Please use this identifier to cite or link to this item: http://202.28.20.112/dspace/handle/123456789/252
Title: A STUDY OF THE RELATIONSHIP BETWEEN PARTICIPATORY MANAGEMENT ANDEFFECTIVENESS OF SCHOOLS UNDER THE LOCAL GOVERNMENT ORGANIZATIONCHIANG RAI PROVINCE
การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการบริหารจัดการแบบมีส่วนร่วมกับประสิทธิผลของสถานศึกษา สังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจังหวัดเชียงราย
Authors: Nattakarn Wongyai
ณัฐกานต์ วงศ์ใหญ่
Thidawan Unkong
ธิดาวัลย์ อุ่นกอง
University of Phayao. School of Education
Keywords: การบริหารจัดการแบบมีส่วนร่วม
ประสิทธิผลของสถานศึกษา
องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
participative management
effectiveness of the schools
local government organization
Issue Date:  29
Publisher: University of Phayao
Abstract: The purposes of this study were: 1) to study about participative management under local government organization in Chiang Rai 2) to study the effectiveness of the schools under local government organization in Chiang Rai and 3) to study about the relationship of participative management with effectiveness of the schools under local government organization in Chiang Rai. The case study was 245 people of school directors and teachers under local government organization in Chiang Rai by using Stratified Random Sampling. The tools that were used in this study were 5 level rating scales by finding Alpha Coefficient, school participative management reliability equal to .97 and the effectiveness of the schools reliability equal to .95. The statistic that were used in this study included frequency, percentage, mean, standard deviation and Pearson’ Product Moment Correlation Coefficient. The result showed that: 1) the school administration of participative management under local government organization in Chiang Rai had mean in high level. When looked in each part found that all part have mean in high level, especially, in general management followed by academic administration and human resources. The part that got the lowest mean was financial management. 2) The effectiveness of the schools under local government organization in Chiang Rai overall had mean in high level. When looked in 3 parts found that all part had mean in high level, especially, in administration and management process followed by child’s centered teaching process. The part that got the lowest mean was student quality. 3) The relationship study about participative management with effectiveness of the schools under local government organization in Chiang Rai in positive level with statistical significant equal to .01.
การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาการบริหารจัดการแบบมีส่วนร่วมของสถานศึกษา สังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจังหวัดเชียงราย 2) เพื่อศึกษาประสิทธิผลของสถานศึกษา สังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจังหวัดเชียงราย และ 3) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการบริหารจัดการแบบมีส่วนร่วมกับประสิทธิผลของสถานศึกษา สังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจังหวัดเชียงราย กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้บริหาร ครู สังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจังหวัดเชียงราย จำนวน 254 คน โดยใช้การสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้น เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามมาตรประมาณค่า 5 ระดับ โดยหาค่าสัมประสิทธิ์แอลฟา ค่าความเชื่อมั่นของการบริหารจัดการแบบมีส่วนร่วมของสถานศึกษา เท่ากับ .97 ค่าความเชื่อมั่นของประสิทธิผลของสถานศึกษา เท่ากับ .95 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ การแจกแจงความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน ผลการวิจัย พบว่า 1) การบริหารจัดการแบบมีส่วนร่วมของสถานศึกษา สังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จังหวัดเชียงราย ในภาพรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ทุกด้านมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก โดยด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ด้านการบริหารงานบริหารทั่วไป รองลงมาคือ ด้านการบริหารงานวิชาการ และด้านการบริหารงานบุคคล ตามลำดับ ส่วนมีค่าเฉลี่ยต่ำสุด คือ ด้านการบริหารงานงบประมาณ 2) ประสิทธิผลของสถานศึกษาในสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จังหวัดเชียงราย ในภาพรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน 3 ด้าน พบว่า ทุกด้านมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก โดยด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ กระบวนการบริหารและการจัดการ รองลงมา คือ กระบวนการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ส่วนข้อที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด คือ คุณภาพของผู้เรียน 3) ความสัมพันธ์ระหว่างการบริหารจัดการแบบมีส่วนร่วมกับประสิทธิผลของสถานศึกษา สังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จังหวัดเชียงราย มีความสัมพันธ์กันทางบวก ในระดับสูงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
Description: Master of Education (M.Ed. (Educational Administration))
การศึกษามหาบัณฑิต (กศ.ม. (การบริหารการศึกษา))
URI: http://202.28.20.112/dspace/handle/123456789/252
Appears in Collections:School of Education

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
61170195.pdf1.45 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.