Please use this identifier to cite or link to this item:
http://202.28.20.112/dspace/handle/123456789/1196
Title: | Factors Affecting Blood Pressure Control in Patientswith Uncontrolled Hypertension ปัจจัยที่มีผลต่อการควบคุมความดันโลหิตในผู้ป่วยที่มีภาวะความดันโลหิตสูงที่ไม่สามารถควบคุมได้ |
Authors: | Pannipha Tomduangkaew พรรณณิภา ต่อมดวงแก้ว paralee Opasanant ปะราลี โอภาสนันท์ University of Phayao paralee Opasanant ปะราลี โอภาสนันท์ paralee.op@up.ac.th paralee.op@up.ac.th |
Keywords: | ปัจจัย ระดับความดันโลหิต ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง การควบคุมความดันโลหิต ผู้ป่วยที่มีภาวะความดันโลหิตสูงที่ไม่สามารถควบคุมได้ Factors Blood Pressure Level Hypertensive Patients Blood pressure control Patients with uncontrolled hypertension |
Issue Date: | 15 |
Publisher: | University of Phayao |
Abstract: | This cross-sectional study aimed to study the factors affecting blood pressure control in patients with uncontrolled hypertension. Data were collected from patients who received services at the Chronic Disease Clinic, Nakornping Hospital, Chiang Mai Province. The sample consisted of 294 patients who were diagnosed with uncontrolled hypertension for at least 6 months, calculated using the OpenEpi Version 3.01 program. A systematic random sampling method was used to select the sample. The instrument used for data collection was a questionnaire divided into 2 main parts: (1) Unchangeable factors, consisting of personal data such as gender, age, education level, and family history of genetic diseases such as hypertension and diabetes. (2) Changeable factors, including social status, health status, risky behaviors such as diet, exercise, smoking, alcohol consumption, treatment behaviors, social support, access to health services, knowledge about hypertension, and perception of the risk of complications of hypertension. Data were analyzed using descriptive statistics and multiple logistic regression. It was found that most patients (54.08%) were female, with a mean age of 60.17 years, and had a family history of diabetes or hypertension up to 60.88%. Up to 36.73% of patients had uncontrolled hypertension. Factors affecting blood pressure control in patients were divided into 2 main groups: (1) non-modifiable factors: age 35-59 years, which has a higher risk of blood pressure control (AOR = 3.33, 95% CI: 1.09-10.18); and (2) 7 modifiable factors: civil servant/state enterprise medical treatment rights (AOR = 3.47, 95% CI: 1.43-8.46), trading or private business (AOR = 0.23, 95% CI: 1.43-8.46), and having chronic kidney disease (AOR = 0.45, 95% CI: 0.22-0.92), eating behavior of sweet-salty-fatty foods (AOR = 0.30, 95% CI: 0.15-0.62), lack of exercise or physical movement (AOR = 0.12, 95% CI: 0.05-0.30), low knowledge about hypertension (AOR = 0.19, 95% CI: 0.07-0.47), and perception of risk of complications at moderate and low levels (AOR = 0.14, 95% CI: 0.04-0.56 and AOR = 0.05, 95% CI: 0.01-0.28, respectively). This study recommends that