Please use this identifier to cite or link to this item:
http://202.28.20.112/dspace/handle/123456789/155
Title: | Contract Farming : A Case Study of the Farmers of Laying Hens in Phayao เกษตรพันธสัญญา : กรณีศึกษาเกษตรกรผู้เลี้ยงไก่ไข่ในจังหวัดพะเยา |
Authors: | Kotchamon Srikumpa กชมน ศรีคำภา Prayong Jandaeng ประยงค์ จันทร์แดง University of Phayao. School of Political and Social Science |
Keywords: | เกษตรพันธสัญญา, ผู้เลี้ยงไก่ไข่ในจังหวัดพะเยา Contract Farming Farmers of Laying Hens in Phayao |
Issue Date: | 6 |
Publisher: | University of Phayao |
Abstract: | This research aimed at studying the contexts relating the contract farming of the farmers of laying hens in Phayao and their success, and comparing factors affecting the success of the contract farming and the independent farming. The sample groups were those 31 farmers who were contract farmers and independent farmers registered by the Phayao Livestock Office and 20 samples with relation to the mentioned farmers. Having compared the two aforesaid groups, it was found that the farmers have their own resources. For knowledge and experience, the farmers, both contract farmers and independent farmers have more knowledge and experience in a high level average 4.107 and 3.56. For raising the hens, the farmers shared knowledge and experience in a high level average 4.00 and 3.78, respectively. For the accounting management, the farmers shared the medium level of satisfaction in average 2.70 and 2.81, respectively. For the application of the traditional knowledge, the contract farmers employed the traditional knowledge in a medium level average 3.125 and the independent farmers in less level average 2.575. For the supports provided by the government sector and the financial institution, the contract farmers satisfied in the highest level of average 4.20, whereas the independent in a high level average 3.258. For the care taken by the company concerned, the contract farmers reflected the highest level of satisfaction average 5.00, whereas the independent farmers in a high level average 3.57. For the income obtained from the farming, the farmers shared a high level of satisfaction average 3.79, whereas the independent farmers in a medium level average 2.76. For the risks in raising the hens, the farmers shared the medium level of the risks average 2.75 and 2.83, respectively. And for the satisfaction in raising the hens, the contract farmers satisfied in a high level average 3.60, whereas the independent farmers in a medium level average 2.79. งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาบริบทที่เกี่ยวข้องกับการทำเกษตรพันธสัญญาของผู้เลี้ยงไก้ไข่ และผลสำเร็จของเกษตรกรผู้เลี้ยงไก่ไข่ในจังหวัดพะเยา และเพื่อเปรียบเทียบปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความสำเร็จของเกษตรกรผู้เลี้ยงไก่ไข่แบบพันธสัญญาและแบบอิสระในจังหวัดพะเยา กลุ่มตัวอย่างได้แก่ฟาร์มเลี้ยงไก่ไข่ทั้งแบบพันธสัญญาและแบบอิสระที่ขึ้นทะเบียนกับปศุสัตว์จังหวัดพะเยา จำนวน 31 แห่ง และผู้ที่เกี่ยวกับการเลี้ยงไก่ไข่จำนวน 20 ตัวอย่าง เมื่อเปรียบเทียบการเลี้ยงไก่ไข่แบบพันธสัญญากับการเลี้ยงไก่ไข่แบบอิสระพบว่า