Please use this identifier to cite or link to this item: http://202.28.20.112/dspace/handle/123456789/282
Title: THE COMPETENCY OF SCHOOL ADMINISTRATORS UNDER THE OFFICE OF THE DISTRICT PHRAE PRIMARY EDUCATION SERVICE AREA 2
สมรรถนะผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาแพร่ เขต 2
Authors: Phakchira Phathong
ภัคจิรา ผาทอง
Sunthon Khlaium
สุนทร คล้ายอ่ำ
University of Phayao. School of Education
Keywords: สมรรถนะผู้บริหาร
Competency of School Administrator
Issue Date:  29
Publisher: University of Phayao
Abstract: This study aims to 1) To study the competency of school administrators, Office of Phrae Primary Educational Service Area 2. 2) To compare the competency of school administrators, Office of Phrae Primary Educational Service Area 2 which is classified by education level and working of experience. The samples group used by specifying the sample size by using the comparison table of Craigie and Morgan and Simple random. The sample group was 357. The reliability of The statistics used for data analysis were percentage, frequency, mean, standard deviation. The results of this study found that, 1. The Competency of School Administrators in Phrae Primary Educational Service Area Office 2, in all 5 aspects was found that all aspects were at the highest level. The highest mean was the achievement target and in adherence to righteousness and ethics was at the highest level. Next is the team work and achievement motivation at the highest level and accumulation of professional expertise at a high level. The lowest mean is the good service at a high level respectively. 2. The result of comparing The Competency of School Administrators in Phrae Primary Educational Service Area, Office 2 classified by education level the overall result had shown a statistical not significance at .05 3. The result of comparing The Competency of School Administrators in Phrae Primary Educational Service Area, Office 2 classified by working of experience the overall result had presented the statistical significance at .05 level in terms of team work.
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสมรรถนะผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาแพร่ เขต 2 2) เพื่อเปรียบเทียบสมรรถนะผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาแพร่ เขต 2 โดยจำแนกตามระดับการศึกษา และประสบการณ์ในการทำงาน กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างโดยใช้ตารางเทียบกลุ่มตัวอย่างของเครจซี่และมอร์แกน และการสุ่มอย่างง่าย ได้กลุ่มตัวอย่าง 357 คน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติที่ใช้ในการทดสอบสมมุติฐานการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว เมื่อพบความแตกต่างใช้วิธีทดสอบความแตกต่างรายคู่ตามวิธีของเชฟเฟ่ (Scheffe’) จากผลการวิจัย พบว่า 1. สมรรถนะของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาแพร่ เขต 2 ในภาพรวม พบว่า ทุกด้านมีระดับความคิดเห็นอยู่ในระดับมากที่สุด โดยด้านที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด คือ ด้านการยึดมั่นในความถูกต้องชอบธรรมและจริยธรรม อยู่ในระดับมากที่สุด รองลงมา คือ ด้านการทำงานเป็นทีม อยู่ในระดับมากที่สุด รองลงมา คือ ด้านการมุ่งผลสัมฤทธิ์ อยู่ในระดับมากที่สุด รองลงมา คือ ด้านการสั่งสมความเชี่ยวชาญในงานอาชีพ อยู่ในระดับมาก รองลงมา คือ ด้านการบริการที่ดี อยู่ในระดับมาก 2. จากผลการเปรียบเทียบสมรรถนะผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาแพร่ เขต 2 จำแนกตามระดับการศึกษาในภาพรวม พบว่า ด้านการมุ่งผลสัมฤทธิ์ด้านการบริการที่ดี ด้านการสั่งสมความเชี่ยวชาญในงานอาชีพ ด้านการยึดมั่นในความถูกต้องชอบธรรมและจริยธรรม และด้านการทำงานเป็นทีม ในภาพรวมไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3. จากผลการเปรียบเทียบสมรรถนะผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาแพร่ เขต 2 จำแนกตามประสบการณ์การทำงานในภาพรวม พบว่า มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และเมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านการทำงานเป็นทีม มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
Description: Master of Education (M.Ed. (Educational Administration))
การศึกษามหาบัณฑิต (กศ.ม. (การบริหารการศึกษา))
URI: http://202.28.20.112/dspace/handle/123456789/282
Appears in Collections:School of Education

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
61500697.pdf3.61 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.