healthcare providers assess patient-related factors to design appropriate care guidelines, emphasizing that patients change health behaviors to control blood pressure and reduce the risk of complications. การวิจัยแบบภาคตัดขวางนี้ (Cross-Sectional Study) มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อ การควบคุมความดันโลหิตในผู้ป่วยที่มีภาวะความดันโลหิตสูงที่ควบคุมไม่ได้ โดยเก็บข้อมูลจากผู้ป่วยที่มารับบริการ ณ คลินิกโรคเรื้อรัง โรงพยาบาลนครพิงค์ จังหวัดเชียงใหม่ กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ป่วยที่ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคความดันโลหิตสูงที่ไม่สามารถควบคุมได้มาอย่างน้อย 6 เดือน มีขนาดกลุ่มตัวอย่างจำนวน 294 ราย โดยคำนวณจากโปรแกรม OpenEpi Version 3.01 ใช้วิธีการสุ่มอย่างเป็นระบบในการคัดเลือกกลุ่มตัวอย่าง เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลเป็นแบบสอบถามที่แบ่งออกเป็น 2 ส่วนหลัก ได้แก่ (1) ปัจจัยที่ไม่สามารถเปลี่ยนแปลงได้ ซึ่งประกอบด้วย ข้อมูลส่วนบุคคล ได้แก่ เพศ อายุ ระดับการศึกษา และประวัติครอบครัวเกี่ยวกับโรคทางพันธุกรรม ได้แก่ โรคความดันโลหิตสูง และเบาหวาน (2) ปัจจัยที่สามารถเปลี่ยนแปลงได้ ได้แก่ สถานะทางสังคม สถานะสุขภาพ พฤติกรรมเสี่ยงต่าง ๆ ได้แก่ การรับประทานอาหาร การออกกำลังกาย การสูบบุหรี่ การดื่มแอลกอฮอล์ พฤติกรรมการรักษา แรงสนับสนุนทางสังคม การเข้าถึงบริการสุขภาพ ความรู้เกี่ยวกับโรคความดันโลหิตสูง และการรับรู้ความเสี่ยงต่อภาวะแทรกซ้อนของโรคความดันโลหิตสูง วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติพรรณนาและ การถดถอยพหุโลจิสติก (Multiple Logistic Regression) พบว่าผู้ป่วยส่วนใหญ่ร้อยละ 54.08 เป็นเพศหญิง อายุเฉลี่ย 60.17 ปี และมีประวัติครอบครัวที่เป็นโรคเบาหวานหรือความดันโลหิตสูงถึงร้อยละ 60.88 โดยมีผู้ป่วยที่มีภาวะความดันโลหิตสูงที่ไม่สามารถควบคุมได้ถึงร้อยละ 36.73 ปัจจัยที่ส่งผลต่อการควบคุมความดันโลหิตในผู้ป่วยแบ่งออกเป็น 2 กลุ่มหลัก ได้แก่ (1) ปัจจัยที่ไม่สามารถเปลี่ยนแปลงได้ ได้แก่ อายุ 35-59 ปี มีความเสี่ยงสูงขึ้นในการควบคุมความดันโลหิต (AOR=3.33, 95% CI: 1.09-10.18) และ (2) ปัจจัยที่สามารถเปลี่ยนแปลงได้ 7 ปัจจัย ได้แก่ สิทธิการรักษาพยาบาลข้าราชการ/รัฐวิสาหกิจ (AOR = 3.47, 95% CI: 1.43-8.46) อาชีพค้าขายหรือธุรกิจส่วนตัว (AOR = 0.23, 95% CI: 1.43-8.46) การมีโรคไตเรื้อรังร่วม (AOR = 0.45, 95% CI: 0.22-0.92) พฤติกรรมการรับประทานอาหารหวาน-มัน-เค็ม (AOR = 0.30, 95% CI: 0.15-0.62) การไม่ออกกำลังกายหรือเคลื่อนไหวร่างกาย (AOR = 0.12, 95% CI: 0.05-0.30) ความรู้เกี่ยวกับโรคความดันโลหิตสูงในระดับต่ำ (AOR = 0.19, 95% CI: 0.07-0.47) และการรับรู้ความเสี่ยงต่อภาวะแทรกซ้อน ในระดับปานกลาง และต่ำ (AOR = 0.14, 95% CI: 0.04-0.56 และ AOR = 0.05, 95% CI: 0.01-0.28 ตามลำดับ) จากการศึกษานี้ แนะนำให้ผู้ให้บริการทางสุขภาพประเมินปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับผู้ป่วย เพื่อออกแบบแนวทางการดูแล ที่เหมาะสม โดยเน้นให้ผู้ป่วยปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพเพื่อควบคุมความดันโลหิต และลดความเสี่ยงของ ภาวะแทรกซ้อน |
URI: | http://202.28.20.112/dspace/handle/123456789/1196 |
Appears in Collections: | School of Nursing |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
64041320.pdf | 2.13 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.