Please use this identifier to cite or link to this item: http://202.28.20.112/dspace/handle/123456789/323
Title: PUBLIC POLICY COMMUNICATION STRATEGY FOR THE CRISIS OF COVID-19 EPIDEMIC OF THE RADIO BROADCASTING STATION OF THAILAND, PHAYAO PROVINCE
กลยุทธ์การสื่อสารนโยบายสาธารณะในภาวะวิกฤตการแพร่ระบาด ไวรัสโควิด-19 ของสถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย จังหวัดพะเยา
Authors: Arnon Tipyoy
อานนท์ ติ๊บย้อย
Raksi Kiattibutra
รักษ์ศรี เกียรติบุตร
University of Phayao. School of Political and Social Science
Keywords: โควิด-19
กลยุทธ์การสื่อสาร
ช่องทางการสื่อสาร
ภาวะวิกฤต
นโยบายสาธารณะ
Covid-19
Communication Strategy
Communication Channel
Crisis
Public Policy
Issue Date:  9
Publisher: University of Phayao
Abstract: The purposes of this research were to study the pattern of public policy communication strategy in the Coronavirus 2019 (COVID-19) crisis and to study the problems and obstacles of implementing communication strategy during the COVID-19 crisis of the radio broadcasting station of Thailand, Phayao province. This research  was a qualitative research, using an in-depth interview Data collecting was done among 34 key informants from personnel related to  public policy communications in the crisis of COVID-19 under the radio broadcasting station of Thailand, Phayao province and its audiences,   The findings were as follows: 1) The pattern of public policy communication strategy in the COVID-19 crisis was a fusion of digital and online media along with radio broadcast communications to enhance various publishing channels and network for the public to participate, give some comments and suggestion about communication guidelines. 2) The problems and obstacles showed that heavy workloads were hindering operations amid pressure as state media was always expected by society. In addition, the action plan of the Radio Thailand was not implemented in this crisis. Recommendations from this study were that two-way communication within the organization should be focused and the action plan of the Public Relations Department should be included in the agency-level crisis plan.  More studies about organizational strategies in a crisis, comparing between different public policy communication institutions, should be enhanced.
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษารูปแบบกลยุทธ์การสื่อสารนโยบายสาธารณะในภาวะวิกฤตการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) และศึกษาปัญหาและอุปสรรคของการนำกลยุทธ์การสื่อสารไปปฏิบัติในช่วงภาวะวิกฤตการแพร่ระบาดโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) ของสถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทยจังหวัดพะเยา เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสัมภาษณ์แบบเชิงลึก เก็บข้อมูลจากผู้ให้ข้อมูลสำคัญที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติงานด้านการสื่อสารนโยบายสาธารณะในภาวะวิกฤตโควิด-19 สังกัดสถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทยจังหวัดพะเยา และผู้ฟังสถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทยจังหวัดพะเยา ในฐานะประชากรผู้รับสาร จำนวนทั้งสิ้น 34 คน ผลการวิจัยพบว่า 1) รูปแบบกลยุทธ์การสื่อสารนโยบายสาธารณะในภาวะวิกฤตมีการหลอมรวมสื่อดิจิทัลและสื่อออนไลน์ควบคู่ไปกับการสื่อสารผ่านวิทยุกระจายเสียง เพื่อเพิ่มช่องทางการเผยแพร่ที่หลากหลาย สร้างเครือข่ายให้สาธารณชนได้มีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็นและเสนอแนะแนวทางการสื่อสาร 2) ปัญหาและอุปสรรคของกลุ่มผู้ปฏิบัติงานพบว่า ภาระงานที่มากเป็นอุปสรรคในการปฏิบัติงานท่ามกลางภาวะกดดันในฐานะสื่อของรัฐที่ถูกคาดหวังจากสังคม และไม่พบการนำแผนปฏิบัติการประชาสัมพันธ์ในภาวะวิกฤต ของกรมประชาสัมพันธ์มาปรับใช้ในการปฏิบัติงานแต่อย่างใด ข้อเสนอแนะจากการวิจัยคือควรเน้นการสื่อสารภายในองค์กรแบบสองทาง และควรจัดทำแผนในภาวะวิกฤตระดับหน่วยงานให้สอดคล้องกับแผนหลักของกรมประชาสัมพันธ์ รวมทั้งควรศึกษาเปรียบเทียบรูปแบบกลยุทธ์การสื่อสารนโยบายสาธารณะในภาวะวิกฤตในองค์กรสื่อสารของรัฐอื่นๆ เพิ่มเติมด้วย
Description: Master of Public Administration (M.P.A. (Public Policy))
รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต (รป.ม. (นโยบายสาธารณะ))
URI: http://202.28.20.112/dspace/handle/123456789/323
Appears in Collections:School of Political and Social Science

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
62213509.pdf2.02 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.