Please use this identifier to cite or link to this item: http://202.28.20.112/dspace/handle/123456789/1123
Title: USING HEALTH BELIEF MODEL THEORY TO PREDICT TUBERCULOSIS PREVENTION BEHAVIORS AMONG HOUSEHOLD CONTACTED DURING THE COVID-19 IN THE BORDER AREA OF THE CHAING RAI PROVINCE
การใช้ทฤษฎีแบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพในการทำนายพฤติกรรม การป้องกันวัณโรคของผู้สัมผัสร่วมบ้านผู้ป่วยวัณโรค ช่วงการระบาดโรคโควิด-19 ในพื้นที่ชายแดน จังหวัดเชียงราย
Authors: Nantawan Khamai
นันทวัน คำอ้าย
Katekaew Seangpraw
เกษแก้ว เสียงเพราะ
University of Phayao
Katekaew Seangpraw
เกษแก้ว เสียงเพราะ
katekaew.se@up.ac.th
katekaew.se@up.ac.th
Keywords: ทฤษฎีแบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพ
วัณโรค
พฤติกรรมการป้องกันโรค
ผู้สัมผัสร่วมบ้านผู้ป่วยวัณโรค
พื้นที่ชายแดนจังหวัดเชียงราย
Health belief model
Tuberculosis
Preventive behaviors
Household contacts
Border area of the Chaing rai province
Issue Date:  15
Publisher: University of Phayao
Abstract: This research is a cross-sectional survey research. To study the level of knowledge about tuberculosis, Perception of risk from tuberculosis, severity of tuberculosis, the barriers to tuberculosis prevention, Advantages from preventing tuberculosis, what induces tuberculosis prevention behavior and study factors related to tuberculosis prevention behavior among household contacts of tuberculosis patients. The sample group were household contacts of pulmonary tuberculosis patients in the border area. Chiang Rai Province, 422 people. Data were collected using a self-administered questionnaire. Data were analyzed using descriptive statistics, Pearson correlation coefficient statistics, and logistic regression analysis statistics. The results of the study found that the majority of the sample was female, 56.9 percent, the average age is 42 years. The knowledge level score about tuberculosis was low, 41.7 percent. Disease prevention behavior scores were at a moderate level 48.6 percent. The perceived severity of disease prevention is at a moderate level 54.5 percent. For variables with high average scores are Perception of advantage from disease prevention 76.3%, Perceived self-efficacy in disease prevention 77.5 %, and things that induce behavior to prevent disease 87.0%. In terms of personal factors that are related to behavior in preventing tuberculosis include Age, Education, Congenital disease, History of receiving the tuberculosis vaccine (BCG), History of illness with COVID-19, History of receiving the COVID-19 vaccine and chest x-ray results (P
การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจแบบภาคตัดขวาง (Cross-sectional survey research) เพื่อศึกษาระดับความรู้เรื่องวัณโรค การรับรู้โอกาสเสี่ยงจากวัณโรค การรับรู้ความรุนแรงของวัณโรค การรับรู้อุปสรรค ในการป้องกันวัณโรค การรับรู้ประโยชน์จากการป้องกันวัณโรค สิ่งชักนำให้เกิดการปฏิบัติพฤติกรรมการป้องกัน วัณโรค และศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการป้องกันวัณโรคในผู้สัมผัสร่วมบ้านผู้ป่วยวัณโรค กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้สัมผัสร่วมบ้านผู้ป่วยวัณโรคปอดในพื้นที่ชายแดน จังหวัดเชียงราย จำนวน 422 คน รวบรวม ข้อมูลโดยแบบสอบถามตอบด้วยตนเอง วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา สถิติสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เพียร์สัน และสถิติการวิเคราะห์การถดถอยโลจิสติก ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง ร้อยละ 56.9 มีอายุเฉลี่ย 42 ปี สำหรับคะแนนระดับความรู้เรื่องวัณโรคอยู่ในระดับต่ำ ร้อยละ 41.7 คะแนนพฤติกรรมการป้องกันโรคอยู่ในระดับปานกลางร้อยละ 48.6 คะแนนการรับรู้ความรุนแรงต่อการป้องกันโรคอยู่ในระดับปานกลางร้อยละ 54.5 สำหรับตัวแปรที่มีคะแนนเฉลี่ยสูงได้แก่ การรับรู้โอกาสเสี่ยงต่อการป้องกันโรคร้อยละ 65.9 การรับรู้ประโยชน์ จากการป้องกันโรคร้อยละ 76.3 การรับรู้ความสามารถของตนเองในการป้องกันโรคร้อยละ 77.5 และสิ่งชักนำ ให้เกิดการปฏิบัติพฤติกรรมในการป้องกันโรคร้อยละ 87.0 ในด้านปัจจัยส่วนบุคคลที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรม ในการป้องกันวัณโรคได้แก่ ปัจจัยด้านกลุ่มอายุ ระดับการศึกษา โรคประจำตัว ประวัติการรับวัคซีนป้องกันวัณโรค (BCG) ประวัติการป่วยด้วยโรคโควิด-19 ประวัติการได้รับวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 และผลเอกซเรย์ปอด (P
URI: http://202.28.20.112/dspace/handle/123456789/1123
Appears in Collections:คณะสาธารณสุขศาสตร์

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
64228585.pdf2.8 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.