Please use this identifier to cite or link to this item: http://202.28.20.112/dspace/handle/123456789/1099
Title: RELATIONSHIP BETWEEN SCHOOL ADMINISTRATORS' STRATEGIC LEADERSHIP AND ACADEMIC ADMINISTRATION  IN SCHOOLS UNDER  PHUKET PRIMARY EDUCATIONAL SERVICE AREA OFFICE
ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ของผู้บริหารสถานศึกษา กับการบริหารวิชาการของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาภูเก็ต
Authors: Chonlada Nooninploddee
ชลลดา หนูนิลปลอดดี
Tharin Rasanond
ธารินทร์ รสานนท์
University of Phayao
Tharin Rasanond
ธารินทร์ รสานนท์
tharin.ra@up.ac.th
tharin.ra@up.ac.th
Keywords: ภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์
การบริหารวิชาการ
ผู้บริหารสถานศึกษา
Strategic Leadership
Academic Administration
School Administrators
Issue Date:  15
Publisher: University of Phayao
Abstract: The purposes of this research were to study: 1) Strategic leadership of school administrators, 2) Academic administration in schools and 3) The relationship between school administrators' strategic leadership and academic administration in schools under the Phuket Primary Educational Service Area Office. The sample consisted of 279 schoolteachers under the Phuket Primary Educational Service Area Office. The research instrument was a 5 rating scale questionnaire with validity ranging from 0.67 to 1.00 and reliability of administrators' strategic leadership was 0.92 and Academic administration in schools was 0.93 Statistical analyses included frequency, percentage, mean, standard deviation, and Pearson’s product moment correlation coefficient. The findings were as follows: 1) School administrators' strategic leadership was rated in each aspect and overall at a high level. In orderly, from highest mean to lowest mean, were organizational strategic direction-setting, strategy formulations, strategy implementation, and strategy for control and evaluation. 2) Academic administration in schools was rated in each aspect and overall at a high level. In orderly, from highest to lowest mean, were learning process development, learning outcome assessment, curriculum development, educational supervision, and educational media and technology. 3) The relationship between school administrators' strategic leadership and academic administration in schools in overall was highly positive correlation, statistically significant at the .01 level (r = .844, p ≤ .01).
การวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ของผู้บริหารสถานศึกษา 2) เพื่อศึกษาการบริหารวิชาการของสถานศึกษา 3) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ของผู้บริหารสถานศึกษากับการบริหารวิชาการของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาภูเก็ต กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ครูผู้สอนในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาภูเก็ต จำนวน 279 คน เครื่องมือที่ใช้ คือ แบบสอบถามแบบมาตรประมาณค่า 5 ระดับ มีค่าความตรงเชิงเนื้อหาอยู่ระหว่าง 0.67-1.00 และค่าความเชื่อมั่นด้านภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ของผู้บริหารสถานศึกษาเท่ากับ 0.92 และด้านการบริหารวิชาการของสถานศึกษาเท่ากับ 0.93 วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน ผลการวิจัยพบว่า 1) ภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ของผู้บริหารสถานศึกษาในภาพรวม และรายด้านอยู่ในระดับมาก เรียงลำดับด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดไปค่าเฉลี่ยต่ำสุด ดังนี้ ด้านการกําหนดทิศทางขององค์การ ด้านการกำหนดกลยุทธ์ ด้านการควบคุมและประเมินกลยุทธ์ และด้านการนํากลยุทธ์ไปปฏิบัติ ตามลำดับ 2) การบริหารวิชาการของสถานศึกษาในภาพรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก เรียงลำดับด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดไปต่ำสุด ดังนี้ ด้านการพัฒนากระบวนการเรียนรู้ ด้านการวัดผลและประเมินผลการเรียนรู้ ด้านการพัฒนาหลักสูตร ด้านการนิเทศการศึกษา และด้านการพัฒนา และใช้สื่อเทคโนโลยีทางการศึกษา ตามลำดับ 3) ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ของผู้บริหารสถานศึกษากับการบริหารวิชาการของสถานศึกษา โดยภาพรวมมีความสัมพันธ์เชิงบวกอยู่ในระดับสูง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 (r = .844, ≤ .01)
URI: http://202.28.20.112/dspace/handle/123456789/1099
Appears in Collections:School of Management and Information Sciences

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
65160020.pdf3.2 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.