Please use this identifier to cite or link to this item: http://202.28.20.112/dspace/handle/123456789/304
Title: Efficiency of vetiver leave extracts for anti-acne product development 
การศึกษาประสิทธิภาพของสารสกัดใบหญ้าแฝกเพื่อพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์ยับยั้งการเกิดสิว
Authors: Duangsamorn Boonwun
ดวงสมร บุญวัน
Panitnart Auputinan
พนิตนาฎ อู่พุฒินันท์
University of Phayao. School of Agriculture and Natural Resources
Keywords: ใบหญ้าแฝก
Bioautography
S. aureus
S. pyogenes
P. acnes
เจลแต้มสิว
Vetiver
Bioautography
S. aureus
S. pyogenes
P. acnes
anti-acne gel
Issue Date:  16
Publisher: University of Phayao
Abstract: Adding value of vetiver leaves in pharmaceutical aspect are the objective of this research. Five cultivars of vetiver; Mae tea, Huai Kha Khang, Mae Hong Son, Praratchatan and Sri Lanka were chosen and then extracted by maceration method with varies of solvent type including 95% ethanol, 70% ethanol, 50% ethanol and distilled water. The extraction was concentrated by rotary evaporator and freeze dryer. The results showed that 50% ethanol solvent gave the highest percentage yield followed by 70% ethanol, 95% ethanol and distilled water, respectively. Then, all these extractions were tested for antibacterial activity. S. aureus, S. pyogenes and P. acnes, causing acne-vulgaris, were used as bacteria. The result found that extractions which had the highest antibacterial activity were Huai Kha Khang and Mae Hong Son which extracted by 50% ethanol. While all extractions which extracted by distilled water had no antibacterial activity. Huai Kha Khang and Mae Hong Son which extracted by 50% ethanol were tested by Bioautography method to find an active ingredient. The result found that both extractions have the same active ingredient. There were 3 active ingredients, 1) on Rf 0.6-0.7 inhibited S. aureus and S. pyogenes, 2) on Rf 0.4-0.5 inhibited S. aureus, S. pyogenes and P. acnes and 3) on Rf 0.2-0.3 inhibited only S. aureus. Then, these active ingredients were isolate by PTLC technique and continuously identified by NMR technique. Anti-acne gel was developed using Huai Kha Khang extraction which extracted by 50% ethanol. There are 6 formulas in this experiment which used varies amount of the thickeners and the extractions. All formulas had significant in viscosity, pH, and separation in between incubation time, 4 weeks (p<0.05), but have no significant in antibacterial activity. When considered all of formulas, B2 is the best one which should be developed for anti-acne gel in the future.
งานวิจัยนี้มีจุดประสงค์ในการเพิ่มมูลค่าของใบหญ้าแฝกในแง่ของฤทธิ์ในเภสัชวิทยา โดยได้คัดเลือกหญ้าแฝก 5 กลุ่มพันธุ์ ได้แก่ แม่เตี๊ยะ ห้วยขาแข้ง แม่ฮ่องสอน พระราชทาน และศรีลังกา มาสกัดด้วยวิธีการหมักแบบไม่ใช้ความร้อน (cold maceration) ในตัวทำละลายที่มีความเข้มข้นของเอทานอลที่ต่างกัน ได้แก่ เอทานอล 95%, เอทานอล 70%, เอทานอล 50% และน้ำกลั่น จากนั้นนำไปทำให้เข้มข้นด้วยเครื่องกลั่นระเหยภายใต้สุญญากาศ (rotary evaporator) และ freeze dryer ใบหญ้าแฝกที่สกัดด้วยเอทานอล 50% ให้ร้อยละผลผลิตที่มากที่สุด รองลงมาคือ ใบหญ้าแฝกที่สกัดด้วยเอทานอล 70% น้ำกลั่น และเอทานอล 95% ตามลำดับ สารสกัดที่ได้ทั้งหมดถูกนำมาทดสอบฤทธิ์การยับยั้งแบคทีเรียที่ก่อโรคผิวหนัง ได้แก่ Staphylococcus aureus, Streptococcus pyogenes และ Propionibacterium acnes ซึ่งพบว่าสารที่สกัดด้วยน้ำกลั่นไม่สามารถยับยั้งแบคทีเรียทั้ง 3 ชนิดได้ และสารที่สามารถยับยั้งแบคทีเรียทั้ง 3 ชนิดได้ดีที่สุดคือ ห้วยขาแข้ง และแม่ฮ่องที่สกัดด้วยเอทานอล 50% ซึ่งสารสกัดทั้ง 2 ชนิดนี้ ถูกนำไปศึกษาหาสารสำคัญที่มีฤทธิ์ในการยับยั้งแบคทีเรียโดยวิธี Bioautography ซึ่งพบว่าใบหญ้าแฝกทั้งสองชนิดมีชนิดของสารที่ยับยั้งเชื้อแบคทีเรียชนิดเดียวกัน โดยสังเกตแถบแบนของสารที่สามารถยับยั้งเชื้อแบคทีเรียของหญ้าแฝกทั้งสองชนิดอยู่ในตำแหน่งเดียวกัน จากผลการทดลองพบว่า S. aureus ถูกยับยั้งได้โดยสารที่บริเวณ Rf 0.6-0.7, 0.4-0.5 และ 0.2-0.3 ในขณะที่ S. pyogenes ถูกยับยั้งได้โดยสารที่บริเวณ Rf 0.6-0.7 และ 0.4-0.5 และ P. acnes ถูกยับยั้งได้โดยสารที่บริเวณ Rf 0.4-0.5 สารที่มีฤทธิ์ทางชีวภาพเหล่านี้ได้ถูกแยกออกมาโดยวิธี PTLC และถูกนำไปวิเคราะห์หาชนิดของสารโดยวิธี NMR ต่อไป เนื่องจากสารสกัดทั้ง 2 มีสารที่มีฤทธิ์ทางชีวภาพเหมือนกัน ดังนั้นจึงเลือกเฉพาะสารสกัดใบหญ้าแฝกกลุ่มพันธุ์ห้วยขาแข้งที่สกัดโดยเอทานอล 50% ในการพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์เจลแต้มสิว ซึ่งได้สูตรเจลแต้มสิวทั้งหมด 6 สูตร โดยแต่ละสูตรมีปริมาณของสารก่อเจลและสารสกัดที่แตกต่างกัน ซึ่งผลิตภัณฑ์ทั้ง 6 สูตรยังไม่มีสูตรใดที่มีความคงตัวทางกายภาพเมื่อเก็บไว้เป็นเวลา 4 สัปดาห์ ในสภาวะอุณหภูมิต่าง ๆ (p<0.05) แต่สูตรทั้ง 6 สูตรมีความคงตัวในด้านของฤทธิ์ทางชีวภาพเป็นอย่างดี และเมื่อพิจารณาในทุกคุณสมบัติพบว่า สูตร B2 ที่ประกอบด้วยสารก่อเจล 2% สารกันเสีย 0.5% สารสกัด 5% เป็นสูตรที่ดีที่สุดที่ควรนำไปพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์ยับยั้งสิวที่สมบูรณ์แบบต่อไป
Description: Master of Science (M.Sc. (Biotechnology))
วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (วท.ม. (เทคโนโลยีชีวภาพ))
URI: http://202.28.20.112/dspace/handle/123456789/304
Appears in Collections:School of Agriculture and Natural Resources

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
59012210.pdf3.64 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.