เกษตรกรผู้เลี้ยงไก่ไข่แบบพันธสัญญาและแบบอิสระมีทรัพยากรเป็นของตนเอง ด้านความรู้และประสบการณ์ เกษตรกรผู้เลี้ยงไก่ไข่แบบพันธสัญญาและเกษตรกรผู้เลี้ยงไก่ไข่แบบอิสระ มีความรู้และประสบการณ์ในระดับมาก โดยมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.107 และ 3.56 ตามลำดับ ด้านการจัดเลี้ยงไก่ไข่ พบว่า เกษตรกรผู้เลี้ยงไก่ไข่แบบพันธสัญญาและเกษตรกรผู้เลี้ยงไก่ไข่แบบอิสระมีการจัดการเลี้ยงไก่ไข่ในระดับมาก โดยมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.00 และ 3.78 ตามลำดับ ด้านการจัดการบัญชี พบว่าเกษตรกรผู้เลี้ยงไก่ไข่แบบพันธสัญญา และเกษตรกรผู้เลี้ยงไก่ไข่แบบอิสระ มีการจัดการบัญชีในระดับปานกลาง โดยมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 2.70 และ 2.814 ตามลำดับ ด้านการใช้ภูมิปัญญา พบว่าเกษตรกรผู้เลี้ยงไก่ไข่แบบพันธสัญญา มีการใช้ภูมิปัญญาในระดับปานกลาง โดยมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.125 ส่วนเกษตรกรผู้เลี้ยงไก่ไข่แบบอิสระมีการใช้ภูมิปัญญาในระดับน้อย โดยมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 2.575 ด้านการส่งเสริมการเลี้ยงไก่ไข่จากหน่วยงานของรัฐและสถาบันการเงิน พบว่าผู้เลี้ยงไก่ไข่แบบพันธสัญญามีความพึงพอใจเกี่ยวกับการส่งเสริมการเลี้ยงไก่ไข่จากหน่วยงานของรัฐและสถาบันการเงินในระดับมากที่สุด โดยมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.20 ส่วนเกษตรกรผู้เลี้ยงไก่ไข่แบบอิสระมีความพึงพอใจเกี่ยวกับการส่งเสริมการเลี้ยงไก่ไข่จากหน่วยงานของรัฐและสถาบันการเงินระดับมาก โดยมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.258 ด้านความพึงพอใจเกี่ยวกับการดูแลของบริษัท พบว่าเกษตรกรผู้เลี้ยงไก่ไข่แบบพันธสัญญามีความพึงพอใจเกี่ยวกับการดูแลของบริษัทในระดับมากที่สุด โดยมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 5.00 ส่วนเกษตรกรผู้เลี้ยงไก่ไข่แบบอิสระมีความพึงพอใจเกี่ยวกับการดูแลของบริษัทระดับมาก โดยมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.57 ด้านผลตอบแทนที่เกษตรกรได้รับ พบว่าเกษตรกรผู้เลี้ยงไก่ไข่แบบพันธสัญญามีความพึงพอใจเกี่ยวกับด้านผลตอบแทนที่เกษตรได้รับในระดับมาก โดยมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.79 ส่วนเกษตรกรผู้เลี้ยงไก่ไข่แบบอิสระมีความพึงพอใจเกี่ยวกับด้านผลตอบแทนที่เกษตรได้รับในระดับปานกลาง โดยมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 2.76 ด้านความเสี่ยงของเกษตรกร พบว่าเกษตรกรผู้เลี้ยงไก่ไข่แบบพันธสัญญาและเกษตรกรผู้เลี้ยงไก่ไข่แบบอิสระมีความเสี่ยงในระดับปานกลาง โดยมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 2.75 และ 2.83 ตามลำดับ ด้านความพึงพอใจในการเลี้ยงไก่ไข่แบบเกษตรพันธสัญญา พบว่าเกษตรกรผู้เลี้ยงไก่ไข่แบบพันธสัญญามีความพึงพอใจในการเลี้ยงไก่ไข่แบบเกษตรพันธสัญญาระดับมาก โดยมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.60 ส่วนเกษตรกรผู้เลี้ยงไก่ไข่แบบอิสระมีความพึงพอใจในการเลี้ยงไก่ไข่แบบเกษตรพันธสัญญาในระดับปานกลาง โดยมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 2.79 |
Description: | Master of Arts (M.A. (Social Development Administration)) ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต (ศศ.ม. (การบริหารการพัฒนาสังคม)) |
URI: | http://202.28.20.112/dspace/handle/123456789/155 |
Appears in Collections: | School of Political and Social Science |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
59214887.pdf | 2.56 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.