Please use this identifier to cite or link to this item:
http://202.28.20.112/dspace/handle/123456789/1095
Title: | UNIQUENESS AND IDENTITY OF THE EULOGISTIC LITERATURES FOR THE KING RAMA IX เอกัตลักษณ์ของวรรณคดียอพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศรมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร |
Authors: | Wichetchay Kamonsujja วิเชษฐชาย กมลสัจจะ Warawat Sriyabhaya วรวรรธน์ ศรียาภัย University of Phayao Warawat Sriyabhaya วรวรรธน์ ศรียาภัย warawat.sr@up.ac.th warawat.sr@up.ac.th |
Keywords: | เอกัตลักษณ์ วรรณคดียอพระเกียรติ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 9 Uniqueness and Identity Eulogistic literatures The King Rama IX |
Issue Date: | 15 |
Publisher: | University of Phayao |
Abstract: | The aims of the research are to study the uniqueness and identity of the elements in eulogistic literatures dedicated to King Rama IX, as well as to investigate the uniqueness and identity of the presentation techniques employed in such literature. To achieve this, three research data groups were utilized: 1) The main data group comprises 29 eulogistic literature pieces for King Rama IX. 2) The secondary data group consists of eulogistic literatures spanning from the early Ayutthaya period to the Rattanakosin period (up to King Rama VIII), totaling 15 stories. and 3) Interview data with poets were collected, utilizing and adapting the conceptual framework of the elements, uniqueness, identity, inheritance, and creativity of eulogistic literatures. The results of the study are as follows: 1) The elements identified in the eulogistic literatures dedicated to King Rama IX consist of five sections: the title, the worship poem, the introduction of Psalms, the content praising the king, and the conclusions of the Psalms. These five elements collectively form the specific characteristics of eulogistic literature, diligently inherited by poets. 2) The uniqueness and identity of presentation techniques within the eulogistic literatures of King Rama IX were identified as follows: 2.1) In terms of form, these techniques comprise the format, poetic language, and art created language, serving as key components for creating eulogistic literatures with distinctive styles and profound meanings. 2.2) In terms of content, poets comprehensively presented various aspects throughout King Rama IX's reign, encompassing both composition and presentation techniques. Overall, these findings shed light on the distinctive features and artistic qualities of eulogistic literatures dedicated to King Rama IX. The eulogistic literatures of King Rama IX were composed by combining two processes: the process of inheriting the traditions of composing eulogistic literatures from the past, and the process of incorporating unconventional or reinvented elements to differentiate it from tradition. The distinctive characteristics inherited and manifested together create a unique identity in Thai eulogistic literatures. The distinctive characteristics newly created by poets become the specific identity of eulogistic literatures in King Rama IX's reign, differing from eulogistic literatures in the past. When each poet of King Rama IX’s reign utilizes these characteristics collectively, they share similar distinctive traits, thereby becoming the identity of eulogistic literature in King Rama IX’s reign. This process gives eulogistic literature in this era unique and distinctive features. การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาเอกัตลักษณ์องค์ประกอบในวรรณคดียอพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร และเอกัตลักษณ์กลวิธีการนำเสนอในวรรณคดียอพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร โดยใช้กลุ่มข้อมูลในการวิจัย 3 กลุ่ม ประกอบด้วย 1) กลุ่มข้อมูลหลัก คือ วรรณคดียอพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร จำนวน 29 เรื่อง 2) กลุ่มข้อมูลรอง คือ วรรณคดียอพระเกียรติในอดีต ตั้งแต่สมัยอยุธยาตอนต้นถึงรัตนโกสินทร์ สมัยรัชกาลที่ 8 จำนวน 15 เรื่อง และ 3) กลุ่มข้อมูลจากการสัมภาษณ์กวี โดยประยุกต์ใช้แนวคิดองค์ประกอบของวรรณคดียอพระเกียรติ แนวคิดเอกลักษณ์และอัตลักษณ์ แนวคิดการสืบทอดและการสร้างสรรค์วรรณกรรม ผลการวิจัยสรุปได้ ดังนี้ 1) ด้านเอกัตลักษณ์องค์ประกอบในวรรณคดียอพระเกียรติสมัยรัชกาลที่ 9 พบว่า มี 5 ตอน คือ ชื่อเรื่อง บทนมัสการหรือ ไหว้ครู บทปฐมสดุดี เนื้อเรื่อง และบทปัจฉิมสดุดี องค์ประกอบทั้ง 5 ตอน เป็นลักษณะเฉพาะของวรรณคดี ยอพระเกียรติที่กวีสืบทอดขนบมาอย่างเคร่งครัด 2) ด้านเอกัตลักษณ์กลวิธีการนำเสนอ พบ 2 ลักษณะ คือ 2.1) ด้านรูปแบบ ประกอบด้วย รูปแบบคำประพันธ์และภาษาวรรณศิลป์ ถือเป็นวัสดุสำคัญในการประกอบสร้าง วรรณคดียอพระเกียรติให้เกิดลีลาแห่งคำและความ และ 2.2) ด้านเนื้อหา ซึ่งกวีนำเสนอเรื่องราวตลอดรัชสมัย พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 9 อย่างรอบด้าน ทั้งองค์ประกอบและกลวิธีการนำเสนอของวรรณคดี ยอพระเกียรติสมัยรัชกาลที่ 9 จะประกอบสร้างขึ้นจากการผสมผสาน 2 กระบวนการ คือ กระบวนการสืบทอดขนบ จากวรรณคดียอพระเกียรติในอดีต ในขณะเดียวกันก็ใช้กระบวนการแหวกขนบหรือการสร้างสรรค์สิ่งใหม่ขึ้นให้มี ลักษณะที่แตกต่างออกไปจากเดิม ลักษณะเด่นที่สืบทอดกันมาและปรากฏร่วมกันจึงทำให้เกิดเอกลักษณ์ในวรรณคดี ยอพระเกียรติของไทย ส่วนลักษณะจำเพาะที่กวีสร้างสรรค์ขึ้นใหม่จะเป็นอัตลักษณ์เฉพาะของวรรณคดี ยอพระเกียรติสมัยรัชกาลที่ 9 ที่แตกต่างจากวรรณคดียอพระเกียรติในอดีต และเมื่อกวีสมัยรัชกาลที่ 9 แต่ละคน นำอัตลักษณ์มาใช้ร่วมกัน มีลักษณะเด่นเหมือนกันในองค์รวมจึงกลายเป็นเอกลักษณ์ของวรรณคดียอพระเกียรติ สมัยรัชกาลที่ 9 กระบวนการดังกล่าวทำให้วรรณคดียอพระเกียรติสมัยนี้มีเอกัตลักษณ์ที่โดดเด่น |
URI: | http://202.28.20.112/dspace/handle/123456789/1095 |
Appears in Collections: | School of Liberal Arts |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
63113992.pdf | 13.18 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.