Please use this identifier to cite or link to this item: http://202.28.20.112/dspace/handle/123456789/172
Title: Quality improvement of organic fertilizer from water hyacinth composted from biodegradable fungi, Mucor ellipsoideus (UPPY06), Rhizopus oryzae (UPPY29) and Trichoderma harzianum (UPPY19 to enhance the growth and productivity and control of anthracnose and Fusarium wilt on chili.
การปรับปรุงคุณภาพปุ๋ยอินทรีย์จากผักตบชวาที่หมักด้วยราย่อยสลาย Mucor ellipsoideus (UPPY06), Rhizopus oryzae (UPPY29) และ Trichoderma harzianum (UPPY19) เพื่อส่งเสริมการเจริญเติบโต ปริมาณผลผลิต และควบคุมโรคแอนแทรคโนส และโรคเหี่ยวเหลืองพริก
Authors: Natthaphong Yasaeng
นัทธพงศ์ ยะแสง
Wipornpan Nuangmek
วิพรพรรณ์ เนื่องเม็ก
University of Phayao. School of Agriculture and Natural Resources
Keywords: ปุ๋ยอินทรีย์
ผักตบชวา
ราย่อยสลาย
พริก
Bio-organic fertilizer
Water hyacinth
Biodegradation
Chili
Issue Date:  29
Publisher: University of Phayao
Abstract: This research aimed to improving the quality of bio-fertilizer water hyacinth composted with biodegradable fungi; Mucor ellipsoideus (UPPY06), Rhizopus oryzae (UPPY29) and Trichoderma harzianum (UPPY19) to enhancing growth, yield and disease control in chili. Experiments 1 study of the antagonistic effect of biodegradable fungi inhibited the growth of anthracnose (Colletotrichum capsici) and Fusarium wilt (Fusarium solani) in chili by dual culture technique. Results revealed that R. oryzae, T. harzianum and M. ellipsoideus inhibited the growth of anthracnose fungus, Colletotrichum capsici by 83.52%, 73.38% and 68.31% and Fusarium solani by 74.76%, 70.56% and 50.58% respectively. Experiments 2 the study on ratio analysis of raw materials were obtained from water hyacinth compost: leonadite: basalt rock powder: swine manure: poultry manure, mixed in the ratio of 4: 1: 1: 2: 2 by weight that suitable for bio-fertilizer production revealed that the overall substantial quality the best with of organic matter, total nitrogen, total phosphorus and total potassium by 26.93%, 1.51%, 2.52%, 3.27% respectively including positive effect of organic fertilization on growth and yield of pepper plants. Results of experiments 3 showed that quality of organic fertilizer for in factory production that consistently quality of organic matter, total nitrogen, total phosphorus and total potassium by 27.59%, 1.63%, 2.59%, 3.14%, respectively, and compliance with the fertilizer ACT 2518 B.E. and Regulations. Biodegradable fungi; M. ellipsoideus, R. oryzae and T. harzianum were re-isolated from biofertilizer and pure culture of each was obtained. Total spore concentrations was 9.52×105 spores/ml. Experiments 4 studies on the effect of bio-fertilizer from water hyacinth compost on growth and yield component in chili as compared with the chemical fertilizer and commercial organic fertilizer. The results showed that application of bio-fertilizer from water hyacinth compost favorably affect the yield component of chili pepper with the highest fruit number per plant (456.60), average fresh fruit weight (633.75 gm) and fruit dry weight (165.41 gm). However, there were no statistically significant difference (P> 0.05) in the average plant height (cm) 92.60, 90.20 and 84.70 with the application of chemical fertilizer, bio-fertilizer and commercial organic fertilizer respectively. Experiments 5 inhibitory effect of bio-fertilizer for controlling anthracnose and fusarium wilt on chili. Greenhouse experiment revealed that application of bio-fertilizer caused minimal disease incidence 10% on plants and fruit disease 3.37% and able to control Fusarium solani with the lowest disease score of 0.42 points and percentage of disease incidence 8.33% respectively.
