Please use this identifier to cite or link to this item:
http://202.28.20.112/dspace/handle/123456789/1181
Title: | Efficiency of Poly aluminum Ferric Silicate Chloride in Coagulation Process for Water Purification as Pre-treatment ประสิทธิภาพของโพลีอะลูมินัมเฟอร์ริคซิลิเกตคลอไรด์ในกระบวนการ โคแอกกูเลชันสำหรับการปรับปรุงคุณภาพน้ำขั้นต้น |
Authors: | Theerapat Wajaithong ธีรภัทร์ วาใจทอง Torpong Kreetachat ต่อพงศ์ กรีธาชาติ University of Phayao Torpong Kreetachat ต่อพงศ์ กรีธาชาติ torpong.kr@up.ac.th torpong.kr@up.ac.th |
Keywords: | ปรับปรุงคุณภาพน้ำ โพลีอะลูมินัมเฟอร์ริคซิลิเกตคลอไรด์ สารส้ม เฟอร์ริคคลอไรด์ โพลิอลูมิเนียมคลอไรด์ ของแข็งละลายน้ำ Coagulation Poly Aluminum Ferric Silicate Chloride Alum Poly Aluminum Chloride Ferric chloride Total Dissolved Solids |
Issue Date: | 21 |
Publisher: | University of Phayao |
Abstract: | The main objectives of this research were characterized the properties and efficacy of Poly Aluminum Ferric Silicate Chloride (PAFSiC) in coagulation process. The quality water was compared to low turbidity and total dissolved solid, respectively. The water sampling was Hui Pet Reservoir, Lampang Province. The 3 commercial chemical coagulants were Alum, Poly Aluminum Chloride (PAC) Ferric chloride (FeCl3). Additional factors such as conductivity, sulphate and hardness were studied. The results showed that PAFSiC has the ability to reduce the above values without the need to add coagulant aid compared to the commercial chemical coagulants mentioned above. Some commercial chemicals require the addition of coagulant aid for higher efficiency.In this study, the response surface methodology (RSM) was used to optimize process condition in coagulant process. The experimental found that the low turbidity removal efficiency of the sample was 94.4%. Three factors were determined: pH, PAFSiC concentration, and anionic polymer concentration. การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อศึกษาลักษณะสมบัติ และประสิทธิภาพของโพลีอะลูมินัมเฟอร์ริคซิลิเกตคลอไรด์ (Poly Aluminum Ferric Silicate Chloride, PAFSiC) ในกระบวนการโคแอกกูเลชันสำหรับการปรับปรุงคุณภาพน้ำขั้นต้นจากอ่างเก็บน้ำห้วยเป็ด จังหวัดลำปาง สำหรับเป็นแหล่งน้ำสำรองของโรงไฟฟ้าแม่เมาะ เพื่อเปรียบเทียบประสิทธิภาพการกำจัดความขุ่น แนวโน้มการเปลี่ยนแปลงของค่าของแข็งละลายน้ำ (Total Dissolved Solids, TDS) โดยทำการทดสอบกับสารตกตะกอนเคมีทางการค้า 3 ชนิด ได้แก่ สารส้ม (Alum) เฟอร์ริคคลอไรด์ (Ferric chloride, FeCl3) โพลิอลูมิเนียมคลอไรด์ (Polyaluminium chloride, PAC) ทำการศึกษาปัจจัยต่าง ๆ เพิ่มเติม ได้แก่ ค่าการนำไฟฟ้า ค่าซัลเฟต และค่าความกระด้าง โดยผลการศึกษาพบว่า PAFSiC มีความสามารถในการลดค่าต่าง ๆ ที่กล่าวมาได้โดยไม่จำเป็นต้องเติมสารช่วยตกตะกอน หากเทียบกับสารตกตะกอนเคมีทางการค้าที่กล่าวมาข้างต้น ซึ่งสารบางตัวจำเป็นต้องมีการเติมสารช่วยตกตะกอนเพื่อให้ได้ประสิทธิภาพที่สูงขึ้น และมีการใช้เทคนิคพื้นผิวตอบสนองในการหาสะภาวะที่เหมาะสมสำหรับกระบวนการตกตะกอนในการกำจัดความขุ่นที่ต่ำของ PAFSiC พบว่าในภาวะที่เหมาะสมที่สุดของ PAFSiC มีประสิทธิภาพในการกำจัดความขุ่นที่ต่ำของน้ำตัวอย่างได้ร้อยละ 94.4 โดยกำหนดปัจจัย 3 ปัจจัย ได้แก่ ค่าความเป็นกรดด่าง (pH) ปริมาณความเข้มข้นของ PAFSiC และปริมาณความเข้มข้นของสารช่วยตกตะกอนชนิดประจุลบ |
URI: | http://202.28.20.112/dspace/handle/123456789/1181 |
Appears in Collections: | School of Energy and Environment |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
60140663.pdf | 2.81 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.