Please use this identifier to cite or link to this item: http://202.28.20.112/dspace/handle/123456789/331
Title: Building Information Modeling Application in Small and Medium Enterprises (SME) Real Estate Business Case Study Developed Housing Project in Chiang Mai. 
การประยุกต์ใช้แบบจำลองสารสนเทศของอาคารในธุรกิจอสังหาริมทรัพย์วิสาหกิจขนาดกลาง และขนาดย่อม กรณีศึกษา โครงการบ้านจัดสรรในจังหวัดเชียงใหม่ 
Authors: Rittayut Gonthong
ฤทธิ์ทยุต ก้อนทอง
Thanakorn Chompoorat
ธนกร ชมภูรัตน์
University of Phayao. School of Engineering
Keywords: แบบจำลองสารสนเทศของอาคาร
การถอดปริมาณวัสดุ
อุตสาหกรรมก่อสร้าง
Building Information Modeling (BIM)
Material Take Off
Industry construction
Issue Date:  16
Publisher: University of Phayao
Abstract: At present, Building Information Modeling (BIM) is a technology playing an important role in construction industry in Thailand, starting from design to construction use. A lot of large real estate companies have begun to use the BIM to streamline their work processes, while real estate businesses in the sense of Small and Medium Enterprises (SME) have limitations with availabilities of capital, technology and personnel; hence, the BIM has not been plentifully found to be applied in their organizations. Therefore, this research aimed to study possibility of applying BIM technology to SME-sized real estate businesses by using projects of housing development in Chiang Mai as case studies. The research was conducted to compare conventional duplication with BIM  From the research on duplication of material quantity of both methods, it was found that work of duplicating RB6 quantity of footing work had difference of percentage value as 12.81, column work as 11.85, and beam work as 0.33. For quantity of DB12 the footing work had difference of percentage value between the two methods as 3.68, column work as 0.33, and beam work as 10.24. In a case of duplicating 210 ksc concrete quantity, it could be divided into sub-tasks as follows: differences of percentage values between the two methods of footing work, beam work, column work, and floor work were 2.50, 2.60, 1.30 and 10.30 respectively. In a case of structural steel quantity, a stud beam steel had difference of percentage value as 0.86, a purlin steel as 1.95, a rafter steel as 3.07, and a hip rafter steel as 4.3. Finally, wall material quantity was a Mon brick had difference of percentage value as 7.56, and quantity of painted area as 6.82. Furthermore, the findings revealed that quantitative duplication by using conventional system is not as good as by using BIM system. Main causes of quantitative duplication were as follows: 1) For the convenience of duplicating quantity, 2) Deficient or impaired thinking was a limitation in memory capacity of workers. 3) It was essential to reserve material quantity since construction processes wasted materials such as breakage or damage.
ในปัจจุบันแบบจำลองสารสนเทศอาคาร (BIM) เป็นเทคโนโลยีที่เข้ามามีบทบาทอย่างมากในวงการก่อสร้างของประเทศไทย เริ่มต้นตั้งแต่การออกแบบไปจนถึงการใช้งานสิ่งก่อสร้าง บริษัทธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ขนาดใหญ่หลายรายได้เริ่มนำ BIM มาปรับปรุงกระบวนการทำงานของตนเองให้มีประสิทธิภาพเพิ่มสูงขึ้น ส่วนธุรกิจอสังหาริมทรัพย์วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SME) มีข้อจำกัดความพร้อมด้านเงินทุน เทคโนโลยี และบุคลากร ยังไม่พบการนำ BIM เข้ามาประยุกต์ใช้ในองค์กรของตนมากนัก ดังนั้นงานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความเป็นไปได้ในการประยุกต์ใช้เทคโนโลยี BIM กับธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ขนาด SME โดยใช้โครงการบ้านจัดสรรแห่งหนึ่งในจังหวัดเชียงใหม่เป็นกรณีศึกษางานวิจัยได้ทำการศึกษาจะเปรียบเทียบการถอดแบบโดยวิธีทั่วไปกับการถอดแบบด้วยวิธี BIM จากการศึกษาการถอดปริมาณวัสดุพบว่างานถอดปริมาณ เหล็ก RB6 ของ งานฐานรากได้ค่าร้อยละความแตกต่างระหว่าง 2 วิธีเท่ากับ 12.81 งานเสาได้ค่าร้อยละความแตกต่างระหว่าง 2 วิธีเท่ากับ 11.85 และงานคานได้ค่าร้อยละความแตกต่างระหว่าง 2 วิธีเท่ากับ 0.33 ปริมาณเหล็ก DB12 แบ่งตามงานย่อยดังนี้ ค่าร้อยละความแตกต่างที่ได้จา 2 วิธี ของงานฐานรากเท่ากับ 3.68 งานเสาได้ค่าร้อยละความแตกต่างเท่ากับ 0.33 และงานคานได้ค่าร้อยละความแตกต่างเท่ากับ 10.24 กรณีการถอดปริมาณคอนกรีต 210 ksc แบ่งเป็นงานย่อยคือ ค่าร้อยละความแตกต่างของงานฐานรากเท่ากับ 2.50 งานคานเท่ากับ 2.60 งานเสาเท่ากับ 1.30 และงานพื้นเท่ากับ 10.30  กรณีปริมาณเหล็กรูปพรรณ แบ่งตามงานย่อยคือ เหล็กอะเสร้อยละความแตกต่างเท่ากับ 0.86 เหล็กแปร้อยละความแตกต่างเท่ากับ 1.95 เหล็กจันทันร้อยละความแตกต่างเท่ากับ 3.07 และเหล็กตะเข้สันร้อยละความแตกต่างเท่ากับ 4.3 และสุดท้ายการถอดปริมาณวัสดุผนัง อิฐมอญได้ค่าร้อยละความแตกต่างเท่ากับ 7.56 และปริมาณพื้นที่ทาสีได้ค่าร้อยละความแตกต่างเท่ากับ 6.82 นอกจากนี้ผลการวิจัยพบว่า  การถอดปริมาณด้วยระบบทั่วไปจะถอดปริมาณได้ไม่ดีเท่ากับการถอดปริมาณด้วยระบบ BIM โดยมีสาเหตุหลักการถอดปริมาณคือ 1 .ความสะดวกสะบายในการถอดปริมาณ 2. การคิดขาดหรือบกพร่อง และ 3. การเผื่อปริมาณของวัสดุ เนื่องจากกระบวนการก่อสร้าง จะมีการสูญเสียวัสดุ เช่น เกิดการชำรุด หรือเสียหาย  
Description: Master of Engineering (M.Eng. (Civil Engineering))
วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต (วศ.ม. (วิศวกรรมโยธา))
URI: http://202.28.20.112/dspace/handle/123456789/331
Appears in Collections:School of Engineering

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
60103628.pdf6.22 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.