Please use this identifier to cite or link to this item:
http://202.28.20.112/dspace/handle/123456789/1190
Title: | Impact assessment of PM2.5 on public health in Upper North Thailand during 2019 การประเมินผลกระทบของ PM2.5 ต่อสุขภาพประชาชนภาคเหนือตอนบน ประเทศไทยในปี 2562 |
Authors: | Rawiwan Innoi รวิวรรณ อินน้อย Sittichai Pimonsree สิทธิชัย พิมลศรี University of Phayao Sittichai Pimonsree สิทธิชัย พิมลศรี sittichai.pi@up.ac.th sittichai.pi@up.ac.th |
Keywords: | ฝุ่นละออง PM2.5 ประเมินผลกระทบต่อสุขภาพ ภาคเหนือตอนบน PM2.5 Health impact assessment Upper Northern |
Issue Date: | 29 |
Publisher: | University of Phayao |
Abstract: | Air quality problem has been found for long time in northern Thailand. The daily average PM2.5 concentrations are frequently higher than the World Health Organization (WHO) air quality recommendations and the national ambient air quality standards (NAAQS) in Thailand. In 2023, Thailand will issue new NAAQS of PM2.5 standard to be more stringent. This study assessed the effect of PM2.5 on all non-accidental death, death from Chronic obstructive pulmonary disease, Community-acquired pneumonia and Sepsis death of people in 9 provinces in the upper northern region in 2019 using The Environmental Mapping and Analysis Program (BenMAP-CE). The study found that controlling PM2.5 levels to higher standards result in more avoid deaths. In case of increase the standard value of PM2.5 from 50 µg/m3 to 37.5 µg/m3, It can avoid the death risk of all non-accidental diseases, Chronic obstructive pulmonary disease, Community-acquired pneumonia and Sepsis death increased from 1,680, 117, 51 and 237 cases to 1,872, 130, 57 and 265 cases respectively and the control cases according to the WHO final guideline value of 15 µg/m3 reduced the risk of death for 2,177, 150, 66 and 306 cases respectively. High health impact from PM2.5 are found in populous provinces, namely Chiang Mai, Chiang Rai and Lampang. While considering the risk with the impact rate of PM2.5 on health per 100,000 population, the risk was found to be high in provinces with high air pollution and/or high mortality rates for each disease, including Chiang Mai, Lamphun, Lampang, Phrae, Nan, Phayao etc. The results show a significant health impact of PM2.5 on the northern population. More strict control of PM2.5 concentrations can help reduce health impacts and the information can be used to support decision of policy maker and to set targets of PM2.5 standards for better people's health. สถานการณ์มลพิษอากาศภาคเหนือประเทศไทย ยังคงเป็นปัญหาในทุก ๆ ปี โดยพบความเข้มข้นของ PM2.5 ค่าเฉลี่ยรายวันสูงกว่าค่าแนะนำคุณภาพอากาศขององค์การอนามัยโลก (WHO) และค่ามาตรฐานคุณภาพอากาศในบรรยากาศของประเทศไทยอย่างต่อเนื่อง และในปี 2566 ประเทศไทยได้มีการปรับค่ามาตรฐานฝุ่นละออง PM2.5 ในให้เข้มงวดขึ้น เพื่อยกระดับมาตรฐานคุณภาพอากาศของประเทศ ป้องกันผลกระทบต่อสุขภาพของประชาชน การศึกษานี้จึงประเมินผลกระทบ PM2.5 ต่อการเสียชีวิตทุกกลุ่มโรคที่ไม่ใช่อุบัติเหตุ การเสียชีวิตจากโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง โรคหลอดเลือดหัวใจ และการติดเชื้อในกระแสเลือดของประชาชน 9 จังหวัดภาคเหนือตอนบนในปีพ.ศ.2562 ด้วยแบบจำลอง The Environmental Mapping and Analysis Program (BenMAP-CE) ผลการศึกษาพบว่าการควบคุมลดระดับ PM2.5 มาที่ค่ามาตรฐานที่สูงขึ้นทำให้ช่วยหลีกเลี่ยงการเสียชีวิตที่มากขึ้น การเพิ่มการควบคุมสถานการณ์จากที่ค่ามาตรฐานฝุ่นละออง PM2.5 เฉลี่ย 24 ชั่วโมงที่ 50 ไมโครกรัม/ลูกบาศก์เมตร เป็น 37.5 ไมโครกรัม/ลูกบาศก์เมตร สามารถหลีกเลี่ยงความเสี่ยงการเสียชีวิตจากทุกโรคที่ไม่ใช่อุบัติเหตุ โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง โรคหลอดเลือดหัวใจ และการติดเชื้อในกระแสเลือดจาก 1,680, 117, 51 และ 237 ราย เป็น 1,872, 130, 57 และ 265 ราย ตามลำดับ และกรณีควบคุมตามค่า Final guideline ของ WHO ที่ 15 ไมโครกรัม/ลูกบาศก์เมตร ช่วยลดความเสี่ยงเสียชีวิตได้ 2,177, 150, 66 และ 306 ราย ตามลำดับ จังหวัดที่ได้รับผลกระทบสุขภาพจาก PM2.5 มากพบในจังหวัดที่มีจำนวนประชากรมาก ได้แก่ จังหวัดเชียงใหม่ เชียงราย และลำปาง ในขณะที่เมื่อพิจารณาความเสี่ยงด้วยอัตราผลกระทบของ PM2.5 ต่อสุขภาพต่อแสนประชากร พบความเสี่ยงสูงในจังหวัดที่มีการเปลี่ยนแปลงของมลพิษทางอากาศสูง ประกอบกับมีอัตราอุบัติการณ์ของการเสียชีวิตในแต่ละโรคสูง จะสามารถหลีกเลี่ยงการเสียชีวิตในแต่ละโรคได้มากที่สุด ได้แก่ จังหวัดเชียงใหม่ ลำพูน ลำปาง แพร่ น่าน พะเยา เป็นต้น ผลการศึกษาแสดงให้เห็นผลกระทบอย่างมากของ PM2.5 ต่อการเสียชีวิตประชาชนภาคเหนือ การควบคุมลดความเข้มข้น PM2.5 เข้มข้นมากขึ้นสามารถช่วยลดผลกระทบสุขภาพและข้อมูลสามารถนำไปประกอบการตัดสินใจพัฒนานโยบายและกำหนดเป้าหมายมาตรฐาน PM2.5 ดูแลสุขภาพประชาชนให้ดียิ่งขึ้น |
URI: | http://202.28.20.112/dspace/handle/123456789/1190 |
Appears in Collections: | School of Energy and Environment |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
63140789.pdf | 7.07 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.