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อปรับปรุงคุณภาพปุ๋ยอินทรีย์จากผักตบชวาที่หมักด้วยราย่อยสลาย Mucor ellipsoideus (UPPY06), Rhizopus oryzae (UPPY29) และ Trichoderma harzianum (UPPY19) เพื่อส่งเสริมการเจริญเติบโต ปริมาณผลผลิต และควบคุมโรคแอนแทรคโนสและโรคเหี่ยวเหลืองพริก ทำการทดลอง 5 การทดลอง ได้แก่ การทดลองที่ 1 การศึกษาประสิทธิภาพของราย่อยสลายทั้ง 3 ชนิด ต่อการยับยั้งราสาเหตุโรคแอนแทรคโนส (Colletotrichum capsici) และโรคเหี่ยวเหลือง (Fusarium solani) ของพริก โดยวิธี dual culture technique พบว่า รา R. oryzae, T. harzianum และ M. ellipsoideus สามารถยับยั้งการเจริญของรา C. capsici เท่ากับ 83.52, 73.38 และ 68.31 เปอร์เซ็นต์ ตามลำดับ และยับยั้งรา F. solani เท่ากับ 74.76, 70.56 และ 50.58 เปอร์เซ็นต์ ตามลำดับ การทดลองที่ 2 การศึกษาอัตราส่วนผสมของวัตถุดิบที่เหมาะสมในการผลิตปุ๋ยอินทรีย์จากผักตบชวา และผลการตอบสนองต่อปุ๋ยอินทรีย์จากผักตบชวา ต่อการส่งเสริมการเจริญเติบโตและปริมาณผลผลิตพริก พบว่าอัตราส่วนของ ผักตบชวาหมัก แร่ลีโอนาไดท์ หินภูเขาไฟ มูลสุกร และมูลไก่ เท่ากับ 4:1:1:2:2 มีคุณสมบัติโดยรวมดีที่สุดโดยมีอินทรียวัตถุ ไนโตรเจนทั้งหมด ฟอสฟอรัสทั้งหมด และโพแทสเซียมทั้งหมด เท่ากับ 26.93, 1.51, 2.52 และ 3.27 เปอร์เซ็นต์ ตามลำดับ และส่งผลต่อการเจริญเติบโตและปริมาณผลพริกมากที่สุด การทดลองที่ 3 การผลิต คุณภาพของปุ๋ยอินทรีย์จากผักตบชวาที่หมักด้วยราย่อยสลายที่ผลิตได้จากการผลิตระดับโรงงาน โดยใช้อัตรา 4:1:1:2:2 พบว่าปุ๋ยอินทรีย์มีคุณสมบัติสม่ำเสมอ โดยมีอินทรียวัตถุ ไนโตรเจนทั้งหมด ฟอสฟอรัสทั้งหมด และโพแทสเซียมทั้งหมด เท่ากับ 27.59, 1.63, 2.59 และ 3.14 เปอร์เซ็นต์ ตามลำดับ ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐานปุ๋ยอินทรีย์พระราชบัญญัติปุ๋ย พ.ศ. 2518 และเมื่อแยกเชื้อกลับพบราย่อยสลายทั้ง 3 ชนิด 100 เปอร์เซ็นต์ โดยมีจำนวนสปอร์ของราทั้งหมด เท่ากับ 9.52×105 สปอร์/มิลลิลิตร การทดลองที่ 4 ผลของปุ๋ยอินทรีย์จากผักตบชวาที่หมักด้วยราย่อยสลายในระดับโรงงานต่อการเจริญเติบโตและผลผลิตของพริก พบว่า ความสูงของต้นกรรมวิธีที่ใส่ปุ๋ยเคมี กรรมวิธีที่ใส่ปุ๋ยอินทรีย์จากผักตบชวาที่หมักด้วยราย่อยสลาย และกรรมวิธีที่ใส่ปุ๋ยอินทรีย์โรงงานมีความสูงมากที่สุด เท่ากับ 92.60, 90.20 และ 84.70 เซนติเมตร ตามลำดับ แต่ไม่มีความแตกต่างกันทางสถิติ (p>0.05) ส่วนผลผลิต พบว่าจำนวนผลสดสีแดง น้ำหนักผลสดสีแดง และน้ำหนักผลแห้ง กรรมวิธีที่ใส่ปุ๋ยอินทรีย์จากผักตบชวาที่หมักด้วยราย่อยสลายมีค่าเฉลี่ยมากที่สุด เท่ากับ 456.60 ผล, 633.75 กรัม และ 165.41 กรัม ตามลำดับ การทดลองที่ 5 การทดสอบประสิทธิภาพของผลิตภัณฑ์ปุ๋ยอินทรีย์จากผักตบชวาที่หมักด้วยราย่อยสลายระดับโรงงาน ต่อการควบคุมโรคแอนแทรคโนส และโรคเหี่ยวเหลืองพริกระดับโรงเรือน พบว่ากรรมวิธีที่ใส่ปุ๋ยอินทรีย์จากผักตบชวาที่หมักด้วยราย่อยสลาย มีเปอร์เซ็นต์การเกิดโรคบนต้น และบนผลพริกน้อยสุด เท่ากับ 10.00 และ 3.37 เปอร์เซ็นต์ ตามลำดับ และสามารถควบคุมโรคเหี่ยวเหลือง โดยมีคะแนนและเปอร์เซ็นต์การเกิดโรคน้อยที่สุด เท่ากับ 0.42 คะแนน และ 8.33 เปอร์เซ็นต์ ตามลำดับ
Description: Master of Science (M.Sc. (Agricultural Science))
วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (วท.ม. (วิทยาศาสตร์การเกษตร))
URI: http://202.28.20.112/dspace/handle/123456789/172
Appears in Collections:School of Agriculture and Natural Resources

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
60012111.pdf3.7 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.