Please use this identifier to cite or link to this item: http://202.28.20.112/dspace/handle/123456789/281
Title: SCHOOL-BASED MANAGEMANT FOR LOCAL DEVELOPEMENT MODEL OF SCHOOL UNDER CHIANGMAI PROVINCIAL ADMINISTRATIVE ORGANIZATION
การบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานในการพัฒนาท้องถิ่นของสถานศึกษาสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงใหม่ 
Authors: Nantawan Morkeng
นรรนธวรรณ หมอเก่ง
Sunthon Khlal um
สุนทร คล้ายอ่ำ
University of Phayao. School of Education
Keywords: การบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน
การพัฒนาท้องถิ่นของสถานศึกษา
School-Based Management
Local Development Model Of School
Issue Date:  29
Publisher: University of Phayao
Abstract: This study aims to study School-Based management for local development model of school under Chiangmai provincial administrative organization and to study problems and recommendations for using as School-Based management for local development  model of school under Chiangmai provincial administrative organization. The population group used the 23 administrators,176 teachers and educational personnel, amount 199 persons. The tools for this research are surveys, check-list and the rating scale for statistic analysis including percentage, arithmetic average, standard deviation and frequency. The results of this study had been found that the educational institutions under the Chiang Mai provincial administrative organization control has been used as the local development center in 5 aspects. The overall performance was at a high level. The following aspect sequences from the highest performance to the lowest performance thus the strength enhancement of the basic education institution committee, the formal education, the non-formal education, the community enterprise establishing and the informal education. Since the conditions, problems and obstacles studies had been found that the strength enhancement of the basic education institution committee should arrange the meeting in the evening or on the public holiday and the meeting invitation should be change from sending letter invitation to inviting in person by the school principle or teachers. There are the meeting secretaries that be provided by the education institution. In the formal education aspect should be evaluated by the sending E-letter and holding annual seminars or trainings for developing the curriculum. In case of non-formal education, the mean costs of transportation and course registration per person to limit the expense and to provide more opportunities for personnel to access for the seminars in different fields nearby the school and to decrease displacing and discontinuity. The survey and the media accessibility schedule in yearly calendar should be provided for the informal education for the communication network that can be followed up in online media. Moreover, the community enterprise establishing should train and educate people in community regularly such as visiting the local at their place, joining the community meeting, supporting the community product extension as product transformations. From the suggestions’ studying, there should be the studying of the education institute improvement process through the point of view of their guardians.
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาการบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานในการพัฒนาท้องถิ่นของสถานศึกษาสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงใหม่ และ เพื่อศึกษาปัญหาและข้อเสนอแนะการบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานในการพัฒนาท้องถิ่นของสถานศึกษาสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงใหม่ โดยใช้ประชากร ได้แก่ ผู้บริหาร 23 คน ครูและบุคลากรทางการศึกษา จำนวน 176 คน รวมทั้งสิ้น 199 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ เป็นแบบสอบถาม แบบตรวจสอบรายการ (Check list) และสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยเลขคณิต ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานและค่าความถี่ จากผลการศึกษาพบว่า การบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานในการพัฒนาท้องถิ่นของสถานศึกษาสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงใหม่ โดยรวม 5 ด้าน อยู่ในระดับมาก เรียงลำดับจากมากไปน้อย ดังนี้ มากที่สุด ได้แก่ ด้านการเสริมสร้างความเข้มแข็งของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน อยู่ในระดับมาก รองลงมาได้แก่ ด้านการศึกษาในระบบ อยู่ในระดับมาก รองลงมาได้แก่ ด้านการศึกษานอกระบบ อยู่ในระดับมาก รองลงมาได้แก่ ด้านการสร้างวิสาหกิจชุมชนโดยการพัฒนาคนในท้องถิ่น อยู่ในระดับมาก และน้อยที่สุดได้แก่ ด้านการศึกษาตามอัธยาศัยอยู่ในระดับมาก จากการศึกษาปัญหา พบว่า การเสริมสร้างความเข้มแข็งของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ควรมีการจัดประชุมช่วงเย็น หรือช่วงวันหยุดราชการ รวมทั้งควรมีการเปลี่ยนช่องทางการสื่อสารจากการเชิญด้วยหนังสือเชิญเป็นการที่ผู้บริหารหรือคณะครูไปพบและเชิญประชุมด้วยตนเองมากขึ้น และจัดครู บุคลากรทางการศึกษา หรือเจ้าหน้าที่ของสถานศึกษาเข้าร่วมเป็นเลขานุการเพื่อบันทึกการประชุมทุกครั้ง ด้านการศึกษาในระบบ ควรมีการประเมินโดยการส่งหนังสืออิเล็กทรอนิก มีการอบรมและพัฒนาหลักสูตรทุกๆ ปีการศึกษา ด้านการศึกษานอกระบบ ควรมีการเฉลี่ยรายหัวของบุคลากรเพื่อให้สามารถเบิกค่าเดินทาง ค่าลงทะเบียนอบรม และใช้สิทธิ์ของตนไม่เกินกว่างบประมาณที่มีต่อคน เปิดโอกาสให้บุคลากรสามารถเข้าอบรมกับหน่วยงานอื่นๆ ซึ่งต่างต้นสังกัดและอยู่บริเวณใกล้กับสถานศึกษา และส่งเสริมให้บุคลากรที่อยู่ในพื้นที่ มีภูมิลำเนาใกล้เคียงดำเนินการเป็นเบื้องต้น เพื่อลดการโยกย้าย และความไม่ต่อเนื่องของงาน ด้านการศึกษาตามอัธยาศัย ควรมีการสำรวจและทำตารางการใช้สื่อและแหล่งทรัพยากรในพื้นที่ในรูปแบบของปฏิทินประจำปี มีการสร้างเครือข่ายที่มีการติดต่อสื่อสารในรูปแบบของการติดตามแบบออนไลน์มากยิ่งขึ้น และด้านการสร้างวิสาหกิจชุมชนโดยการพัฒนาคนในท้องถิ่น ควรมีการจัดอบรมให้ความรู้แก่ชุมชนสม่ำเสมอ การลงพื้นที่ให้มากขึ้น เช่น การเยี่ยมบ้าน การเข้าร่วมการประชุมของหมู่บ้าน การส่งเสริมให้มีการต่อยอดผลผลิต เช่นการแปรรูปผลิตภัณฑ์ จากการศึกษาข้อเสนอแนะ พบว่า ผู้บริหารสถานศึกษาต้องหาวิธีหรือกลยุทธ์การธำรงรักษาไว้ ซึ่งกระบวนการบริหารที่มีคุณภาพและพัฒนารูปแบบการบริหารอย่างต่อเนื่อง
Description: Master of Education (M.Ed. (Educational Administration))
การศึกษามหาบัณฑิต (กศ.ม. (การบริหารการศึกษา))
URI: http://202.28.20.112/dspace/handle/123456789/281
Appears in Collections:School of Education

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
61500686.pdf1.81 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.