Please use this identifier to cite or link to this item: http://202.28.20.112/dspace/handle/123456789/265
Title: A STUDY OF ORGANIZATIONAL HEALTH AT RAJAPRAJANUGROH 15 (WIANGKAOSAENPUWITTAYAPRASAT) SCHOOL
การศึกษาสุขภาพองค์การของโรงเรียนราชประชานุเคราะห์ 15 (เวียงเก่าแสนภูวิทยาประสาท)
Authors: Warat Somwong
วรัท สมวงศ์
Thidawan Unkong
ธิดาวัลย์ อุ่นกอง
University of Phayao. School of Education
Keywords: สุขภาพองค์การ
แนวทางการพัฒนาสุขภาพองค์การ
Health Organization
Guidelines for organizational health development
Issue Date:  29
Publisher: University of Phayao
Abstract: The purposes of the research were to study (1) the organizational health and (2) the development organizational health of Rajaprajanugroh 15 (Wiangkaosaenpu Wittayaprasat School). The sample consisted of 118 informants; school director, 67 government teachers, government employee, 26 contract teachers, and 23 educational personnel in Rajaprajanugroh 15 (Wiangkaosaenpu Wittayaprasat School). The experimental instruments consisted of a 5 level rating scale questionnaire and the interview form. The content validity range was from 0.67–1.00 and the reliability (α) ranged in value were 0.99. Statistical analyses were percentage, mean, standard deviation, and content analysis. The findings were as follows: 1. In general, the organizational health of Rajaprajanugroh 15 (Wiangkaosaenpu Wittayaprasat School) is very strong. In order from high to low, as follows: school director, teachers, and school respectively. 2. The processes for the organizational health development of Rajaprajanugroh 15 (Wiangkaosaenpu Wittayaprasat School) as following; school should promote teaching and learning about trade, investment, transportation logistics, and sustainable culture learning. School director should encourage teachers and learners to be leaders of learning and develop the participation system. Teachers and educational personnel should be trained to develop teachers' potential for appropriate learning management in the 21st century and teachers and educational personnel should be grouped for interested in self-development and organizes PLC for teachers continuously.
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ดังนี้ เพื่อศึกษาสุขภาพองค์การและ เพื่อศึกษาแนวทางการพัฒนาสุขภาพองค์การของโรงเรียนราชประชานุเคราะห์ 15 (เวียงเก่าแสนภูวิทยาประสาท) กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการตอบแบบสอบถาม ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 1 คน ข้าราชการครู จำนวน 67 คน พนักงานราชการ จำนวน 1 คน ครูอัตราจ้าง จำนวน 26 คน และบุคลากรทางการศึกษา จำนวน 23 คน รวมทั้งสิ้น จำนวน 118 คน และประชากรที่ตอบแบบสัมภาษณ์การศึกษาแนวทางการพัฒนาสุขภาพองค์การของโรงเรียนราชประชานุเคราะห์ 15 (เวียงเก่าแสนภูวิทยาประสาท) ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษาที่เคยปฏิบัติหน้าที่ในโรงเรียนราชประชานุเคราะห์ 15 (เวียงเก่าแสนภูวิทยาประสาท) จำนวน 5 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ มีค่าดัชนีความสอดคล้อง อยู่ระหว่าง 0.67-1.00 ค่าความเชื่อมั่น (α) เท่ากับ 0.99 และแบบสัมภาษณ์ สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการศึกษาพบว่า 1. สุขภาพองค์การของโรงเรียนราชประชานุเคราะห์ 15 (เวียงเก่าแสนภูวิทยาประสาท) ในภาพรวมมีสุขภาพแข็งแรงมาก โดยเรียงลำดับจากมากไปหาน้อย ดังนี้ องค์ประกอบด้านผู้บริหารสถานศึกษา องค์ประกอบด้านครูและบุคลากรทางการศึกษา และองค์ประกอบด้านสถานศึกษา ตามลำดับ 2. แนวทางการพัฒนาสุขภาพองค์การของโรงเรียนราชประชานุเคราะห์ 15 (เวียงเก่าแสนภูวิทยาประสาท) สถานศึกษาควรส่งเสริมการจัดการเรียนการสอนเกี่ยวกับการค้าและการลงทุน การขนส่งโลจิสติกส์ การเรียนรู้วัฒนธรรมแบบยั่งยืน ผู้บริหารสถานศึกษาควรส่งเสริมให้ครูและผู้เรียนเป็นผู้นำแห่งการเรียนรู้ การพัฒนาระบบการมีส่วนร่วมให้ชัดเจนยั่งยืน ครูและบุคลากรทางการศึกษาควรได้รับการอบรมพัฒนาศักยภาพครูด้านการจัดการเรียนรู้ที่เหมาะสมในศตวรรษที่ 21 ควรจัดกลุ่มบุคลากรครูเป็นกลุ่มสนใจในการพัฒนาตนเองแต่ละด้าน และจัดเวที PLC ให้ครูอย่างต่อเนื่อง
Description: Master of Education (M.Ed. (Educational Administration))
การศึกษามหาบัณฑิต (กศ.ม. (การบริหารการศึกษา))
URI: http://202.28.20.112/dspace/handle/123456789/265
Appears in Collections:School of Education

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
61170353.pdf4.41 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.