Please use this identifier to cite or link to this item: http://202.28.20.112/dspace/handle/123456789/1128
Title: MARKETING STRATEGY FOR INCREASING ECONOMIC VALUE OFTHE THAI BASKETRIES BUSINESS
กลยุทธ์การตลาดเพื่อเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจของธุรกิจจักสานไทย
Authors: Pruksa Phanpanya
พฤกษา พันธ์ปัญญา
Ausanee Ratsamewongjan
อุษณีย์ รัศมีวงษ์จันทร์
University of Phayao
Ausanee Ratsamewongjan
อุษณีย์ รัศมีวงษ์จันทร์
ausanee.ra@up.ac.th
ausanee.ra@up.ac.th
Keywords: กลยุทธ์การตลาด
มูลค่าทางเศรษฐกิจ
จักสานไทย
Marketing Strategy
Economic Value
Thai Basketries
Issue Date:  29
Publisher: University of Phayao
Abstract: The objectives of this research were 1) to study the analysis of 7P marketing mix of the weaving group in Phayao Province by analyzing the internal and external environment of the weaving business. 2) Study the buying behavior of weaving work and the factors of customer demand that affect the creation of marketing strategies. The design of this research is a mixed method research by qualitative research. The sample group is 10 basketry business operators in Phayao Province. Data analysis from interviews The results showed that the cause of the problem was that there was no cost calculation. Product production is delayed. And most basketry groups do not have online marketing channels 7P marketing mix analysis The results of the SWOT analysis revealed that 1) strength of each group have a variety of products with different characteristics. 2) Weakness no cost estimate of the product. 3) Opportunities There are government and private agencies to help with basketry 4) Obstacles The outbreak of the Covid-19 epidemic has delayed purchases and production capacity.By using four marketing strategies; proactive strategy; corrective strategy defensive strategy passive strategy. To solve problems where the strengths of one group can be used to reduce the weaknesses of others. For quantitative research, the sample group is online basketry customers in the Facebook group responded to a questionnaire via Google form of 400 people.The researcher used a questionnaire created from the 7P marketing mix factor as a data collection tool.The results of the research revealed that the behavior in purchasing bamboo wicker products The overall picture is moderate. Divide consumers into 3 groups. Attitudes and opinions about bamboo weaving products the most are group 3, worth the money paid.Followed by group 2, bamboo wicker products are “extravagant”.The least is Group 1, always planning to buy bamboo wicker products.7P marketing mix factors influencing the purchase of wicker products made from bamboo.The factors that have the greatest influence on decision making are process. Followed by physical Evidence  people product price place the factor that had the least influence on the decision was Marketing promotion. Marketing strategies can be used to solve problems, namely Differentiation strategies that offer products and services aimed at giving consumers a sense of product value build brand loyalty.
การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาการวิเคราะห์ส่วนประสมทางการตลาด7P ของ กลุ่มจักสานในจังหวัดพะเยาด้วยการวิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายในและภายนอกของธุรกิจจักสาน 2) เพื่อศึกษา พฤติกรรมการเลือกซื้องานจักสานและปัจจัยความต้องการของลูกค้าที่ส่งผลต่อสร้างกลยุทธ์การตลาด รูปแบบ การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบผสมผสาน (Mixed Method Research) โดยการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ประกอบธุรกิจจักสานในจังหวัดพะเยา 10 กลุ่ม การวิเคราะห์ข้อมูลจากการสัมภาษณ์ ผลการวิจัย พบว่า สาเหตุของปัญหาเกิดจากไม่มีการคำนวณต้นทุนราคา ผลิตสินค้าได้ล่าช้า และกลุ่มจักสาน ส่วนใหญ่ไม่มีช่องทางตลาดออนไลน์  เมื่อวิเคราะห์ส่วนประสมทางการตลาด 7P ผลการวิเคราะห์ SWOT พบว่า 1) จุดแข็งของแต่ละกลุ่มมีผลิตภัณฑ์ที่หลากหลายมีเอกลักษณ์ที่แตกต่างกัน 2) จุดอ่อน ไม่มีการประเมินต้นทุนของสินค้า 3) โอกาส มีหน่วยงานภาครัฐและเอกชนเข้ามาช่วยเหลือ 4) อุปสรรค การเกิดโรคระบาด Covid-19 ทำให้ยอดการซื้อและกำลังการผลิตล่าช้าลง โดยใช้กลยุทธ์ทางการตลาด 4 ด้าน กลยุทธ์เชิงรุก กลยุทธ์เชิงแก้ไข  กลยุทธ์เชิงป้องกัน กลยุทธ์เชิงรับในการแก้ไขปัญหา ซึ่งสามารถนำจุดแข็งของกลุ่มหนึ่งไปช่วยลดจุดอ่อนของกลุ่มอื่นได้   สำหรับวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) กลุ่มตัวอย่าง คือ กลุ่มลูกค้าจักสานทางออนไลน์ ในกลุ่มเฟซบุ๊ก โดยการตอบแบบสอบถามผ่าน Google Form จำนวน 400 ราย ซึ่งผู้วิจัยได้ใช้แบบสอบถาม ที่สร้างขึ้นจากปัจจัยส่วนผสมทางการตลาด 7P เป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล จากผลการวิจัย พบว่า พฤติกรรมในการเลือกซื้อผลิตภัณฑ์จักสานไม้ไผ่ ภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง แบ่งกลุ่มผู้บริโภค ออกเป็น 3 กลุ่ม ตามทัศนคติและความคิดเห็นเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์จักสานไม้ไผ่ มากที่สุด คือ กลุ่มที่ 3 คุ้มค่ากับเงินที่จ่าย รองลงมา กลุ่มที่ 2 ผลิตภัณฑ์จักสานไม้ไผ่เป็นเรื่อง “ฟุ่มเฟือย” น้อยที่สุด คือ กลุ่มที่ 1 วางแผนซื้อผลิตภัณฑ์จักสานจากไม้ไผ่อยู่เสมอ ปัจจัยส่วนผสมทางการตลาด 7P ที่มีอิทธิพลต่อการซื้อสินค้าจักสานที่ทำจากไม้ไผ่ ภาพรวมอยู่ในระดับมาก โดยมากที่สุด คือ ด้านกระบวนการ รองลงมา คือ ด้านสาธารณูปโภค ด้านบุคลากร ด้านการผลิตภัณฑ์ ด้านราคา ด้านช่องทางการจัดจำหน่าย และน้อยที่สุด คือ ด้านการส่งเสริมทางการตลาด สามารถนำกลยุทธ์ทางการตลาดมาแก้ปัญหา คือ กลยุทธ์สร้างความแตกต่างที่นำเสนอสินค้าและบริการที่มุ่งเน้นให้ผู้บริโภครู้สึกถึงคุณค่าของผลิตภัณฑ์สร้างความภักดีในตราสินค้า
URI: http://202.28.20.112/dspace/handle/123456789/1128
Appears in Collections:School of Business and Communication Arts

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
59079369.pdf2.02 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.