Please use this identifier to cite or link to this item: http://202.28.20.112/dspace/handle/123456789/308
Title: Effects of Management Program in Beef Cattle on Conception Rate and Growth Performance of Calves
ผลของการจัดการโปรแกรมโคเนื้อแม่พันธุ์ต่อการผสมติดและอัตราการเจริญเติบโตของลูก
Authors: Chitanon Sueapheng
จิตรานนท์ เสือเพ็ง
Choke Sorachakula
โชค โสรัจกุล
University of Phayao. School of Agriculture and Natural Resources
Keywords: อาหารข้น, อาหารข้นเสริมลูกโค, โคขาวลำพูน, ค่าโลหิตวิทยา, สมรรถภาพการเจริญเติบโต, สัดส่วนร่างกาย
Concentrate feed Creep feeding Khao Lamphun Cattle hematology Growth performance Body proportions
Issue Date:  9
Publisher: University of Phayao
Abstract: The objective of this research was to study the effects of supplementation of concentrate on reproductive systems in postpartum cows and calf. In this study,experiment 1, 72 White Lamphun cows were randomly assigned into 2 groups, 36 each. 1) cows without concentrate diet, 2) cows were supplemented with concentrate diet. The body score of the cows were increased in the group that supplemented with concentrate feed (3.39 ± 0.21) compared to control group (3.04 ± 0.14, P < 0.001). While 30 and 60 days postpartum, the cows supplemented with concentrate feed had the rate return to estrus 63.89% (23/36) and 97.22% (35/36)), respectively (P = 0.193) tended to higher than without supplemention of concentrate feed (50%, 18/36 and 91.67% ,33/36), respectively (P = 0.686). Accordingly, the mean level of progesterone hormone was significantly higher than without supplemention of concentrate feed (15.66 ± 7.17 vs 10.37 ± 3.55) (P < 0.001). In conclusion, the cows that supplemented with concentrate feed had higher body score, pregnancy rate, hormone levels in the reproductive system than control group.           Experiment 2 aimed to determine the effect of creep feeding on growth performance, haematological and serum biochemical profile of khao Lamphun calf. Number 72 khao Lamphun calf. Throughout 90-day data of collect data between no supplementation of concentrate (n=36) and supplementation creep feeding (n=36) on birth weight, and weaning weight was collected. The calves’ birth weights supplementation creep feeding (18.06±0.53) no supplementation of concentrate (17.89± 0.57) did not Statistically different. Final liveweight of supplementation creep feeding was 101.92±13.00 kg was greater than no supplementation of concentrate was 89.17±10.43 kg (P<0.0001). and Average Daily Gain (ADG) of supplementation creep feeding was 0.42±0.06 g/d was greater than no supplementation of concentrate was 0.36± 0.05 g/d (P<0.0001). Body proportions at birth weight of no supplementation of concentrate heart girth (GIR), hip height (HH) and Body length (BL) were 61.08± 2.17, 63.14±3.30 and 55.47±1.76 respectively and supplementation creep feeding was 60.89±1.70, 62.69±2.55 and 56.17±1.99 cm respectively did not Statistically different. Weaning weight of supplementation creep feeding was GIR (110.33± 6.82 cm), HH (101.89± 4.90 cm) and BL (93.00± 6.90 cm) was greater than no supplementation of concentrate was 104.64±7.58, 98.86±5.90 and 89.64±5.76 cm respectively Statistically different. as well as haematological and serum biochemical values. Results showed that creep feeding significantly influenced overall body weight gainand some blood and serum biochemical variables. Generally, blood and serum biochemical values obtained were within normal ranges showing that there were no adverse effects of creep feeding or source of protein on the animals. It was therefore, concluded that the practice of creep feeding of calves should be adopted to enhance their growth rate in the study environment.  
