Please use this identifier to cite or link to this item: http://202.28.20.112/dspace/handle/123456789/1182
Title: POWER MONITORING SYSTEM OF SCHOOL OF ENERGY AND ENVIRONMENT  UNIVERSITY OF PHAYAO
ระบบติดตามการใช้ไฟฟ้าของคณะพลังงานและสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยพะเยา
Authors: Surasak Jailak
สุรศักดิ์ ใจหลัก
Surat Sedpho
สุรัตน์ เศษโพธิ์
University of Phayao
Surat Sedpho
สุรัตน์ เศษโพธิ์
surat.se@up.ac.th
surat.se@up.ac.th
Keywords: ระบบริหารจัดการไฟฟ้า
การลดการใช้ไฟฟ้า
ก๊าซเรือนกระจก
Electricity Management System
Electricity Reduction
Greenhouse Gas
Issue Date:  30
Publisher: University of Phayao
Abstract: This study aims to design and install a real time power monitoring system based on the power consumption context by surveying the number of electrical appliances and working hours, design and install the power monitoring system. The power consumption is real time displayed via website of School of Energy and Environment. Power consumption data are collected and analyzed for 1 year between April 2020 and March 2021 The survey results of the amount and hours of use of electrical appliances of School of Energy and Environment. It was found that air conditioning system is the most contribution of power consumption accounted around 86 percent of the total power consumption, the 2nd floor showed the most consumption in the building. The survey results were analyzed to design and install power meter for 4 sets according to the 3 groups of users consisting of head office group, student group and researcher group. The monitoring results on power consumption of School of Energy and Environment for a period of 1 year showed that the total power consumption during considered period was 237,445.29 kWh, representing an expense of 409,167.04 baht and greenhouse gas emissions of 59,221.40 kgCO2e. The power showed highest consumption in May, 2020 of 13,789.23 kWh and lowest consumption in February, 2020 of 6,651.39 kWh. When considering for time of consumption, School of Energy and Environment is consumed power on the high demand period (On peak), Monday - Friday from 09.00 - 22.00 o’clock, which is consistent with the working context of the government agency. In addition, the results indicated that power consumption on the 1st and 4th floor is frequent part-time work caused the amount of power consumed during the low demand period (Off peak) is close to the period of high demand period (On peak). Reducing the time to use air conditioners by 2 hours per day and turning off the lamps at noon for 1 hour per day can reduce the power consumption around 1,500 kWh/month and 28 kWh/month respectively. In addition, costs and greenhouse gas emissions are decreased as well. Design and installation of a power monitoring system creating the School of Energy and Environment recognized the amount of power consumed in each area lead to be can defined the actual power reduction policy and to be set the goals, areas, and locations to reduce power consumption appropriately.
