Please use this identifier to cite or link to this item:
http://202.28.20.112/dspace/handle/123456789/330
Title: | Stabilization of earth slopes with micro piles : A case studyon highway No. 1009 Chomthong - Doi Inthanon Chomthong District, Chiang Mai การปรับปรุงเสถียรภาพของลาดดินด้วยเสาเข็ม กรณีศึกษา ทางหลวงหมายเลข 1009 ตอนจอมทอง – ดอยอินทนนท์อำเภอจอมทอง จังหวัดเชียงใหม่ |
Authors: | Pratya Saenpaeng ปรัชญา แสนแปง Suriyayut Pra-ai สุริยาวุธ ประอ้าย University of Phayao. School of Engineering |
Keywords: | วิเคราะห์เสถียรภาพลาดดิน วิธีไฟไนต์เอลิเมนต์ การเคลื่อนตัวของดิน เสาเข็มขนาดเล็ก Slope Stability Analysis Finite element method Soil movement Micro piles |
Issue Date: | 16 |
Publisher: | University of Phayao |
Abstract: | Many highways in mountainous areas, particularly the Northern region of Thailand, inevitably confront the problems of excessive movement and slope failure. Therefore, slope stability analysis including highway design, construction and maintenance area are very important. Detailed surface topography is important when analyzing the stability of slopes. Recent advances in new technologies have allowed us to obtain high-precision profiles of slope information for three-dimensional (3D) slope stability analysis. This research presents a slope reinforced by micro piles of highway No. 1009 Chom Thong - Doi Inthanon, between km 19 + 585.00 - 19 + 750.00, Chiang Mai Province. A comprehensive approach that integrates Global Positioning System (GPS) and 3D finite element method for slope stability analysis. The soil behavior and soil movement were investigated. The modelling results show that the surface sampling resolution can affect the prediction accuracy of the potential failure zones. The reinforced slope showed an increase in safety factor. The numerical modeling was capable to reproduce satisfactorily the horizontal displacements of slope reinforced by micro piles. ทางหลวงในพื้นที่ภูเขาสูงโดยเฉพาะทางภาคเหนือของประเทศไทยมักจะเจอปัญหาของการพังทลายและการเคลื่อนตัวเชิงลาดถนนเป็นอย่างมาก ดังนั้นการศึกษาเสถียรภาพของลาดดิน รวมถึงการออกแบบโครงสร้างและการบำรุงรักษาเชิงลาดของทางหลวงในพื้นที่ดังกล่าว จึงมีความสำคัญเป็นอย่างมาก ความละเอียดของลักษณะภูมิประเทศมีความสำคัญเมื่อทำการวิเคราะห์เสถียรภาพของลาดดิน ความก้าวหน้าของเทคโนโลยีใหม่ ๆ ช่วยทำให้เราสามารถมีข้อมูลด้านภูมิประเทศที่มีความแม่นยำสูงรวมถึงข้อมูลความชันโดยละเอียดสำหรับการวิเคราะห์เสถียรภาพของลาดดิน งานวิจัยนี้นำเสนอรูปแบบการปรับปรุงเสถียรภาพของเชิงลาดด้วยเสาเข็มขนาดเล็กของทางหลวง หมายเลข 1009 ตอนจอมทอง – ดอยอินทนนท์ ระหว่าง กม.19+585.00 – 19+750.00 โดยการนำเสนอวิธีการที่รวมระบบนำทางด้วยดาวเทียม (Global Positioning System : GPS) และวิธีวิธีไฟไนต์เอลิเมนต์ แบบ 3 มิติ ทำการศึกษารูปแบบการกระจายแรงในดินและการการเคลื่อนตัวของดิน ผลของการสร้างแบบจำลองแสดงให้เห็นว่าความละเอียดของการเลือกตัวอย่างพื้นผิวมีผลกระทบต่อความแม่นยำในการคาดการณ์พื้นที่ของการพิบัติของลาดดินที่อาจเกิดขึ้น ค่าสัมประสิทธิ์ความปลอดภัยเพิ่มขึ้นจากการเสริมกำลังด้วยเสาเข็ม และค่าการเคลื่อนตัวของลาดดินของการวิเคราะห์มีค่าใกล้เคียงกับรายงานการตรวจวัดในสนาม |
Description: | Master of Engineering (M.Eng. (Civil Engineering)) วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต (วศ.ม. (วิศวกรรมโยธา)) |
URI: | http://202.28.20.112/dspace/handle/123456789/330 |
Appears in Collections: | School of Engineering |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
60103516.pdf | 4.57 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.