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการเสริมอาหารข้นต่อระบบสืบพันธุ์ในแม่โคหลังคลอดและลูกโค ในการทดลองที่ 1 โดยใช้แม่โคขาวลำพูนหลังคลอดจำนวน 72 ตัว สุ่มแบ่งเป็น 2 กลุ่มๆ ละ 36 ตัว กลุ่มที่ 1) แม่โคที่ไม่เสริมอาหารข้น กลุ่มที่ 2) แม่โคที่ได้รับการเสริมอาหารข้น พบว่า สภาพคะแนนร่างกายแม่โคที่เสริมอาหารข้นเฉลี่ย 3.39±0.21 สูงกว่ากลุ่มที่ไม่ได้เสริมที่มีค่าเฉลี่ย 3.04±0.14 (p < 0.001) ขณะที่หลังคลอด 30 และ 60 วัน แม่โคที่เสริมอาหารข้นมีอัตราการเป็นสัด (63.89 % (23/36) และ 97.22% (35/36)) ตามลำดับ (P=0.193) ,มีแนวโน้มสูงกว่าไม่เสริมอาหารข้น (50% (18/36) และ 91.67 % (33/36)) ตามลำดับ (P=0.686) มีผลต่อการเพิ่มขึ้นของระดับฮอร์โมนโปรเจสเทอโรนในกลุ่มที่เสริมอาหารข้นเท่ากับ 15.66±7.17 มิลลิกรัม สูงกว่ากลุ่มที่ไม่เสริมอาหารข้นที่มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 10.37±3.55 มิลลิกรัม (P<0.001) การทดลองนี้พบว่าแม่โคขาวลำพูนที่ได้รับการเสริมอาหารข้นมีคะแนนร่างกาย อัตราการตั้งท้อง และระดับฮอร์โมนในระบบสืบพันธุ์ที่ดี การศึกษาที่ 2 จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการให้อาหารแบบคืบต่อประสิทธิภาพการเจริญเติบโต โลหิตวิทยาและค่าชีวเคมีในกระแสเลือดของลูกโคขาวลำพูน ใช้ลูกโคขาวลำพูนจำนวน 72 ตัว ระยะเวลาทดลอง 90 วัน ทำการเก็บรวบรวมข้อมูลระหว่างกลุ่มที่ไม่เสริมอาหารข้น (n = 36) และเสริมข้น (n = 36) เก็บรวบรวมข้อมูลที่น้ำหนักแรกเกิดและน้ำหนักหย่านม น้ำหนักแรกเกิดของลูกโคกลุ่มที่เสริมอาหารข้น (18.06 ± 0.53) และกลุ่มที่ไม่เสริมอาหารข้น (17.89 ± 0.57) ไม่แตกต่างกันทางสถิติ น้ำหนักตัวสุดท้ายของกลุ่มที่เสริมอาหารข้น คือ 101.92 ± 13.00 กก. มากกว่ากลุ่มที่ไม่เสริมอาหารข้นคือ 89.17 ± 10.43 กก. (P <0.0001) และค่าอัตราการเจริญเติบโตต่อวัน (ADG) ของกลุ่มที่เสริมอาหารข้นเท่ากับ 0.42 ± 0.06 กรัม/วัน ซึ่งมากกว่ากลุ่มที่ไม่เสริมอาหารข้นคือ 0.36 ± 0.05 กรัม/วัน (P <0.0001) ในขณะที่สัดส่วนของร่างกายที่น้ำหนักแรกเกิดในกลุ่มที่ไม่เสริมอาหารข้นมีความยาวรอบอก (GIR) ความสูง (HH) และความยาวลำตัว (BL) เท่ากับ 61.08 ± 2.17, 63.14 ± 3.30 และ 55.47 ± 1.76 ตามลำดับ และกลุ่มเสริมอาหารข้นเท่ากับ 60.89 ± 1.70, 62.69 ± 2.55 และ 56.17 ± 1.99 ซม. ตามลำดับไม่มีความแตกต่างกันทางสถิติ แต่น้ำหนักหย่านมของกลุ่มที่เสริมอาหารข้นมีความยาวรอบอก (110.33 ± 6.82 ซม.) ความสูง (101.89 ± 4.90 ซม.) และความยาวลำตัว (93.00 ± 6.90 ซม.) มากกว่ากลุ่มที่ไม่เสริมอาหารข้นคือ 104.64 ± 7.58, 98.86 ± 5.90 และ 89.64 ± 5.76 ซม. ตามลำดับแตกต่างกันทางสถิติ เช่นเดียวกับค่าโลหิตวิทยาและค่าชีวเคมีในกระแสเลือดของลูกโคขาวลำพูน พบว่าการให้อาหารเสริมมีผลต่อการเพิ่มน้ำหนักตัวโดยรวมและตัวแปรทางค่าโลหิตวิทยาและค่าชีวเคมีในกระแสเลือด โดยทั่วไปค่าที่ได้รับอยู่ในช่วงปกติซึ่งแสดงให้เห็นว่าไม่มีผลเสียจากการกินอาหารหรือแหล่งโปรตีนในสัตว์ ดังนั้นจึงสรุปได้ว่าควรใช้วิธีการให้อาหารข้นเสริมในลูกโคเพื่อเพิ่มอัตราการเจริญเติบโต  
Description: Master of Science (M.Sc. (Animal Science))
วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (วท.ม. (สัตวศาสตร์))
URI: http://202.28.20.112/dspace/handle/123456789/308
Appears in Collections:School of Agriculture and Natural Resources

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
59012298.pdf2.47 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.