Please use this identifier to cite or link to this item: http://202.28.20.112/dspace/handle/123456789/166
Title: Guidelines for developing and raising the standard of the products under the "One Tambon One Product" Project: A case study of Phayao province
แนวทางการพัฒนาผลิตภัณฑ์ "หนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์" เพื่อยกมาตราฐานให้อยู่ในระดับที่สูงขึ้น: กรณีศึกษาจังหวัดพะเยา
Authors: Natcha Pechpinij
ณัชชา เพ็ชรพินิจ
Surachet Chiramanee
สุรเชษฐ์ ชิระมณี
University of Phayao. School of Political and Social Science
Keywords: การคัดสรร OTOP
OTOP
ผลิตภัณฑ์หนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์
การพัฒนา
OTOP
OTOP Selection
Development
One Tambon One Product
Issue Date:  24
Publisher: University of Phayao
Abstract: The study entitled "Guidelines for developing and raising the standard of the "One Tambon One Product" (OTOP): A case study of Phayao Province has an aim to seek a way to develop the products under the OTOP project in order to have a higher standard. The target participants used were 18 groups of the chairmen or the owners of the products (i.e. two groups of Muang District, two groups of Mae Chai District, one group of Dok Khamtai District, three groups of Pong District, three groups of Chiang Kham District, and seven groups of Phu Sang District). The data were obtained from structured interviews (using an in-depth interview approach) and the data analysis process was done by the use of interactive analysis and holistic analysis. Results of the data analysis suggested four possible aspects to be used to develop the OTOP's standard. They included: 1) Groups and the management within the group - the groups have to have a structure and their group management should consist of production, marketing, finance and accounting,and human resource management; 2) Members and their participation - the groups need to have a monthly meeting to brainstorm ideas, and they should participate in training to self-develop and to gain knowledge for the group's product development; 3) The assistance from public/ private sectors – beginning  with the management within the production group,  the procurement of raw materials, marketing, market seeking, price setting, accounting (by providing easy accounting instruction and requesting the group to take responsibility as well as training them to request various standards used in certification and selection; 4) Leaders who possess seven important characteristics including: 1. being honest, sincere, and straightforward 2. being flexible and always be open to listen to others' opinions; 3. being prepared for themselves and other members; 4. being passionate to learn;  5. being encouraged to decide and knowing how to deal with conflicts; 6. having a vision; and 7. being concerned about public interests. From the results received, this study has some suggestions for the OTOP products that have the same and lower standard levels. That is, there should be a study concerning more about the groups; their administration within the group, their learning and members' participation, different supports that they received from public/ private sectors, and their development of entrepreneurs to have the seven characteristics of the leaders as mentioned above.
การศึกษาเรื่อง แนวทางการพัฒนาผลิตภัณฑ์ “หนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์” เพื่อยกระดับมาตรฐานให้อยู่ในระดับที่สูงขึ้น: กรณีศึกษาจังหวัดพะเยา มีวัตถุประสงค์ 1 ประการ คือ เพื่อหาแนวทางการพัฒนาผลิตภัณฑ์“หนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์”เพื่อยกมาตรฐานให้อยู่ในระดับที่สูงขึ้น ประชากรที่ใช้ศึกษาครั้งนี้ได้แก่ ประธานหรือเจ้าของผลิตภัณฑ์ชุมชนเจ้าของรายเดียว จำนวน 18 กลุ่ม แบ่งเป็น อำเภอเมือง 2 กลุ่ม อำเภอแม่ใจ 2 กลุ่ม อำเภอดอกคำใต้ 1 กลุ่ม อำเภอปง 3 กลุ่ม อำเภอเชียงคำ 3 กลุ่ม และอำเภอภูซาง 7  กลุ่ม การศึกษาครั้งนี้ใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพการเก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้างทำการสัมภาษณ์แบบเจาะลึก (Indepth Intviews) การวิเคราะห์แบบมีปฏิสัมพันธ์ (Interactive) และแบบองค์รวม(Holistic) ผลการศึกษาพบว่า แนวทางการพัฒนาผลิตภัณฑ์ “หนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์”เพื่อยกมาตรฐานให้อยู่ในระดับที่สูงขึ้น นั้นมีอยู่ 4 ด้าน ได้แก่ 1) กลุ่มและการบริหารจัดการภายในกลุ่ม โดยกลุ่มจะเป็นกลุ่มมีโครงสร้างมีการบริหารจัดการกลุ่มประกอบด้วยการผลิต การตลาด การเงินและการบัญชี และการจัดการทรัพยากรบุคคล 2) สมาชิกและการมีส่วนร่วมของสมาชิก โดยกลุ่มจะมีการประชุมกันภายในทุกเดือนเพื่อระดมความคิด และจะมีการเข้าร่วมการฝึกอบรม การศึกษาดูงานเพื่อพัฒนาตนเองและนำความรู้มาพัฒนาผลิตภัณฑ์ของกลุ่ม 3) การช่วยเหลือจากภาครัฐ/เอกชนเริ่มตั้งแต่การบริหารจัดการภายในกลุ่มด้านการผลิต การจัดหาวัตถุดิบการออกแบบบรรจุภัณฑ์ การตลาด ช่องทางการจำหน่าย การตั้งราคา และการบัญชีโดยจะมีการสอนจัดทำบัญชีอย่างง่ายโดยให้สมาชิกในกลุ่มเป็นผู้รับผิดชอบ รวมไปถึงการอบรมเพื่อขอมาตรฐานการรับรองต่าง ๆ เพื่อใช้ในการคัดสรร 4) ผู้นำจะประกอบด้วยลักษณะที่สำคัญ 7 ประการ คือ 1. มีความซื่อสัตย์จริงใจ 2. มีความยืดหยุ่นพร้อมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่นเสมอ 3. มีการเตรียมพร้อมให้กับตนเองและสมาชิก 4. รักการเรียนรู้ 5.กล้าตัดสินใจ รู้จักที่จะแก้ปัญหาความขัดแย้ง 6. มีวิสัยทัศน์ 7. การเห็นแก่ประโยชน์ส่วนรวม ข้อเสนอแนะจากการศึกษาคือ แนวการพัฒนาสำหรับผลิตภัณฑ์ "หนึ่งตำบล  หนึ่งผลิตภัณฑ์" ที่มีระดับมาตรฐานอยู่ในระดับเท่าเดิมและมาตรฐานที่ลดลงนั้น ควรมีการศึกษาเกี่ยวกับกลุ่มและการบริหารงานภายในกลุ่ม การเรียนรู้และการมีส่วนร่วมของสมาชิกการสนับสนุนจากหน่วยงานภาครัฐ/เอกชนในด้านต่าง ๆ และพัฒนาผู้ประกอบการให้มีลักษณะของผู้นำ 7 ประการตามข้างที่กล่าวมา 
Description: Master of Public Administration (M.P.A. (Public Policy))
รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต (รป.ม. (นโยบายสาธารณะ))
URI: http://202.28.20.112/dspace/handle/123456789/166
Appears in Collections:School of Political and Social Science

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
60213619.pdf2.22 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.