Please use this identifier to cite or link to this item:
http://202.28.20.112/dspace/handle/123456789/1127
Title: | COMPETITIVE ADVANTAGE STRATEGIES OF TREKKING TOURISM MANAGEMENT FOR TOURISTS IN THE UPPER NORTHERN 2 กลยุทธ์การสร้างความได้เปรียบทางการแข่งขันของการจัดการท่องเที่ยวเดินป่าสำหรับนักท่องเที่ยวในกลุ่มจังหวัดภาคเหนือตอนบน 2 |
Authors: | Phuwanat Srithong ภูวนารถ ศรีทอง Prakobsiri Pakdeepinit ประกอบศิริ ภักดีพินิจ University of Phayao Prakobsiri Pakdeepinit ประกอบศิริ ภักดีพินิจ prakobsiri.pa@up.ac.th prakobsiri.pa@up.ac.th |
Keywords: | การจัดการท่องเที่ยวเดินป่า กลุ่มจังหวัดภาคเหนือตอนบน 2 ขีดความสามารถทางการแข่งขัน กลยุทธ์การสร้างความได้เปรียบทางการแข่งขัน กลยุทธ์การสร้างความแตกต่าง Trekking Tourism Management The Upper Northern 2 Competitiveness Competitive Advantage Strategies Differentiation Strategy |
Issue Date: | 29 |
Publisher: | University of Phayao |
Abstract: | This research aims to study the situation and potential of trekking tourism management in the upper northern 2, tourist behavior and motivation towards trekking tourism management in the upper northern 2 and factors affecting competitive advantage of trekking tourism management in the upper northern 2, and to propose the competitive advantage strategies of trekking tourism management for tourists in the upper northern 2. The study includes the elements of trekking tourism management and the assessment of trekking tourism management potential by surveying the study area and in-depth interviewing the representatives of the government, the tourism entrepreneurs in the upper northern 2, local community, and the stakeholders. In addition, data was collected by distributing the questionnaire to 400 trekking tourists and by conducting the focus group with the stakeholders in tourism to create the appropriate strategies. The research findings revealed that trekking tourism management for tourists in the upper northern 2 was the significant tool as a guideline to create the competitiveness in trekking tourism management. From the trekking tourism management situation and competitive potential analysis, 4 parts of trekking tourism management were at the low level while the other 2 were average. The bargaining power of tourists was identified as the highest force among five forces. In order to develop the competitive advantage strategies, the differentiation strategy was highlighted. The differentiation strategy consisted of product differentiation, services differentiation, human resource differentiation, and image differentiation, with the attractiveness of natural resources, the regulatory enforcement, clear participation process among the government sector, private sector, and stakeholders for the accurate perception of tourists towards trekking activity, business operation of the entrepreneurs for local community benefit sharing, professional trekking tourist guide development to enhance service quality, safety and security, and the integration with related sectors that organize tourist guide training and with the Ministry of Tourism and Sports for the professional service standards and competencies. Furthermore, the marketing plan of the related government sector should focus on the targeted customers who are fond of nature. The plan should also encourage the collaboration with the conservative tourism entrepreneurs to strengthen the sustainability of trekking tourism in the upper northern 2. การศึกษาวิจัยในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาสถานการณ์และศักยภาพของการจัดการท่องเที่ยวเดินป่าในกลุ่มจังหวัดภาคเหนือตอนบน 2 พฤติกรรมและแรงจูงใจของนักท่องเที่ยวที่มีต่อการจัดการท่องเที่ยวเดินป่าในกลุ่มจังหวัดภาคเหนือตอนบน 2 ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับขีดความสามารถในการแข่งขันของการจัดการท่องเที่ยวเดินป่าในภาคเหนือตอนบน และเสนอกลยุทธ์การสร้างได้เปรียบทางการแข่งขันในการจัดการท่องเที่ยวเดินป่าในกลุ่มจังหวัดภาคเหนือตอนบน 2 โดยมีการศึกษาข้อมูลองค์ประกอบการของจัดการท่องเที่ยวเดินป่า การประเมินศักยภาพของการจัดการท่องเที่ยวเดินป่า โดยการลงพื้นที่สำรวจ การสัมภาษณ์เชิงลึก ตัวแทนจากหน่วยงานภาครัฐ ผู้ประกอบธุรกิจการท่องเที่ยวในกลุ่มจังหวัดภาคเหนือตอนบน 2 ตัวแทนชุมชนและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย พร้อมเก็บแบบสอบถามนักท่องเที่ยวเดินป่าจำนวน 400 คนและมีประชุมกลุ่มย่อยกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทางการท่องเที่ยวเพื่อให้ได้กลยุทธ์ที่เหมาะสม ผลการศึกษาวิจัยพบว่า การท่องเที่ยวเดินป่าในกลุ่มจังหวัดภาคเหนือตอนบน 2 เป็นเครื่องมือสำคัญที่สามารถนำมาเป็นแนวทางการสร้างความได้เปรียบทางการแข่งขันในการจัดการท่องเที่ยวเดินป่า จากการวิเคราะห์สถานการณ์และศักยภาพทางการแข่งขันในการจัดการท่องเที่ยวเดินป่าพบว่าอยู่ในระดับต่ำ 4 ด้าน ปานกลาง 2 ด้าน โดยมีอำนาจต่อรองจากนักท่องเที่ยว เป็นปัจจัยที่มีความสัมพันธ์จากแรงผลักดัน 5 ประการมากที่สุด ในการจัดทำกลยุทธ์เพื่อสร้างความได้เปรียบทางการแข่งขัน ด้วยกลยุทธ์การสร้างความแตกต่าง ประกอบด้วย กลยุทธ์ความแตกต่างด้านผลิตภัณฑ์,กลยุทธ์ความแตกต่างด้านบริการ, กลยุทธ์ความแตกต่างด้านบุคลากร และ กลยุทธ์ความแตกต่างด้านภาพลักษณ์ โดยมีพื้นฐานทรัพยากรธรรมชาติมาเป็นแรงดึงดูดให้กับนักท่องเที่ยว การบังคับใช้กฎระเบียบกับชุมชนรอบพื้นที่ ภาครัฐ ภาคเอกชนและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียต้องร่วมกันประสานงานและสร้างกระบวนการมีส่วนร่วมอย่างชัดเจนให้กับทั้งชุมชน ผู้ประกอบการและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องให้เกิดการรับรู้ที่ถูกต้องแก่นักท่องเที่ยวในเรื่องกิจกรรมเดินป่า การดำเนินธุรกิจของผู้ประกอบการที่เน้นการกระจายผลประโยชน์กับชุมชน การสร้างบุคลากรมัคคุเทศก์เดินป่าที่มีความเชี่ยวชาญทั้งการบริการและความปลอดภัย การบูรณาการกับหน่วยงานที่เป็นผู้ดำเนินการอบรมมัคคุเทศก์และกระทรวงท่องเที่ยวและกีฬาในการกำหนดสมรรถนะ และมาตรฐานการให้บริการอย่างมืออาชีพ รวมทั้งแผนการส่งเสริมการตลาดของหน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้อง ต้องมุ่งเน้นเจาะลูกค้าเฉพาะกลุ่มที่นิยมธรรมชาติ และสร้างความร่วมมือกับผู้ประกอบการที่เน้นการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ เพื่อสร้างความเข้มแข็งให้การท่องเที่ยวแบบเดินป่าในภาคเหนือตอนบน 2 อย่างยั่งยืน |
URI: | http://202.28.20.112/dspace/handle/123456789/1127 |
Appears in Collections: | School of Business and Communication Arts |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
58370867.pdf | 6.51 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.