Please use this identifier to cite or link to this item: http://202.28.20.112/dspace/handle/123456789/143
Title: FACTORS AFFECTING JOB PERFORMANCE MOTIVATION OF THE GENERATION Y GROUP IN PHAYAO PROVINCIAL ADMINISTRATION ORGANIZATION
ปัจจัยที่ส่งผลต่อแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของบุคลากรกลุ่มเจนเนอเรชันวายในองค์การบริหารส่วนจังหวัดพะเยา อำเภอเมืองพะเยา จังหวัดพะเยา
Authors: Natthapa Kuanwang
ณัฐธภา เขื่อนวัง
Raksi Kiattibutra
รักษ์ศรี เกียรติบุตร
University of Phayao. School of Political and Social Science
Keywords: แรงจูงใจในการปฏิบัติงาน
พนักงาน
ปัจจัยจูงใจ
ปัจจัยค้ำจุน
Job Motivation
Employees
Motivation Factors
Supporting Factors
Issue Date:  24
Publisher: University of Phayao
Abstract: This study aimed to study 1) factors affecting job performance motivation of Generation Y group in Phayao provincial administration organization (Phayao PAO)  2)   problems and obstacles affecting work motivation of Generation Y personnel in Phayao PAO, and 3) to find a suggestion for creating motivation of Generation Y group in Phayao PAO. This study was a quantitative study that collected data from various documents, both theoretical concepts, related research, and factors that affected the motivation of personnel performance. A questionnaire was used as an instrument for data collection. Statistics used in data analysis were frequency, percentage, mean and standard deviation. The purposive samplings were 48 civil servants, and 104 Phayao PAO personnel, totaling 152 persons. The results of this study revealed that factors affecting job performance motivation of Generation Y group in the Phayao PAO were rated at a high level ( = 3.77). When considering each factor in detail with motivation factors, it was found that the personal succession in working was rated the highest level ( = 4.07). Job advancement was at the lowest level ( = 3.30). The supporting factors showed that the working environment and private living conditions were at the highest level (= 3.94), and the compensation and welfare were at the lowest level (= 3.45) The hypothesis testing found that Generation Y officers and employees in the Phayao PAO, who have personal characteristics in different statuses. This affects the motivation factor and supporting factors in the operation that was not different. The Sig value of each side was greater than the statistically significant level at 0.05. The problems and obstacle affecting factors affecting the working motivation of the Generation Y group in Phayao PAO were the problem Y personnel performance, personal development, and lack of working equipment.
การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของบุคลากรกลุ่มเจนเนอเรชั่นวาย เพื่อศึกษาปัญหา อุปสรรคที่ส่งผลต่อแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของบุคลากรกลุ่มเจนเนอเรชั่นวายในองค์การบริหารส่วนจังหวัดพะเยา และเพื่อเสนอแนะแนวทางการสร้างแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของบุคลากรกลุ่มเจนเนอเรชั่นวายในองค์การบริหารส่วนจังหวัดพะเยา ซึ่งเป็นการศึกษาเชิงปริมาณโดยรวบรวมข้อมูลจากเอกสารต่างๆทั้งที่เป็นทฤษฎี แนวคิด และงานวิจัยที่เกี่ยวข้องปัจจัยที่ส่งผลต่อแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของบุคลากร เครื่องมือที่ใช้ ได้แก่ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติที่ใช้ทดสอบสมมติฐาน และทดสอบความแปรปรวน ได้แก่ ค่า T test ใช้ในการทดสอบการเปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างค่าเฉลี่ยของตัวแปรอิสระที่มีการแบ่งกลุ่มเป็น 2 กลุ่ม  ค่า F test ใช้ในการทดสอบความเปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างค่าเฉลี่ยของตัวแปรที่มีการแบ่งกลุ่มมากกว่า 2 กลุ่มขึ้นไป และการทดสอบสมมติฐานใช้สถิติ One Way Anova กลุ่มประชากรที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ได้แก่ กลุ่มประชากรเจนเนอเรชั่นวายทั้งหมดในองค์การบริหารส่วนจังหวัดพะเยา เป็นกลุ่มข้าราชการ จำนวน 48 คน และพนักงานจ้าง จำนวน 104 คน รวมทั้งสิ้น 152 คน ผลการศึกษา พบว่า แรงจูงใจในการปฏิบัติงานของบุคลากรกลุ่มเจนเนอเรชั่นวายในองค์การบริหารส่วนจังหวัดพะเยาในภาพรวม อยู่ในระดับมาก (= 3.77) จากการวิเคราะห์รายด้าน 5 ด้าน มีปัจจัยจูงใจในการปฏิบัติงานรายด้าน พบว่าด้านความสำเร็จในการทำงานของบุคคล อยู่ในระดับมากที่สุด (= 4.07) และด้านความก้าวหน้าในหน้าที่การงานอยู่ในระดับน้อยที่สุด (= 3.30) สำหรับปัจจัยค้ำจุนในการปฏิบัติงาน พบว่า ด้านสภาพการทำงานความเป็นอยู่ส่วนตัว อยู่ในระดับมากที่สุด (= 3.94) และด้านค่าตอบแทนและสวัสดิการอยู่ในระดับน้อยที่สุด (= 3.45) ทั้งนี้ผลการทดสอบสมมติฐาน พบว่า ข้าราชการและพนักงานจ้างกลุ่มเจนเนอเรชั่นวายในองค์การบริหารส่วนจังหวัดพะเยา ที่มีลักษณะส่วนบุคคลด้านสถานภาพที่แตกต่างกันมีผลต่อระดับปัจจัยจูงใจและปัจจัยค้ำจุนในการปฏิบัติงานที่ไม่แตกต่างกัน เนื่องจากค่า Sig ของแต่ละด้านมีค่ามากกว่าค่าระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.05 สำหรับปัญหาและอุปสรรค ที่ส่งผลต่อปัจจัยที่ส่งผลต่อแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของบุคลากรกลุ่มเจนเนอเรชั่นวาย พบว่ามีปัญหาด้านผลการปฏิบัติงาน การส่งบุคลากรเข้ารับการอบรม การจัดซื้อเครื่องมือและอุปกรณ์ในการปฏิบัติงาน  ข้อเสนอแนะจากการวิจัย คือ องค์การบริหารส่วนจังหวัดพะเยา ปรับปรุง ส่งเสริมและพัฒนางาน ให้สอดคล้องกับปัญหาดังกล่าวเพื่อเสริมให้เกิดแรงจูงใจในการปฏิบัติงานให้แก่บุคลากรให้ดียิ่งขึ้น
Description: Master of Public Administration (M.P.A. (Public Policy))
รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต (รป.ม. (นโยบายสาธารณะ))
URI: http://202.28.20.112/dspace/handle/123456789/143
Appears in Collections:School of Political and Social Science

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
59214124.pdf1.41 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.