Please use this identifier to cite or link to this item: http://202.28.20.112/dspace/handle/123456789/1142
Title: Guidelines for developing ecotourism based on biodiversity in Nong Leng Sai area, Phayao province.
แนวทางการพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงนิเวศบนฐานความหลากหลาย ทางชีวภาพหนองเล็งทราย จังหวัดพะเยา
Authors: Vissuta Muentue
วิสสุตา หมื่นตื้อ
Luethaipat Primonsree
ฤทัยภัทร พิมลศรี
University of Phayao
Luethaipat Primonsree
ฤทัยภัทร พิมลศรี
kannika.pi@up.ac.th
kannika.pi@up.ac.th
Keywords: ศักยภาพทางการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ
ความหลากหลายทางชีวภาพ
การมีส่วนร่วม
หนองเล็งทราย
ผู้มาเยือน
การพัฒนา
ecotourism potential
biodiversity
participate
Nong Leng Sai
visitor
development
Issue Date:  21
Publisher: University of Phayao
Abstract: Guidelines for developing ecotourism based on biodiversity in Nong Leng Sai area, Phayao province. The aims of this study were to evaluate the context of the area, motives and opinions of community and visitors for proposing the guidelines for developing ecotourism based on biodiversity. Based on six elements of guidelines, the results showed that the most informative opinions of community were following; 1)attraction as the creation of interesting features (landmarks), 2)tourism activities, 3)accessibility as development of the trail, 4)facilities as public relation 5)accommodation, and 6)management and administration have to provide knowledge about tourist attractions in the conservation of tourism resources. In terms of motivation and opinions of visitors in Nong Leng Sai area, the reason for visiting (the push factor) was a recreation, and the attracts tourists (pull factors) to visit the area was the food such as grilled fish and shrimp. Based on five elements as following; 1)Attraction, natural resources should be developed as a learning center, such as lotus field, thousand-year-old of ancient trees, bird watching, and turtle. 2)Activity, zoning should be represented for the activities. 3)Accessibility: the route should be considered for tourist attractions. 4)Facilities, safety and security of tourists are vital to providing quality in tourism, as well as 5)Accommodation, accommodation managements such as camping services are necessary. Consequently, the development of ecotourism is needed concerned and developed to promote efficient tourism.
การวิจัยเรื่อง แนวทางการพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงนิเวศบนฐานความหลากหลายทางชีวภาพในพื้นที่หนองเล็งทราย จังหวัดพะเยา โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1)เพื่อศึกษาบริบท สภาพพื้นที่ทางธรรมชาติและศักยภาพทางการท่องเที่ยว 2)เพื่อศึกษาแรงจูงใจและความคิดเห็นของผู้มาเยือน และ 3)เพื่อเสนอแนวทางการพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงนิเวศบนฐานความหลายหลายทางชีวภาพในพื้นที่หนองเล็งทราย จังหวัดพะเยา การศึกษาครั้งนี้ เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพผสมผสานกับวิจัยเชิงปริมาณ ผลการวิจัยพบว่า ผู้ที่ให้ข้อมูลส่วนใหญ่ มีความคิดเห็นต่อการพัฒนาทางการท่องเที่ยวและใช้บริการแหล่งท่องเที่ยว ตามองค์ประกอบทั้ง 6 ด้าน ประกอบด้วย 1)สิ่งดึงดูดใจ ได้แก่ การสร้างจุดเด่นที่น่าสนใจ (แลนด์มาร์ก) ในพื้นที่หนองเล็งทราย 2)กิจกรรมทางการท่องเที่ยว ได้แก่ ล่องเรือในป่าอเมซอน 3)การเข้าถึง ได้แก่ การพัฒนาเส้นทางเดินเท้าโดยรอบหนองเล็งทราย 4)สิ่งอำนวยความสะดวก ได้แก่การประชาสัมพันธ์ ให้ข้อมูล รวมถึงคำแนะนำแก่ผู้มาเยือน 5)ด้านที่พัก ได้แก่ การพัฒนาการจัดการที่พักบริเวณใกล้เคียงในพื้นที่หนองเล็งทราย และ 6)ด้านการบริหารจัดการ ได้แก่ การให้ความรู้เกี่ยวกับแหล่งท่องเที่ยวในด้านการอนุรักษ์ทรัพยากรทางการท่องเที่ยว ในด้านของแรงจูงใจและความคิดเห็นของผู้มาเยือนในพื้นที่หนองเล็งทราย พบว่า ในการเดินทางท่องเที่ยวผู้มาเยือนให้เหตุผลที่ผู้มาเยือนเดินทางมาเยือนหนองเล็งทราย (ปัจจัยผลัก) ระดับมากที่สุด ได้แก่ มาเพื่อพักผ่อนหย่อนใจ และสิ่งที่ดึงดูดให้เดินทางมาเยือนหนองเล็งทราย (ปัจจัยดึง) ได้แก่ การมารับประทานอาหารริมหนองเล็งทราย เช่น ปลาเผา กุ้งเผา ความคิดเห็นต่อการพัฒนาทางการท่องเที่ยวและใช้บริการแหล่งท่องเที่ยวในพื้นที่หนองเล็งทราย สรุปได้ว่า การพัฒนาทางการท่องเที่ยวและใช้บริการแหล่งท่องเที่ยว ตามองค์ประกอบทั้ง 5 ด้าน ประกอบด้วย 1)สิ่งดึงดูดใจ ได้แก่ การพัฒนาทรัพยากรทางธรรมชาติในชุมชนพื้นที่หนองเล็งทรายให้เป็นแหล่งเรียนรู้ เช่น บัวพันไร่ ต้นไคร้พันปี ดูนกหายาก เต่าวางไข่ 2)กิจกรรมทางการท่องเที่ยว ได้แก่ การพัฒนาการจัดสถานที่ถ่ายรูป 3)การเข้าถึง ควรมีการพัฒนาเส้นทางท่องเที่ยวเชื่องโยงแหล่งท่องเที่ยวต่างๆ ใกล้เคียง 4)สิ่งอำนวยความสะดวก ได้แก่ การรักษาความปลอดภัยของแหล่งท่องเที่ยวในพื้นที่หนองเล็งทราย และ 5)ด้านที่พัก ได้แก่ การพัฒนาการจัดการที่พักบริเวณใกล้เคียงในพื้นที่หนองเล็งทราย และในส่วนแนวทางพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวหนองเล็งทราย ในด้านสิ่งดึงดูดใจ พบว่าควรมีการพัฒนาทรัพยากรทางธรรมชาติในชุมชนพื้นที่หนองเล็งทรายให้เป็นแหล่งเรียนรู้ ด้านกิจกรรมทางการท่องเที่ยว พบว่า ควรมีกิจกรรมการเยี่ยมชมวิถีชีวิตของชุมชนมากที่สุด ด้านการเข้าถึง พบว่า ควรมีการพัฒนาเส้นทาง เข้า-ออก ให้ขว้างขึ้น ด้านสิ่งอำนวยความสะดวก พบว่า ควรมีการจัดสถานที่ทำกิจกรรมของผู้มาเยือน ในด้านที่พัก พบว่า ควรมีการพัฒนาการให้บริการลานกางเต็นท์ในพื้นที่หนองเล็งทราย และในด้านการบริหารจัดการ พบว่าควรมีการพัฒนานโยบายในการส่งเสริมการท่องเที่ยวในพื้นที่หนองเล็งทราย
URI: http://202.28.20.112/dspace/handle/123456789/1142
Appears in Collections:School of Business and Communication Arts

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
61371055.pdf3.15 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.