Please use this identifier to cite or link to this item: http://202.28.20.112/dspace/handle/123456789/170
Title: Quality improvement of water hyacinth compost using Pheretima peguana earthworms as feedstock for organic fertilizer granulationproduction and the effect of fertilizers on growthand yield components of riceberry rice
การปรับปรุงคุณภาพปุ๋ยหมักผักตบชวาด้วยไส้เดือนดิน Pheretima peguanaในการผลิตปุ๋ยอินทรีย์อัดเม็ดต่อการเจริญเติบโตและองค์ประกอบของข้าวพันธุ์ไรซ์เบอร์รี่
Authors: Kotchakorn Charwwiang
กชกร ชาวเวียง
Bunraum Khitka
บุญร่วม คิดค้า
University of Phayao. School of Agriculture and Natural Resources
Keywords: ปุ๋ยหมักผักตบชวา, ไส้เดือนดิน, ปุ๋ยอินทรีย์อัดเม็ด
Water hyacinth compost Earthworm Granular organic fertilizer
Issue Date:  29
Publisher: University of Phayao
Abstract: Experiments were aimed at using tropical composting earthworm Pheretima peguana to improve the quality of water hyacinth compost as feedstock for pelletizing fertilizer. The effect of fertilizers on growth and yield components in riceberry rice was also investigated. The results showed that the excellent vermicompost characteristics was made from 7 kg of water hyacinth compost in a 30 days process in combination with 3 kg of cow manure and the worms were introduced at 500 g per square meter. The results of quality improvement of organic fertilizer pellets under laboratory conditions revealed that feedstock that provides optimal amount of organic matter 29.85%, total nitrogen 1.22%, total phosphorus 4.20%, and total potassium 3.89%, were obtained from leonardite: basalt rock powder :vermicompost production from water hyacinth :swine manure :chicken manure mixed in the ratio of 1:1:3:1:4 by weight. However, the manufacture of fertilizer obtained products with a consistently quality standard size 81.10%, contained moisture content 21.24%, pH value 7.76, electrical conductivity 3.86 dS/m, organic matter content 22.07%, C/N ratio 9.63, total nitrogen 1.34%, total phosphorus 4.94%, and total potassium 1.13%, respectively. The quality of organic fertilizer granules was found to comply with the requirement of the fertilizer Act and quality standards 1975. The production cost averaged ฿5,354.54 per ton with profit margin 49.41%. The effect of fertilizers on growth and yield components in riceberry rice was conducted under greenhouse conditions. The results showed that treatment of granule fertilizer 1,000 kg per rai produced the maximum growth and overall yield components plant height at 138 days after transplanting was 103.20 cm and grain yield per rai was up to 550.67 kg.
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อใช้ไส้เดือนดิน Pheretima peguana ในการปรับปรุงคุณภาพของปุ๋ยหมักผักตบชวา ที่ใช้เป็นวัตถุดิบในการผลิตปุ๋ยอินทรีย์อัดเม็ด รวมถึงผลของปุ๋ยที่มีต่อการเจริญเติบโตและองค์ประกอบผลผลิตของข้าวพันธุ์ไรซ์เบอร์รี่ ผลการทดลอง พบว่า การผลิตปุ๋ยหมักมูลไส้เดือนที่ใช้ผักตบชวาหมักที่ระยะเวลา 30 วัน ปริมาณ 7 กิโลกรัม ร่วมกับมูลวัว 3 กิโลกรัม และใส่ไส้เดือนดิน P. peguana อัตรา 500 กรัมต่อตารางเมตร ทำให้ได้ปุ๋ยที่มีคุณภาพโดยรวมที่ดีที่สุด โดยมีการย่อยสลายที่ค่อนข้างสมบูรณ์ ลักษณะเป็นเม็ด มีสีดำ เมื่อนำไปใช้ผสมกับวัตถุดิบชนิดอื่น ๆ ในการปรับปรุงคุณภาพปุ๋ยอินทรีย์อัดเม็ดในระดับห้องปฏิบัติการ พบว่า การผลิตปุ๋ยอินทรีย์อัดเม็ดโดยใช้แร่ลีโอนาร์ไดต์: หินบะซอลต์บดละเอียด: ปุ๋ยหมักมูลไส้เดือนจากผักตบชวา: มูลสุกร: มูลไก่ไข่ ในอัตราส่วนโดยน้ำหนัก 1:1:3:1:4 ทำให้ได้ปุ๋ยอินทรีย์อัดเม็ดที่มีคุณภาพสูง โดยมีปริมาณอินทรียวัตถุเท่ากับ 29.85 เปอร์เซ็นต์ และมีปริมาณธาตุอาหารหลัก ได้แก่ ปริมาณไนโตรเจนทั้งหมด ฟอสฟอรัสทั้งหมด และโพแทสเซียมทั้งหมด เท่ากับ 1.22, 4.20 และ 3.89 เปอร์เซ็นต์ ตามลำดับ เมื่อนำปุ๋ยที่มีส่วนผสมดังกล่าวไปผลิตในสายพานการผลิตของโรงงานที่ใช้ระบบจานปั้นเม็ด พบว่าได้ขนาดที่ได้มาตรฐาน 81.10 เปอร์เซ็นต์ มีขนาดที่ไม่ได้มาตรฐานจากกระบวนการผลิต 18.90 เปอร์เซ็นต์ คุณภาพของปุ๋ยโดยรวมมีความสม่ำเสมอ มีค่าความชื้นเท่ากับ 21.24 เปอร์เซ็นต์ ความเป็นกรด-ด่างเท่ากับ 7.76 ค่าการนำไฟฟ้าเท่ากับ 3.86 เดซิซีเมนต่อเมตร ปริมาณอินทรียวัตถุเท่ากับ 22.07 เปอร์เซ็นต์ อัตราส่วนคาร์บอนต่อไนโตรเจนเท่ากับ 9.63 ปริมาณไนโตรเจนทั้งหมดเท่ากับ 1.34 เปอร์เซ็นต์ ฟอสฟอรัสทั้งหมดเท่ากับ 4.94 เปอร์เซ็นต์ และโพแทสเซียมทั้งหมดเท่ากับ 1.13 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งได้คุณภาพที่สอดคล้องกับมาตรฐานปุ๋ยอินทรีย์ตามพระราชบัญญัติปุ๋ย พ.ศ. 2518 รวมถึงการมีต้นทุนในการผลิตปุ๋ยเท่ากับ 5,354.54 บาทต่อตัน มีอัตรากำไรต่อต้นทุน เท่ากับ 49.41 เปอร์เซ็นต์ เมื่อนำปุ๋ยที่ผลิตได้ไปใช้ในการปลูกข้าวพันธุ์ไรซ์เบอร์รี่ในระดับโรงเรือนพบว่า การใส่ปุ๋ยอินทรีย์อัดเม็ด อัตรา 1,000 กิโลกรัมต่อไร่ มีผลต่อการเจริญเติบโตและองค์ประกอบของผลผลิตโดยรวมที่ดีที่สุด โดยมีความสูงของต้นข้าวที่อายุ 138 วัน (วันเก็บเกี่ยว) เท่ากับ 103.20 เซนติเมตร และมีผลผลิตต่อไร่เท่ากับ 550.67 กิโลกรัมต่อไร่
Description: Master of Science (M.Sc. (Agricultural Science))
วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (วท.ม. (วิทยาศาสตร์การเกษตร))
URI: http://202.28.20.112/dspace/handle/123456789/170
Appears in Collections:School of Agriculture and Natural Resources

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
60012098.pdf1.12 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.