Please use this identifier to cite or link to this item: http://202.28.20.112/dspace/handle/123456789/1106
Title: THE RELATIONSHIP BETWEEN DIGITAL LEADERSHIP OF SCHOOL ADMINISTRATORS ANDLEARNING MANAGEMENT INNOVATION OF TEACHERS IN PHETCHABUN PRIMARYEDUCATIONAL SERVICE AREA OFFICE 2
ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษากับการพัฒนานวัตกรรมการจัดการเรียนรู้ของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเพชรบูรณ์ เขต 2
Authors: Pornprapa Janmao
พรประภา จันทร์เม้า
Namfon Gunma
น้ำฝน กันมา
University of Phayao
Namfon Gunma
น้ำฝน กันมา
numfon.gu@up.ac.th
numfon.gu@up.ac.th
Keywords: ความสัมพันธ์
ภาวะผู้นำดิจิทัล
พัฒนานวัตกรรมการจัดการเรียนรู้
Relationship
Digital Leadership
Learning Management Innovation
Issue Date:  20
Publisher: University of Phayao
Abstract: A Study of The Relationship between digital leadership of school administrators and learning management innovation of teachers in Phetchabun Primary Educational Service Area Office 2. The purpose of this research were 1) to study leadership of school administrators in Phetchabun Primary Educational Service Area Office 2, 2) to study development of innovation in learning management for teachers in Phetchabun Primary Educational Service Area Office 2 and 3) to study relationship between digital leadership of School Administrators and development of innovation in learning management for teachers in Phetchabun Primary Educational Service Area Office 2. The samples of this study were 316 school administrators and teachers in Phetchabun Primary Educational Service Area Office 2. The samples were recruited through a stratified sampling. The instrument was a five-point rating scale questionnaire. The reliability of the questionnaire was 0.98 and the consistency index was 0.67-1.00. The statistics employed for the data analysis were percentage, mean, standard deviation (S.D.), -coefficient, and Pearson Product Moment Correlation Coefficient. The study revealed that 1) Digital Leadership of School Administrators overall was at high level. 2) Development of innovation in learning management for teachers in overall was at a high level. And 3) connection between digital leadership of school administrators and development of innovation in learning management for teachers was positive direction at a very high level (r = 0.876**), there was a statistically significant difference at a level of 0.01.
การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษากับการพัฒนานวัตกรรมการจัดการเรียนรู้ของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเพชรบูรณ์ เขต 2 ในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาภาวะผู้นำดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเพชรบูรณ์ เขต 2 2) เพื่อศึกษาการพัฒนานวัตกรรมการจัดการเรียนรู้ของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเพชรบูรณ์ เขต 2 และ 3) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษากับการพัฒนานวัตกรรมการจัดการเรียนรู้ของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเพชรบูรณ์ เขต 2 กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษาและครูผู้สอน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเพชรบูรณ์ เขต 2 จำนวน 316 คน โดยการสุ่มแบบแบ่งชั้น เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลจากการตอบแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า (Rating scale) 5 ระดับ โดยมีค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถามเท่ากับ 0.98 และค่าดัชนี ความสอดคล้อง 0.67-1.00 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสัมประสิทธิ์แอลฟา และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน ผลการศึกษาพบว่า 1) ภาวะผู้นำดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษา โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก 2) การพัฒนานวัตกรรมการจัดการเรียนรู้ของครู โดยภาพรวม อยู่ในระดับมาก และ 3) ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษากับการพัฒนานวัตกรรม การจัดการเรียนรู้ของครู มีความสัมพันธ์เป็นไปในทิศทางบวกระดับสูงมาก (r = 0.876**) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01
URI: http://202.28.20.112/dspace/handle/123456789/1106
Appears in Collections:School of Education

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
63204364.pdf3.17 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.