Please use this identifier to cite or link to this item: http://202.28.20.112/dspace/handle/123456789/144
Title: Toward the Management of Sustainable Cultural Tourism: A case Study of Ban Na Ton Chan,Ban Tuek,Si Satchanalai District SuKhothai Province
การจัดการการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมอย่างยั่งยืน: กรณีศึกษา บ้านนาต้นจั่น ตำบลบ้านตึก อำเภอศรีสัชนาลัย จังหวัดสุโขทัย
Authors: Nichada Wisetkart
ณิชาดา วิเศษกาศ
Chaiyan Rajchagool
ไชยันต์ รัชชกูล
University of Phayao. School of Political and Social Science
Keywords: การท่องเที่ยวชุมชน, การท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน, บ้านนาต้นจั่น
Community tourism sustainable tourism Ban Na Ton Chan
Issue Date:  6
Publisher: University of Phayao
Abstract: This research was a qualitative study aimed at studying the management approach. Sustainable cultural tourism and Cultural Management of Ban Na Ton Chan with network concepts (Network) Governance Sisatchanalai District Sukhothai Province by in-depth interview. The research population was composed of 10 leaders of the community, 1 person of educational administration, 1 personofDeputy Director of Tourism Authority of Thailand, 1 person of Academic culture expert at Sukhothai Province,total of 13 people were analyzed. The theory related to cultural tourism. Theory of Cultural Tourism Management Theory of Sustainable Development Network management is a concept used in data analysis. Data triangulation is used to analyze data. The study indicated that Sustainable Cultural Tourism Management Case Study Ban Na Ton Chan, Tumbon Bantuek Si Satchanalai District Sukhothai Province was found to manage sustainable cultural tourism. It has the potential to manage all aspects of sustainable cultural tourism. Tourism resources The service and quality experience for tourists. Tourism Management and community participation for the cultural tourism management of Ban Na Ton Chan with the concept of network management (Network Governance)
การศึกษาครั้งนี้เป็นการศึกษาเชิงคุณภาพ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแนวทางการจัดการ การท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมอย่างยั่งยืน และการจัดการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมของบ้านนาต้นจั่น ตำบลบ้านตึก อำเภอศรีสัชนาลัย จังหวัดสุโขทัย ด้วยแนวคิดแบบเครือข่าย (Network Governance) โดยการสัมภาษณ์เชิงลึก ประชากรที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ผู้นำชุมนุมชนท่องเที่ย บ้านนาต้นจั่น 7 คน ผู้ใหญ่บ้าน 1 คน นักบริหารงานการศึกษา 1 คน รองผู้อำนวยการสำนักงานการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย สำนักงานสุโขทัย 1 คน และนักวิชาการวัฒนธรรมชำนาญการ จังหวัดสุโขทัย 1 คน รวมทั้งสิ้นจำนวน 11 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยแยกประเด็นตามขอบเขของเนื้อหา โดยการนำทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม  ทฤษฎีที่เกี่ยวกับการจัดการการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม ทฤษฎีด้านการพัฒนาพื้นที่อย่างยั่งยืน รวมถึงการบริหารจัดการแบบแนวคิด Network Governance มาประยุกต์ใช้ในการวิเคราะห์การจัดกระทำข้อมูลจะใช้วิธีการตรวจสอบข้อมูลแบบสามเส้า (Data Triangulation) ผลการศึกษา พบว่า การจัดการการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมอย่างยั่งยืน: กรณีศึกษาบ้านนาต้นจั่น ตำบลบ้านตึก อำเภอศรีสัชนาลัย จังหวัดสุโขทัย พบว่า แนวทางการจัดการการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมอย่างยั่งยืนบ้านนาต้นจั่น มีศักยภาพในการจัดการการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมอย่างยั่งยืนทุกด้าน ได้แก่ ด้านทรัพยากรทาง การท่องเที่ยว ด้านการบริการและการให้ประสบการณ์ที่มีคุณภาพแก่นักท่องเที่ยวด้านการบริหารจัดการ การท่องเที่ยว และด้านการมีส่วนร่วมของชุมชน สำหรับการจัดการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมด้วยแนวคิดการจัดการภาครัฐแบบเครือข่าย (Network Governance) นั้น กลุ่มการจัดการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมบ้านนาต้นจั่น ยังไม่มีความรู้ในด้านการบริหารแบบเครือข่ายของรัฐ จึงไม่ได้เข้าร่วมกลุ่มการท่องเที่ยวแบบเครือข่าย ทำให้การจัดการ การท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมดังกล่าว ดำเนินการโดยชุมชนที่มีผู้นำที่เข้มแข็งสามารถบริหารจัดการได้อย่างเป็นระบบมากว่าสิบปี และกลุ่มการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมอย่างยั่งยืนบ้านนาต้นจั่นยังมีแนวคิดที่จะพัฒนางาน โดยยึดแนวคิดการจัดการภาครัฐแบบเครือข่าย (Network Governance) เพื่อให้เกิดความร่วมมือของหน่วยงานทุกภาคส่วนต่อไป  
Description: Master of Public Administration (M.P.A. (Public Policy))
รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต (รป.ม. (นโยบายสาธารณะ))
URI: http://202.28.20.112/dspace/handle/123456789/144
Appears in Collections:School of Political and Social Science

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
59214135.pdf2.4 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.