Please use this identifier to cite or link to this item: http://202.28.20.112/dspace/handle/123456789/287
Title: THE RELATIONSHIP OF ACADEMIC LEADERSHIP AND ACADEMIC ADMINISTRATION EFFECTIVENESS OF SCHOOL ADMINISTRATORS DOI SAM MUEN CAMPUS UNDER THE OFFICE OF SECONDARY EDUCATIONAL SERVICE AREA 34
ความสัมพันธ์ของภาวะผู้นำทางวิชาการกับประสิทธิผลของการบริหารวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษา สหวิทยาเขตดอยสามหมื่น สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 34 
Authors: Satetapong Nunpiwong
เศรษฐพงศ์ นันภิวงค์
Sunthon Khlaium
สุนทร คล้ายอ่ำ
University of Phayao. School of Education
Keywords: ภาวะผู้นำทางวิชาการ
ประสิทธิผลของการบริหารวิชาการ
Academic Leadership
Effectiveness of Academic Administration
Issue Date:  29
Publisher: University of Phayao
Abstract: The purpose of this research to study academic leadership of school administrators to study the effectiveness of academic administration of school administrators and to analyze the relationship of academic leadership and the effectiveness of academic administration of school administrators Doi Sam Muen Campus Under the Office of Secondary Educational Service Areas, Area 34. The sample group used in this study was school administrators and teachers. In the Campus Doi Sam Muen Under the Office of Educational Service Area 34, Chiang Mai Province, consisting of 9 schools, totaling 201 people. The tools used in this study the questionnaire was a 5 rating scale. The statistics used for data analysis are frequency, percentage, mean, Standard Deviation and Pianson correlation coefficient. The results of the study were as follows: 1.) Results of data analysis about academic leadership of school administrators Doi Sam Muen Campus Under the Office of Secondary Education Service Area 34, it was found that academic leadership, each level was at a high level in all aspects. The highest aspect was planning. and the least aspect is supervision. 2.) Results of data analysis on academic administration effectiveness of school administrators Doi Sam Muen Campus Under the Office of Secondary Educational Service Area 34, it was found that the academic administration effectiveness, in all aspects, at a high level in all aspects. The highest aspect was school curriculum development. And the least aspect is development of media, innovation and technology for education. 3.) The results of the analysis of the relationship of academic leadership and academic administration effectiveness of school administrators Doi Sam Muen Campus Under the Office of Secondary Educational Service Area 34, it was found that the relationship between academic leadership and academic administration effectiveness of school administrators There is a high level of positive relationship (r = 0.816 **) with statistical significance at the 0.01 level.
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษา เพื่อศึกษาประสิทธิผลของการบริหารงานวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษา และเพื่อวิเคราะห์ความสัมพันธ์ของภาวะผู้นำทางวิชาการกับประสิทธิผลของการบริหารวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษา สหวิทยาเขตดอยสามหมื่น สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 34 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษาและครูผู้สอน ในโรงเรียนสหวิทยาเขตดอยสามหมื่น สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 34 จังหวัดเชียงใหม่ จำนวน 9 โรงเรียน จำนวนทั้งสิ้น 201 คน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ เป็นแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เพียรสัน จากการศึกษาพบว่า 1.) ผลการวิเคราะห์ข้อมูลเกี่ยวกับภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษา สหวิทยาเขตดอยสามหมื่น สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 34 พบว่า ภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษา รวมเฉลี่ยและรายด้านอยู่ในระดับมากทุกด้าน เมื่อพิจารณารายด้านพบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยรวมสูงสุด คือ ด้านการวางแผน รองลงมาคือ ด้านการบริหารจัดการ,ด้านความรู้ความสามารถ, ด้านการส่งเสริมบรรยากาศทางวิชาการ และน้อยที่สุด ได้แก่ ด้านการนิเทศ 2.) ผลการวิเคราะห์ข้อมูลเกี่ยวกับประสิทธิผลการบริหารงานวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษา สหวิทยาเขตดอยสามหมื่น สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 34 พบว่า ประสิทธิผลการบริหารงานวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษา รวมเฉลี่ยและรายด้านอยู่ในระดับมากทุกด้าน เมื่อพิจารณารายด้านพบว่า อยู่ในระดับมากทุกด้าน ด้านที่มีค่าเฉลี่ยรวมสูงสุด คือ ด้านการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา รองลงมา คือ ด้านการวัดผล ประเมินผล และเทียบโอนผลการเรียน, ด้านการพัฒนากระบวนการเรียนรู้, ด้านการพัฒนาระบบการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา, ด้านการวิจัยเพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษา และน้อยที่สุด ได้แก่ ด้านการพัฒนาสื่อ นวัตกรรม และเทคโนโลยีเพื่อศึกษา 3.) ผลการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ของภาวะผู้นำทางวิชาการกับประสิทธิผลการบริหารงานวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษา สหวิทยาเขตดอยสามหมื่น สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 34 พบว่า ความสัมพันธ์ของภาวะผู้นำทางวิชาการกับประสิทธิผลการบริหารงานวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษา มีความสัมพันธ์กันทางบวกในระดับสูง (r = 0.816**) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01
Description: Master of Education (M.Ed. (Educational Administration))
การศึกษามหาบัณฑิต (กศ.ม. (การบริหารการศึกษา))
URI: http://202.28.20.112/dspace/handle/123456789/287
Appears in Collections:School of Education

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
61500743.pdf4.79 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.