Please use this identifier to cite or link to this item: http://202.28.20.112/dspace/handle/123456789/1090
Title: FACTORS ASSOCIATION TO MOTIVATION BIOMARKERS AND PREVENTIVE BEHAVIORSOF DIABETIC NEPHROTIC COMPLICATIONS AMONG DIABETIC PATIENTSIN RURAL AREAS CHIANG RAI PROVINCE
ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับแรงจูงใจ ค่าบ่งชี้ทางเคมี และพฤติกรรมการป้องกันภาวะแทรกซ้อนทางไตของผู้ป่วยโรคเบาหวานในพื้นที่ชนบทจังหวัดเชียงราย
Authors: Rattanaporn Yongpet
รัตน์ธนาพร ยองเพชร
Katekaew Seangpraw
เกษแก้ว เสียงเพราะ
University of Phayao
Katekaew Seangpraw
เกษแก้ว เสียงเพราะ
katekaew.se@up.ac.th
katekaew.se@up.ac.th
Keywords: ทฤษฎีแรงจูงใจเพื่อป้องกันโรค
พฤติกรรมการป้องกัน
โรคเบาหวาน
การควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด
ค่าบ่งชี้ทางเคมี
protection motivation theory
preventive behaviors
diabetes
glycemic control
Biomarkers
Issue Date:  20
Publisher: University of Phayao
Abstract: The cross-sectional study design aims to investigate motivation biomarkers and behaviors of diabetic nephrotic complications among diabetic patients in rural areas of Chiang Rai Province. The participants were type 2 diabetics with no kidney complications. The research was carried out in Khun Tan District. Chiang Rai Province. 422 samples were collected using a multi-stage sampling method. A self-administered questionnaire was used to collect data. Descriptive statistics, Pearson correlation coefficients, and multiple regression analyses were used. The study's findings revealed that 63.3% of the participants were female, with an average age of 62.2 years, and 19.9% had sleep problems. More than half (61.4%) had Fasting Blood Sugar (FBS) levels greater than or equal to 126 mg/dL, and Hemoglobin A1c (HbA1C) levels were 7-8.9% (81.50%). The knowledge of diabetes and kidney complications was moderate (43.6%). In terms of the protection motivation construct (PMT), scores for noxiousness were low (75.1%), perceived probability were moderate (57.3%), self-efficacy and response efficacy were both high (38.4% and 45.3%), and preventive behaviors for kidney complications among diabetic patients were moderate (61.4%). A Pearson correlation analysis of the PMT structure revealed a significant positive relationship between all variables (p < 0.01). The preventive behaviors score showed a statistically significant negative relationship (p-value < 0.01) with both low FBS (r = -0.319) and moderate HbA1C (r = -0.625). Income (B = 0.15) and PMT construct (B = 0.71) were significantly related to preventive behaviors to prevent kidney complications (p < 0.05) (R2 = 0.670), as was age (B = -0.73) and preventive behaviors (B = -1.15) have a negative relationship with FBS level. Sleep problems (B = 10.71) showed a significant positive relationship with FBS level (p < 0.05) (R2 = 0.143). Additionally, female (B = -0.26), marital status (B = -0.24), and preventive behaviors (B = -0.09) were negatively associated with HbA1C levels. Sleep problems (B = 0.42) showed a significant positive correlation with HbA1C levels (p < 0.05) (R2 = 0.416). Conclusions the findings of this study highlight the importance of diabetes education and preventive behaviors in preventing kidney complications in diabetic patients. Health promotion programs should target women in order to provide continuous knowledge that leads to increased awareness of the severity and complications of the disease, as well as promoting self-management to increase efficiency and self-efficacy and reduce the occurrence of conditions, such as kidney complications in diabetic patients, that are appropriate for the local context.
การวิจัยแบบภาคตัดขวางนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับแรงจูงใจ ค่าบ่งชี้ทางเคมี และพฤติกรรมการป้องกันภาวะแทรกซ้อนทางไตของผู้ป่วยโรคเบาหวานในพื้นที่ชนบท จังหวัดเชียงราย กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 และไม่มีภาวะแทรกซ้อนทางไต ดำเนินการ ในอำเภอขุนตาล จังหวัดเชียงราย จำนวน 422 คน ใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างหลายขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้เป็น แบบสอบถามตอบด้วยตนเอง วิเคราะห์ด้วยสถิติเชิงพรรณนา สถิติสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เพียร์สัน และสถิติการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง ร้อยละ 63.3 มีอายุเฉลี่ย 62.2 ปี มีปัญหาการนอนหลับ ร้อยละ 19.9 มีระดับน้ำตาลในเลือด หลังอดอาหารอยู่ในระดับมากกว่าหรือเท่ากับ 126 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร ร้อยละ 61.4 และระดับน้ำตาล สะสมในเลือดอยู่ในระดับ 7-8.9% ร้อยละ 81.50 ความรู้เรื่องโรคเบาหวานและภาวะแทรกซ้อนทางไต อยู่ระดับปานกลาง ร้อยละ 43.6 สำหรับโครงสร้างแรงจูงใจเพื่อป้องกันโรคพบว่า คะแนนการรับรู้ ความรุนแรงมีระดับต่ำ ร้อยละ 75.1 การรับรู้โอกาสเสี่ยงมีระดับปานกลาง ร้อยละ 57.3 ความคาดหวัง ในความสามารถของตนเอง และความคาดหวังในประสิทธิผลของการตอบสนองต่อพฤติกรรมการป้องกัน ภาวะแทรกซ้อนทางไตมีระดับสูง ร้อยละ 38.4 และ 45.3 พฤติกรรมการป้องกันภาวะแทรกซ้อนทางไตของ ผู้ป่วยโรคเบาหวานในระดับปานกลาง 61.4 ผลการวิเคราะห์ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับแรงจูงใจ ค่าบ่งชี้ทางเคมี และพฤติกรรมการป้องกันภาวะแทรกซ้อนทางไต พบว่า รายได้ (B = 0.15) และแรงจูงใจเพื่อป้องกันโรค (B = 0.71) มีความสัมพันธ์เชิงบวกกับพฤติกรรมการป้องกันภาวะแทรกซ้อนทางไต (R² = 0.670) อายุ (B = -0.73) และพฤติกรรมการป้องกันภาวะแทรกซ้อนทางไต (B = -1.15) มีความสัมพันธ์เชิงลบกับระดับน้ำตาลสะสมในเลือด ส่วนปัญหาการนอนหลับ (B = 10.71) มีความสัมพันธ์เชิงบวกกับระดับน้ำตาลในเลือดหลังอดอาหาร (R² = 0.143) เพศหญิง (B = -0.26) สถานภาพสมรสคู่ (B = -0.24) และพฤติกรรมการป้องกันภาวะแทรกซ้อนทางไต (B = -0.09) มีความสัมพันธ์เชิงลบกับระดับน้ำตาลสะสมในเลือด และปัญหาการนอนหลับ (B = 0.42) มีความสัมพันธ์เชิงบวกกับระดับน้ำตาลสะสมในเลือด (R² = 0.416) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < 0.05) สรุปผล การศึกษาได้เห็นถึงความสำคัญของความรู้เรื่องโรคเบาหวานและพฤติกรรมการป้องกันภาวะแทรกซ้อนทางไตของ ผู้ป่วยโรคเบาหวาน การจัดโปรแกรมส่งเสริมสุขภาพควรเน้นในเพศหญิงเพื่อให้มีความรู้อย่างต่อเนื่องนำไปสู่การเพิ่ม ความตระหนักถึงความรุนแรงภาวะแทรกซ้อนของโรค ส่งเสริมการจัดการตนเองเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการรับรู้ ความสามารถของตนเองเพื่อลดการเกิดภาวะแทรกซ้อนทางไตของผู้ป่วยโรคเบาหวานให้เหมาะสมกับบริบทพื้นที่
URI: http://202.28.20.112/dspace/handle/123456789/1090
Appears in Collections:คณะสาธารณสุขศาสตร์

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
64224525.pdf3.22 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.