Please use this identifier to cite or link to this item: http://202.28.20.112/dspace/handle/123456789/226
Title: Developing Eighth-Grade Students’ Knowledge of Ability in Basic Programing Using Problem-based Learning
การพัฒนาความรู้และความสามารถในการเขียนโปรแกรมเบื้องต้นโดยใช้ปัญหาเป็นฐาน สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2
Authors: Anuchit Phrankwang
อนุชิต พรานกวาง
Luecha Ladachart
ลือชา ลดาชาติ
University of Phayao. School of Education
Keywords: การใช้ปัญหาเป็นฐาน, การเขียนโปรแกรมเบื้องต้น
Problem–Based Learning Basic programming
Issue Date:  29
Publisher: University of Phayao
Abstract: The objectives of this research 1) To study the basic knowledge programming by Problem–Based Learning of eighth-grade students. 2) To study the basic basic ability programming by Problem–Based Learning of eighth-grade students. 3) To compare knowledge before and after learning by basic programming of eighth-grade students. 4) To compare ability before and after learning by basic programming of eighth-grade students. The populations were 60 eighth-grade students at Ban Huairaisamakkee School, The samples were 30 they were selected by Simple Random Sampling The tools were used in this study are test of knowledge basic programming by Problem–Based Learning and test of skill basic programming by Problem–Based Learning. The statistics used in this study were such as mean, standard deviation, difficulty, discrimination confidence coefficient by Kuder–Richardson (KR-20) and Wilcoxon Singed Ranks Test. The results of the research were as follows 1) Students of knowledge development after used by Problem–Based Learning was higher than statistical significance at the .01 level. 2) Students of ability development after used by Problem–Based Learning was higher than statistical significance at the .01 level.
การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาความรู้เดิมของนักเรียน เกี่ยวกับการเขียนโปรแกรมเบื้องต้น โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 2) เพื่อศึกษาความสามารถก่อนเรียนของนักเรียน เกี่ยวกับการเขียนโปรแกรมเบื้องต้น โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 3) เพื่อเปรียบเทียบความรู้การเขียนโปรแกรมเบื้องต้น ก่อนเรียนและหลังเรียน โดยกิจกรรมพัฒนาความรู้ในการเขียนโปรแกรมเบื้องต้น โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 และ 4) เพื่อเปรียบเทียบความสามารถการเขียนโปรแกรมเบื้องต้น ก่อนเรียนและหลังเรียน โดยกิจกรรมพัฒนาความสามารถในการเขียนโปรแกรมเบื้องต้น โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ประชากรที่ศึกษา คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนบ้านห้วยไร่สามัคคี จำนวน 60 คน กลุ่มตัวอย่าง 30 คน วิธีการสุ่มแบบง่าย (Simple Random Sampling) โดยการใช้ห้องเรียนเป็นหน่วยสุ่ม ซึ่งสุ่มจากการจับฉลาก เครื่องที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบทดสอบความรู้ในการเขียนโปรแกรมเบื้องต้น โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน และแบบวัดความสามารถในการเขียนโปรแกรมเบื้องต้น โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน ที่มีการหาค่าดัชนีความสอดคล้อง ค่าคะแนนเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน คำนวณหาค่าระดับความยากง่าย ค่าอำนาจจำแนก และหาค่าสัมประสิทธิ์ความเชื่อมั่นของแบบทดสอบ โดยใช้สูตร KR-20 ของ คูเดอร์-ริชาร์ดสัน ผลการวิจัยพบว่า 1) นักเรียนมีความรู้เกี่ยวกับการเขียนโปรแกรมเบื้องต้นเพิ่มสูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 หลังจากการเรียนรู้โดยการใช้ปัญหาเป็นฐาน ซึ่งเป็นไปตามสมมติฐานที่ตั้งไว้ 2) นักเรียนมีความสามารถในการเขียนโปรแกรมเบื้องต้นเพิ่มสูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 หลังจากการเรียนรู้โดยการใช้ปัญหาเป็นฐาน ซึ่งเป็นไปตามสมมติฐานที่ตั้งไว้
Description: Master of Education (M.Ed. (Curriculum and Instruction))
การศึกษามหาบัณฑิต (กศ.ม. (หลักสูตรและการสอน))
URI: http://202.28.20.112/dspace/handle/123456789/226
Appears in Collections:School of Education

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
59170473.pdf927.81 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.