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อออกแบบและติดตั้งระบบติดตามการใช้ไฟฟ้าแบบเรียลไทม์ตามบริบทการใช้ไฟฟ้าของคณะพลังงานและสิ่งแวดล้อม โดยการ สำรวจจำนวนอุปกรณ์ไฟฟ้าและจำนวนชั่วโมงเวลาการทำงาน ออกแบบและติดตั้งระบบติดตามการใช้ไฟฟ้าและแสดงผลแบบ  เรียลไทม์ผ่านเว็บไซต์ของคณะพลังงานและสิ่งแวดล้อม เก็บข้อมูลและวิเคราะห์การใช้พลังงานไฟฟ้าหลังจากติดตั้งระบบเป็นเวลา 1 ปี ระหว่างเดือน เมษายน 2563 ถึง มีนาคม 2564 ผลการสำรวจจำนวนและชั่วโมงการใช้งานของอุปกรณ์ไฟฟ้าภายในคณะพลังงานและสิ่งแวดล้อม พบว่า การใช้ไฟฟ้าส่วนใหญ่เกิดจากการใช้ระบบปรับอากาศภายในคณะ คิดเป็นร้อยละ 86 ของการใช้ไฟฟ้าทั้งหมด โดยพื้นที่ชั้น 2 มีการใช้ไฟฟ้ามากที่สุด ซึ่งผลจากการสำรวจผู้วิจัยได้นำมาวิเคราะห์เพื่อออกแบบและติดตั้งอุปกรณ์สำหรับตรวจวัดไฟฟ้าจำนวน 4 จุด โดยแบ่งการติดตามการใช้ไฟฟ้าตามกลุ่มของผู้ใช้ไฟฟ้าของคณะพลังงานและสิ่งแวดล้อม จำนวน 3 กลุ่ม ประกอบด้วย กลุ่มสำนักงานคณะพลังงานและสิ่งแวดล้อม กลุ่มนิสิต และกลุ่มนักวิจัยผลการติดตามข้อมูลปริมาณการใช้ไฟฟ้าของคณะพลังงานและสิ่งแวดล้อม ในระยะเวลา 1 ปี พบว่า การใช้ไฟฟ้าของคณะพลังงานและสิ่งแวดล้อมมีปริมาณการใช้ไฟฟ้ารวมในช่วงเวลาดังกล่าวเท่ากับ 237,445.29 kWh คิดเป็นค่าใช้จ่าย 409,167.04 บาท และมีปล่อยก๊าซเรือนกระจก 59,221.40 kgCO2e  เดือนพฤษภาคม 2563 มีปริมาณการใช้ไฟฟ้ามากที่สุดเท่ากับ 13,789.23 kWh เดือนกุมภาพันธ์ 2564 มีปริมาณการใช้ไฟฟ้าน้อยที่สุด เท่ากับ 6,651.39 kWh  เมื่อพิจารณาช่วงเวลาการใช้ไฟฟ้าของคณะพลังงานและสิ่งแวดล้อมเป็นช่วงความต้องการไฟฟ้าสูง (On peak) คือ เป็นช่วงวันจันทร์ - ศุกร์ เวลา 09.00 – 22.00 น. ซึ่งสอดคล้องกับบริบทการทำงานของหน่วยงานราชการ มากไปกว่านั้นยังพบว่า บริเวณ ชั้น 1 และ ชั้น 4 ของอาคารคณะพลังงานและสิ่งแวดล้อมนั้น มีการทำงานในช่วงนอกเวลาบ่อย ทำให้ปริมาณการใช้ไฟฟ้าในช่วงความต้องการไฟฟ้าต่ำ (Off peak) มีค่าใกล้เคียงกับช่วงความต้องการไฟฟ้าสูง (On peak)   การลดเวลาการใช้เครื่องปรับอากาศโดยการลดชั่วโมงการเปิดเครื่องปรับอากาศลงวันละ 2 ชั่วโมง และ การปิดหลอดไฟเมื่อไม่ใช้งานโดยการปิดไฟตอนเที่ยงวันละ 1 ชั่วโมง สามารถลดการใช้ไฟฟ้าได้ประมาณ 1,500 kWh/เดือน และ 28 kWh/เดือน ตามลำดับส่งผลให้ค่าใช้จ่ายและการปล่อยก๊าซเรือนกระจกของคณะพลังงานและสิ่งแวดล้อมลดลงตามไปด้วย การออกแบบติดตั้งระบบติดตามการใช้ไฟฟ้า ทำให้คณะพลังงานและสิ่งแวดล้อมทราบถึงปริมาณการใช้ไฟฟ้าของแต่ละพื้นที่ และสามารถดำเนินนโยบายการลดการใช้พลังงานได้อย่างเป็นรูปธรรมรวมถึงสามารถกำหนดเป้าหมาย พื้นที่ และตำแหน่ง การลดการใช้พลังงานได้อย่างเหมาะสม
URI: http://202.28.20.112/dspace/handle/123456789/1182
Appears in Collections:School of Energy and Environment

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
60140764.pdf4.42 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.