Please use this identifier to cite or link to this item: http://202.28.20.112/dspace/handle/123456789/261
Title: A STUDY OF RELATION BETWEEN LEADERSHIP BEHAVIOR OF THE SCHOOL ADMINISTRATORS AND THE MOTIVATION IN THE PERFORMANCE OF THE TEACHER UNDER CHIANGRAI PRIMARY EDUCATION SERVICE AREA OFFICE 3
การศึกษาความสัมพันธ์ภาวะผู้นำเชิงพฤติกรรมของผู้บริหารสถานศึกษา กับแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ประถมศึกษาเชียงราย เขต 3
Authors: Ruttanabongkod Niputsiripol
รัตนบงกช นิพัฒน์ศิริผล
Thidawan Unkong
ธิดาวัลย์ อุ่นกอง
University of Phayao. School of Education
Keywords: ภาวะผู้นำ
ภาวะผู้นำเชิงพฤติกรรม
แรงจูงใจ
Leadership
Leadership behavior
Motivation
Issue Date:  29
Publisher: University of Phayao
Abstract: An Independent Study, entitled “A study of Relation between Leadership Behavior of the School Administrators and the Motivation in the Performance of the Teacher under Chiangrai Primary Education Service Area Office 3”, aimed: 1) to study behavioral leadership of school administrators 2) to study teacher performance motivation and 3) to study relationship of behavioral leadership of school administrators and teacher performance motivation under the Chiangrai Primary Educational Service Area Office 3. The samples group consisted of 366 administrators and teachers of 69 schools under the Chiangrai Primary Educational Service Area Office 3. Sample group determination according to Krejcie & Morgan sample size table were selected by Purposive Sampling and Stratified Sampling. A constructed 5 level rating sale questionnaire with the reliability 0.97 was used as a tool to collect data. The statistics for data analysis were mean, percentage, standard deviation and Pearson's product moment correlation coefficient. The research findings were as follows: 1. The behavioral leadership of school administrators was overall at a high level. For considering each aspect, it was found that the highest mean was the participatory leadership, followed by democratic leadership and achievement-oriented leadership respectively, while the lowest mean is directive leadership. 2. Teacher performance motivation was overall at a high level. It was found that the highest mean aspect was the maintenance factor while the lowest mean aspect was the motivation factor. 3. The relationship of behavioral leadership of school administrators and performance motivation of teachers under the Chiangrai Primary Educational Service Area Office 3 was overall at a moderate level of positive relationship. Statistical significance is at .01 level.
การศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง เรื่อง การศึกษาความสัมพันธ์ภาวะผู้นำเชิงพฤติกรรมของผู้บริหารสถานศึกษากับแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงราย เขต 3 มีวัตถุประสงค์ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาภาวะผู้นำเชิงพฤติกรรมของผู้บริหารสถานศึกษา 2) เพื่อศึกษาแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของครู และ 3) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำเชิงพฤติกรรมของผู้บริหารสถานศึกษากับแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงราย เขต 3 ทำการศึกษาจากกลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษา และครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงราย เขต 3 จาก 69 โรงเรียน จำนวน 297 คน โดยกำหนดขนาดของกลุ่มตัวอย่างตามตารางของเครจซี่และมอร์แกน ได้มาโดยการเลือกแบบเฉพาะเจาะจง และการสุ่มแบบแบ่งชั้นตามขนาดโรงเรียน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามชนิดมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ (Rating Scale) มีค่าความเชื่อมั่นที่ 0.97 สถิติที่ใช้การวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน ผลการวิจัยพบว่า 1. ภาวะผู้นำเชิงพฤติกรรมของผู้บริหารสถานศึกษา ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ด้านภาวะผู้นำแบบมีส่วนร่วม รองลงมา คือ ด้านภาวะผู้นำแบบประชาธิปไตย และภาวะผู้นำแบบเน้นความสำเร็จตามลำดับ ส่วนค่าเฉลี่ยต่ำสุด คือ ด้านภาวะผู้นำแบบบงการ 2. แรงจูงใจในการปฏิบัติงานของครู ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ปัจจัยค้ำจุน ส่วนด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด คือ ปัจจัยจูงใจ 3. ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นําเชิงพฤติกรรมของผู้บริหารสถานศึกษากับแรงจูงใจในการปฎิบัติงานของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงราย เขต 3 โดยภาพรวมมีความสัมพันธ์ทางบวกระดับปานกลาง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 เป็นไปตามกับสมมติฐานที่ตั้งไว้
Description: Master of Education (M.Ed. (Educational Administration))
การศึกษามหาบัณฑิต (กศ.ม. (การบริหารการศึกษา))
URI: http://202.28.20.112/dspace/handle/123456789/261
Appears in Collections:School of Education

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
61170319.pdf3.64 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.