Please use this identifier to cite or link to this item: http://202.28.20.112/dspace/handle/123456789/1112
Title: STUDY OF LEARNING OUTCOMES NEEDS AND GUIDELINES FOR STUDENTDEVELOPMENT ACCORDING TO LEARNING OUTCOMES AT THEGRADUATE PROGRAM IN EDUCATIONAL ADMINISTRATIONSCHOOL OF EDUCATION UNIVERSITY OF PHAYAO
การศึกษาความต้องการจำเป็นและแนวทางการพัฒนาผู้เรียนตามผลลัพธ์การเรียนรู้ระดับหลักสูตรบัณฑิตศึกษา สาขาวิชาการบริหารการศึกษาวิทยาลัยการศึกษา มหาวิทยาลัยพะเยา
Authors: Soraya Jaratsopasit
สรญา จรัสโสภาสิทธิ์
Santi Buranachart
สันติ บูรณะชาติ
University of Phayao
Santi Buranachart
สันติ บูรณะชาติ
santi.bu@up.ac.th
santi.bu@up.ac.th
Keywords: ความต้องการจำเป็น
แนวทางการพัฒนาผู้เรียน
ผลลัพธ์การเรียนรู้
Needs Assessment
Guidelines for Student Development
Learning Outcomes
Issue Date:  15
Publisher: University of Phayao
Abstract: Research on the study of needs and guidelines for student development according to learning outcomes of the graduate program in educational administration, School of Education, University of Phayao. The objectives are 1) to assess the needs of the learning outcomes of the graduate program, School of Education, University of Phayao and 2) to study guidelines for student development according to learning outcomes of the graduate program, School of Education, University of Phayao The sample group was used to assess the needs learning outcomes of Master's degree program in educational administration, 196 people, and doctoral program in educational administration, 47 people. Questionnaires were used for collecting data and analyzed by using mean, standard deviation and the priority needs index (PNImodified). A group of informants in the study of student development guidelines according to the learning outcomes of the master program in educational administration, 10 people, and doctoral program, 12 people. The tools used were a focus group discussion form. The data were analyzed by content analysis. The results of the research found that 1) the master program in educational administration, there was a need for knowledge, ranked first, followed by skills, personal characteristics, and ethics, as for the results of the needs assessment of the learning outcomes of the doctoral program, found that there was a need for knowledge, ranked first, followed by skills, personal characteristics, and ethics. 2) Guidelines for student development according to learning outcomes in 4 areas: knowledge, skills, ethics, and character, there were teaching, learning, measurement and evaluation
การวิจัย เรื่อง การศึกษาความต้องการจำเป็นและแนวทางการพัฒนาผู้เรียนตามผลลัพธ์การเรียนรู้ระดับหลักสูตรบัณฑิตศึกษา สาขาวิชาการบริหารการศึกษา วิทยาลัยการศึกษา มหาวิทยาลัยพะเยา มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อประเมินความต้องการจำเป็นของผลลัพธ์การเรียนรู้ระดับหลักสูตร  บัณฑิตศึกษา วิทยาลัยการศึกษา มหาวิทยาลัยพะเยา  และ 2) เพื่อศึกษาแนวทางการพัฒนาผู้เรียนตามผลลัพธ์การเรียนรู้ระดับหลักสูตรบัณฑิตศึกษา วิทยาลัยการศึกษา มหาวิทยาลัยพะเยา กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการประเมินความต้องการจำเป็นของผลลัพธ์การเรียนรู้หลักสูตรการศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา จำนวน 196 คน และหลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา จำนวน 47 คน เครื่องมือที่ใช้ ได้แก่ แบบสอบถามความต้องการจำเป็น วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าดัชนีความต้องการจำเป็น (PNI) กลุ่มผู้ให้ข้อมูล ในการศึกษาแนวทางการพัฒนาผู้เรียนตามผลลัพธ์การเรียนรู้หลักสูตรการศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา จำนวน 10 คน และหลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา จำนวน 12 คน เครื่องมือที่ใช้ ได้แก่ แบบบันทึกการสนทนากลุ่ม (Focus Group Discussion) วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis) ผลการวิจัยพบว่า 1) หลักสูตรการศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มีความต้องการจำเป็นด้านความรู้ อยู่ในลำดับแรก รองลงมา ได้แก่ ด้านทักษะ ด้านลักษณะบุคคล และด้านจริยธรรม ส่วนผลการประเมินความต้องการจำเป็นของผลลัพธ์การเรียนรู้หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา พบว่า มีความต้องการจำเป็นด้านความรู้ อยู่ในลำดับแรก รองลงมา ได้แก่ ด้านทักษะ ด้านลักษณะบุคคล และด้านจริยธรรม 2) แนวทางการพัฒนาผู้เรียนตามผลลัพธ์การเรียนรู้ระดับหลักสูตรบัณฑิตศึกษา ตามผลลัพธ์การเรียนรู้ 4 ด้าน ได้แก่ ด้านความรู้ (Knowledge) ด้านทักษะ (Skills) ด้านจริยธรรม (Ethics) และด้านลักษณะบุคคล (Character) โดยมีแนวทางเกี่ยวกับวิธีการจัดการเรียนการสอน และการวัดประเมินผล
URI: http://202.28.20.112/dspace/handle/123456789/1112
Appears in Collections:School of Education

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
65204276.pdf5.56 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.