Please use this identifier to cite or link to this item: http://202.28.20.112/dspace/handle/123456789/1104
Title: THE RELATIONSHIP BETWEEN AGILE LEADERSHIP OF SCHOOL ADMINISTRATORS AND TEACHER CORE COMPETENCIES  IN THE SECONDARY EDUCATIONAL SERVICE AREA OFFICE BANGKOK 2
ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำแบบอไจล์ของผู้บริหารสถานศึกษากับสมรรถนะหลักของครูสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 2
Authors: Sukanya Adisa
สุกัญญา อดิษะ
Somsak Aeamkongsee
สมศักดิ์ เอี่ยมคงสี
University of Phayao
Somsak Aeamkongsee
สมศักดิ์ เอี่ยมคงสี
somsak.ae@up.ac.th
somsak.ae@up.ac.th
Keywords: ภาวะผู้นำแบบอไจล์ของผู้บริหารสถานศึกษา
สมรรถนะหลักของครู
Agile Leadership of School Administrators
Teachers Core Competencies
Issue Date:  15
Publisher: University of Phayao
Abstract: This research aimed to 1) to study the agile leadership of school administrators under the  Secondary Education Service Area Office Bangkok 2. 2) to study the core competencies of teachers under the Secondary Education Service Area Office Bangkok 2.3) to study the relationship between the agile leadership of school administrators and teachers' core competencies under the Secondary Education Service Area Office Bangkok 2.The sample size was determined using the G* Star Power Version 3.1 program. A total of 194 teachers were randomly selected from schools in proportion to their size. Data was collected using a questionnaire with a reliability coefficient of 0.98 for the agile leadership of school administrators, and 0.94 for the core competencies of teachers. Statistical analysis included percentages, means, standard deviations, and Pearson's correlation coefficients. The results of the research found that 1) The agile leadership of school administrators was high overall and in each aspect. The mean scores, in descending order, were: understanding and valuing individuals, participation and teamwork, technological and innovation capabilities, and direction setting.2) The core competencies of teachers in the Secondary Education Service Area Office Bangkok 2 were high in all three competencies. The mean scores, in descending order, were: teamwork, self-development, and achievement orientation.3)The agile leadership of school administrators had a positive and moderately high correlation with the core competencies of teachers in schools under  the Secondary Education Service Area Office Bangkok 2 (r = .760). The aspect with the highest correlation was participation and teamwork (r = .726), followed by technological and innovation capabilities (r = .711), understanding and valuing individuals (r = .698), and direction setting (r = .695).These correlations were statistical significance at the level of 0.01.
การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาภาวะผู้นำแบบอไจล์ของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากรุงเทพมหานครเขต 2 2) เพื่อศึกษาสมรรถนะหลักของครูสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากรุงเทพมหานครเขต 2 3) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำแบบอไจล์ของผู้บริหารสถานศึกษากับสมรรถนะหลักของครูสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากรุงเทพมหานครเขต 2 กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างโดยใช้โปรแกรม G* Star Power Version 3.1 ได้กลุ่มตัวอย่างจากการสุ่มแบบแบ่งชั้นภูมิ ตามสัดส่วนของขนาดแต่ละโรงเรียน คือ ครู จำนวน 194 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามที่มีค่าความเชื่อมั่นของภาวะผู้นำแบบอไจล์ของผู้บริหารสถานศึกษาเท่ากับ 0.98 ค่าความเชื่อมั่นของสมรรถนะหลักของครูเท่ากับ 0.94 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน ผลการวิจัย พบว่า 1) ภาวะผู้นำแบบอไจล์ของผู้บริหารสถานศึกษา ทั้งภาพรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก โดยเรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปน้อย คือ ด้านความเข้าใจและให้ความสำคัญกับบุคคล ด้านการมีส่วนร่วมและการทำงานเป็นทีม ด้านการมีความสามารถด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรม และด้านการกำหนดทิศทาง 2) สมรรถนะหลักของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 2 อยู่ในระดับมาก ทั้ง 3 สมรรถนะ โดยเรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปน้อย คือ สมรรถนะการทำงานเป็นทีม สมรรถนะการพัฒนาตนเอง และสมรรถนะการมุ่งผลสัมฤทธิ์ในการปฏิบัติงาน 3) ภาวะผู้นำแบบอไจล์ของผู้บริหารสถานศึกษามีความสัมพันธ์เชิงบวก ระดับค่อนข้างสูงกับสมรรถนะหลักของครูในสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากรุงเทพมหานครเขต 2 (r=.760) ด้านที่มีค่าความสัมพันธ์สูงสุด คือ ด้านการมีส่วนร่วมและการทำงานเป็นทีม (r = .726) รองลงมา คือ ด้านการมีความสามารถด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรม (r = .711) ด้านการเข้าใจและให้ความสำคัญกับบุคคล (r = .698) และด้านการกำหนดทิศทาง (r = .695) ตามลำดับ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.1
URI: http://202.28.20.112/dspace/handle/123456789/1104
Appears in Collections:School of Management and Information Sciences

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
65160132.pdf2.48 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.