives on “Ha Khon Mueang” Facebook fanpage was analyzed from the semantic relationship of words used to form the invectives. The word formation strategy can be classified into 6 main types: 1) the invective word formed by 1-word part 2) the invective word formed by 2-word parts 3) the invective word formed by 3-word parts 4) the invective word formed by 4-word parts 5) the invective word formed by 5-word parts, and 6) the invective word formed by 6-word parts. The result showed that the invective word formed by 2-word parts was the most common word formation found and the invective word formed by 6-word parts was the least common word formation found. The worldviews reflected from the invectives were analyzed according to the Sapir-Whorf hypothesis. The result revealed that the Northern Thai dialect invectives reflected the ideas and the worldviews of Northern people in relation to what surrounded by 2 aspects: 1) the worldviews towards belief about ghost, religion, prohibition and 2) the worldviews towards living based on birth, occupation, plant, animal, food, utensil, and disease. It also showed that the worldview towards living was the most common worldview found, followed by the worldviews towards belief, respectively. The analysis of word formation of the invectives of Northern Thai dialects on “Ha Khon Mueang” Facebook fanpage would be not only the proof of the adopted hypothesis, but the results could also be used as a guideline for studying Thai dialect invectives on other social media platforms.
วิทยานิพนธ์นี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์กลวิธีการสร้างคำบริภาษภาษาไทยถิ่นเหนือ และโลกทัศน์ที่สะท้อนจากคำบริภาษภาษาไทยถิ่นเหนือในเฟซบุ๊กแฟนเพจ “ฮาคนเมือง” งานวิจัยเก็บข้อมูลคำบริภาษภาษาไทยถิ่นเหนือจากส่วนแสดงความคิดเห็นในเฟซบุ๊กแฟนเพจ “ฮาคนเมือง” ตั้งแต่เดือนมีนาคม พ.ศ. 2555 ถึงเดือนธันวาคม พ.ศ. 2563 พบคำบริภาษจำนวน 303 คำ ผลการวิจัยมีดังนี้ การวิเคราะห์กลวิธีการสร้างคำบริภาษภาษาไทยถิ่นเหนือในเฟซบุ๊กแฟนเพจ “ฮาคนเมือง”วิเคราะห์จากความสัมพันธ์ทางความหมายของคำที่นำมาประกอบเป็นคำบริภาษ แบ่งเป็น 6 กลวิธีหลัก ได้แก่ 1) คำบริภาษที่มี 1 องค์ประกอบ 2) คำบริภาษที่มี 2 องค์ประกอบ 3) คำบริภาษที่มี 3 องค์ประกอบ 4) คำบริภาษที่มี 4 องค์ประกอบ 5) คำบริภาษที่มี 5 องค์ประกอบ และ 6) คำบริภาษที่มี 6 องค์ประกอบ เมื่อพิจารณากลวิธีการสร้างคำบริภาษดังกล่าวพบว่า คำบริภาษที่มี 2 องค์ประกอบเป็นกลวิธีการสร้างคำบริภาษที่พบมากที่สุด ส่วนคำบริภาษที่มี 6 องค์ประกอบเป็นกลวิธีการสร้างคำบริภาษที่พบน้อยที่สุด การวิเคราะห์โลกทัศน์ที่สะท้อนจากคำบริภาษภาษาไทยถิ่นเหนือในเฟซบุ๊กแฟนเพจ “ฮาคนเมือง” มีผลการวิจัยสอดคล้องกับแนวคิดสมมติฐานซาเพียร์-วอร์ฟ เนื่องจากคำบริภาษภาษาไทยถิ่นเหนือสะท้อนให้เห็นความคิด การมองโลกหรือโลกทัศน์ของคนภาคเหนือที่มีความสัมพันธ์กับสิ่งที่อยู่รอบตัว แบ่งเป็น 2 ด้าน ได้แก่ 1) โลกทัศน์ด้านความเชื่อ ประกอบด้วยความเชื่อเกี่ยวกับผี ศาสนา ข้อห้ามและ 2) โลกทัศน์ด้านความเป็นอยู่ ประกอบด้วยความเป็นอยู่เกี่ยวกับชาติกำเนิด อาชีพ พืช สัตว์ อาหาร สิ่งของเครื่องใช้ โรคภัยไข้เจ็บ เมื่อพิจารณาโลกทัศน์ข้างต้น พบโลกทัศน์ด้านความเป็นอยู่มากที่สุด รองลงมาเป็นโลกทัศน์ด้านความเชื่อ การวิเคราะห์คำบริภาษภาษาไทยถิ่นเหนือในเฟซบุ๊กแฟนเพจ “ฮาคนเมือง” นอกจากเป็นการพิสูจน์แนวคิดดังกล่าว ผลการวิจัยยังสามารถใช้เป็นแนวทางในการศึกษาคำบริภาษภาษาไทยถิ่นในสื่อสังคมออนไลน์อื่น ๆ ได้อีกด้วย
Description: Master of Arts (M.A. (Thai))
ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต (ศศ.ม. (ภาษาไทย))
URI: http://202.28.20.112/dspace/handle/123456789/364
Appears in Collections:School of Liberal Arts

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
62114071.pdf3.67 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.