Please use this identifier to cite or link to this item: http://202.28.20.112/dspace/handle/123456789/128
Title: The study of Transformational leadership of School Administrators,Sut Tin Thai Consortium, Secondary Educational Service Area Office 36
การศึกษาภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษา สหวิทยาเขตสุดถิ่นไทย สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 36
Authors: Lanna Maplook
ล้านนา มาปลูก
Thidawan Unkong
ธิดาวัลย์ อุ่นกอง
University of Phayao. School of Education
Keywords: ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง
Transformational Leadership
Issue Date:  24
Publisher: University of Phayao
Abstract: The purposes of this research were to examine the state of Transformational Leadership and to find out the problems and suggestions of Transformational Leadership of School Administrators, Sut Tin Thai Consortium, Secondary Education Service Area Office 36. The sample consisted of 210 teachers, Sut Tin Thai Consortium, Secondary Education Service Area Office 36. The research instrument was google form which was 5 leveled rating scale questionnaire. Data was analyzed using percentage, mean and standard deviation. The findings indicated that. 1) Transformational Leadership of School Administrators was rated at a high level as a whole and for each aspect. The highest average was the Inspirational Motivation. Follow by Charisma and Encouraging continuous development. The lowest average was Individualized Consideration. 2) The problems and suggestions of Transformational Leadership of School Administrators, Considering the finding that Individualized Consideration, School Administrators is biased in solving problems. They were friendliness. The teachers were not able to consult as much as they could because they were afraid. And recognize the needs of only one group of teachers which School Administrators made them be inequality. The suggestions, Administrators should create standards of honesty in teachers’work. Because it is directly affecting personal characteristics And still have a continuous effect on the school as a whole In addition, school administrators should be leaders to provide a good moral model for teachers. And Contingent Reward, when teachers got the reward for the school. School Administrators often praise with only their partisans. And teachers be missing motivation work because School Administrators did not give  something that the teachers want. The suggestions, School administrators should give compliments and value the work, success of teachers by empowering teachers regularly.  
การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง และเพื่อศึกษาปัญหาและข้อเสนอแนะภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษา สหวิทยาเขตสุดถิ่นไทย สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 36 กลุ่มตัวอย่าง คือ ครู สหวิทยาเขตสุดถิ่นไทย สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 36 จำนวน 210 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามออนไลน์ เป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัย พบว่า 1) ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษา สหวิทยาเขตสุดถิ่นไทย สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 36 มีระดับภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษา ในภาพรวมอยู่ในระดับมากทุกด้าน ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ด้านการสร้างแรงบันดาลใจ รองลงมา คือ ด้านการสร้างบารมี ด้านการส่งเสริมให้พัฒนางานอย่างต่อเนื่อง ส่วนด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด คือ ด้านการคำนึงถึงความเป็นเอกัตถะบุคคล 2) ปัญหาและข้อเสนอแนะเกี่ยวกับภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษา สหวิทยาเขตสุดถิ่นไทย สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 36 เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านที่มีปัญหาและข้อเสนอแนะ ได้แก่ ด้านการคำนึงถึงความเป็นเอกัตถะบุคคล ปัญหา คือ เมื่อประสบปัญหา ผู้บริหารเกิดความลำเอียงในการแก้ไขปัญหา ผู้บริหารขาดความเป็นกันเอง ครูไม่สามารถเข้าไปปรึกษาในเรื่องต่าง ๆ ได้เท่าที่ควรเพราะมีความเกรงกลัว และรับรู้ความต้องการของครูเพียงกลุ่มหนึ่งเท่านั้น ซึ่งทำให้เกิดความเหลื่อมล้ำในการทำงาน ส่วนข้อเสนอแนะ คือ ผู้บริหารควรสร้างมาตรฐานด้านความซื่อสัตย์ในการทำงานให้กับครู เพราะเป็นสิ่งที่ส่งผลโดยตรงต่อคุณลักษณะส่วนบุคคล และยังมีผลต่อเนื่องไปยังสถานศึกษาในภาพรวม นอกจากนี้ผู้บริหารสถานศึกษาควรเป็นผู้นำให้การเป็นต้นแบบที่ดีงามทางด้านศีลธรรมแก่ครู และด้านการให้รางวัลตามสถานการณ์ ปัญหา คือ เมื่อมีครูสร้างชื่อเสียงให้กับโรงเรียน ผู้บริหารมักจะกล่าวชมเฉยเฉพาะบุคคลที่เป็นพรรคพวกของตน และละเลยที่จะให้รางวัลหรือคำชมเชยกับครูคนอื่น และครูขาดแรงจูงใจในการปฏิบัติงาน เพราะสิ่งที่ผู้บริหารจะมอบให้เมื่องานสำเร็จไม่ใช่สิ่งที่ครูต้องการ ส่วนข้อเสนอแนะ คือ ผู้บริหารควรให้คำยกย่องชมเชยและให้คุณค่ากับผลงานความสำเร็จของครูโดยเสริมพลังอำนาจแก่ครูอย่างสม่ำเสมอ
Description: Master of Education (M.Ed. (Educational Administration))
การศึกษามหาบัณฑิต (กศ.ม. (การบริหารการศึกษา))
URI: http://202.28.20.112/dspace/handle/123456789/128
Appears in Collections:School of Education

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
60170161.pdf1.1 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.