Please use this identifier to cite or link to this item: http://202.28.20.112/dspace/handle/123456789/1183
Title: Evaluation of soil erosion on the sloping area along plantation forest in steps
การประเมินการสูญเสียหน้าดินของพื้นที่ปลูกป่าแบบขั้นบันได
Authors: Songkrod Moontep
ทรงกรด มูลเทพ
Sukthai Pongpattanasiri
สุขทัย พงศ์พัฒนศิริ
University of Phayao
Sukthai Pongpattanasiri
สุขทัย พงศ์พัฒนศิริ
sukthai.po@up.ac.th
sukthai.po@up.ac.th
Keywords: การสูญเสียหน้าดิน
พื้นที่ปลูกป่าขั้นบันได
สมการสูญเสียดินสากล
soil erosion steps (Terraces)
Universal Soil Loss Equation (USLE)
Issue Date:  7
Publisher: University of Phayao
Abstract: This research study evaluation of soil erosion on the sloping area along plantation forest in steps (Terraces). The objective of this study for monitoring soil physical and soil erosion in terraced reforestation and reforestation area along the slope at 25% 35% and 45%, respectively. The plot for a period of 2 years. In this study monitoring rainfall, soil physical, soil chemistry and soil erosion by Universal Soil Loss Equation (USLE). The result show that soil erosion of 35% reforestation area along the slope were 626.52 tons/hectare/year, in 25% reforestation area along the slope were 437.53 tons/hectare/year. Soil erosion of 45% 35% and 25% terraced reforestation were 399.79, 364.82 and 352.94 tons/hectare/year, respectively.  The result concluded that topography, slopes of this are and rainfall effect to detachment of soil erosion. The area using the World Heritage Agriculture System is based on the FAO criteria. 1) Food security These living conditions and 2) the biodiversity of agricultural ecosystems. (Agrobiodiversity) 3) Knowledge system and local wisdom 4) Culture, value system and social organization 5) Distinctiveness in landscape and sea view. The World Heritage Agriculture System will be able to maintain the balance of the ecosystem in the agricultural landscape alongside the cultural ecosystem of each area, restoring the upstream forest sustainably.
การวิจัยครั้งนี้เป็นการศึกษาและการประเมินการสูญเสียหน้าดินของพื้นที่ปลูกป่าแบบขั้นบันไดโดยมีวัตถุประสงค์การวิจัยเพื่อศึกษาคุณสมบัติทางกายภาพของดินพื้นที่ปลูกป่าขั้นบันไดและประเมินการสูญเสียหน้าดินของพื้นที่ปลูกป่าแบบขั้นบันไดและพื้นที่ปลูกป่าตามแนวลาดชันปกติที่ความลาดชันแตกต่างกัน ที่ 25% 35% และ 45% ทำการวางแปลงเป็นระยะเวลา 2 ปี ศึกษาข้อมูลด้านสภาพภูมิอากาศ ข้อมูลสมบัติกายภาพดิน ข้อมูลสมบัติทางเคมีดิน ข้อมูลการสูญเสียหน้าดินประเมินการสูญเสียหน้าดินโดยใช้สมการสูญเสียดินสากล จากการศึกษาวิจัยพบว่าพื้นที่ปลูกป่าตามแนวลาดชันปกติ ความลาดชัน 45% มีค่าการสูญเสียดิน  626.52 ตัน/เฮกตาร์/ปี รองลงมา พื้นที่ปลูกป่าตามแนวลาดชันปกติ ความลาดชัน 35%  มีค่าการสูญเสียดิน  613.75 ตัน/เฮกตาร์/ปี พื้นที่ปลูกป่าตามแนวลาดชันปกติ ความลาดชัน 25% มีค่าการสูญเสียดิน 437.53 ตัน/เฮกตาร์/ปี พื้นที่ปลูกป่าแบบขั้นบันได ความลาดชัน 45%  มีค่าการสูญเสียดิน  399.79 ตัน/เฮกตาร์/ปี พื้นที่ปลูกป่าแบบขั้นบันได ความลาดชัน 35%  มีค่าการสูญเสียดิน  364.82 ตัน/เฮกตาร์/ปี ตามลำลำดับและการทดลองที่มีการสูญเสียหน้าดินน้อยที่สุดคือ พื้นที่ปลูกป่าแบบขั้นบันได ความลาดชัน 25%  มีค่าการสูญเสียดิน  352.94 ตัน/เฮกตาร์/ปี จากผลการศึกษาของทั้ง 2 พื้นที่ศึกษาแสดงให้เห็นว่า ปัจจัยเกี่ยวกับภูมิประเทศ ความลาดชัน และปริมาณน้ำฝน มีผลในการก่อให้เกิดการสูญเสียหน้าดิน ดังนั้นการบริหารจัดการพื้นที่ให้เกิดความยั่งยืนจึงต้องมีแนวทางที่จะนำมาจัดการในพื้นที่ดังนั้นผู้วิจัยได้เสนอแนวทางโดยใช้หลัการใช้รูปแบบองค์ความรู้ในรูปแบบระบบการเกษตรมรดกโลก GIASH ของ FAOมีความคล้ายคลึงกับระบบเกษตรพอเพียง ซึ่งได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นระบบทางการเกษตรมรดกโลกของประเทศญี่ปุ่น โดยวิเคราะห์คุณลักษณะ การจัดการโซนนิ่งและเป็นแนวทางการจัดการพื้นที่ปลูกป่าแบบขั้นบันได โดยระบบเกษตรมรดกโลกนั้นใช้วิธีการพิจารณาพื้นที่โดยคำนึงถึงเกณฑ์ของ FAO คือ 1) ความมั่นคงทางอาหารและชีวิตความเป็นอยู่ 2) ความหลากหลายทางชีวภาพของระบบนิเวศเกษตร 3) ระบบความรู้และภูมิปัญญาท้องถิ่น 4) วัฒนธรรม ระบบค่านิยม และองค์กรทางสังคม 5) ความโดดเด่นทางภูมิทัศน์และทะเลทัศน์ ซึ่งระบบเกษตรมรดกโลกจะสามารถรักษาสมดุลของระบบนิเวศภูมิทัศน์การเกษตรให้มีความมั่นทางอาหารควบคู่กับนิเวศวัฒนธรรมของในแต่ละพื้นที่ฟื้นฟูป่าต้นน้ำได้อย่างยั่งยืน
URI: http://202.28.20.112/dspace/handle/123456789/1183
Appears in Collections:School of Energy and Environment

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
60140775.pdf1.74 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.