Please use this identifier to cite or link to this item: http://202.28.20.112/dspace/handle/123456789/1073
Title: A STUDY OF PARTICIPATION OF COMMUNITY IN SCHOOL MANAGEMENT UNDER PHAYAO SECONDARY EDUCATIONAL SERVICE AREA OFFICE
การศึกษาการมีส่วนร่วมของชุมชนในการบริหารสถานศึกษาของโรงเรียน ในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาพะเยา
Authors: Supametha Thadachonlawat
ศุภเมธา ธาดาชลวัฒน์
Natthawut Sabphaso
ณัฐวุฒิ สัพโส
University of Phayao
Natthawut Sabphaso
ณัฐวุฒิ สัพโส
natthawut.sa@up.ac.th
natthawut.sa@up.ac.th
Keywords: การมีส่วนร่วมของชุมชนในการบริหารสถานศึกษา
Community Participation
School Management
Issue Date:  20
Publisher: University of Phayao
Abstract: A study of participation community in school management under Phayao Secondary Educational Service Area Office aimed to study and compare a study of participation community in school management under Phayao Secondary Educational Service Area Office classified by work experience and size of schools. The sample group consisted of 263 teachers of schools under Phayao Secondary Educational Service Area Office, used questionnaires and estimation scales, and analyzed the data using percentages, means, standard deviations, and One-Way Analysis of Variance. When statistical differences were found, the differences were tested using the Scheffe' method. The study found that a study of participation community in school management under Phayao Secondary Educational Service Area Office, the overall picture was at a high level. The aspect with the highest mean value was participation in evaluation, followed by participation in decision making. And participation in operations, and the side with the lowest average was in terms of participation in benefits. When comparing the four areas of work experience, they were not different, and classified according to the size of schools, the overall picture was not different. And it was found that there were one of the different sides that was statistically significant at the level of 0.05 called participation in the evaluation. As for participation in decision making, having participate in operations and participation in benefits, there were no differences.
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบการมีส่วนร่วมของชุมชนในการบริหารสถานศึกษาตามความคิดเห็นของครูผู้สอนของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาพะเยา จำแนกตามตัวแปร ประสบการณ์การปฏิบัติงาน และขนาดของสถานศึกษา ศึกษาจากกลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ครูผู้สอนของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่มัธยมศึกษาพะเยา กำหนดขนาดของกลุ่มตัวอย่างโดยใช้สูตรคำนวณเครจซี่และมอร์แกน (Krejcie & Morgan, 1970) ได้จำนวนกลุ่มตัวอย่าง 263 คน แล้วนำมากำหนดสัดส่วนตามขนาดของประชากรในแต่ละโรงเรียน และทำการสุ่มตัวอย่างอย่างง่าย (Simple RandomSampling) โดยใช้แบบสอบถาม มาตราส่วนประมาณค่ามีค่าความเชื่อมั่นของแบบทดสอบทั้งฉบับเท่ากับ 0.94 และวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบองค์ประกอบเดียว (One-Way Analysis of Variance) เมื่อพบความแตกต่างทางสถิติได้ทดสอบผลต่างค่าเฉลี่ยเป็นรายคู่ ด้วยวิธีการของเซฟเฟ่ (Scheffe' method) จากการศึกษา พบว่า การศึกษาการมีส่วนร่วมของชุมชนในการบริหารสถานศึกษาของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาพะเยา ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก โดยด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ด้านการมีส่วนร่วมในการประเมินผล รองลงมาคือ ด้านการมีส่วนร่วมในการตัดสินใจ ด้านการมีส่วนร่วม ในการปฏิบัติการ และด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุดคือ ด้านการมีส่วนร่วมในผลประโยชน์เมื่อเปรียบเทียบจำแนกตามประสบการณ์การปฏิบัติงานทั้ง 4 ด้าน ในภาพรวมไม่แตกต่างกันและจำแนกตามขนาดของสถานศึกษาในภาพรวม ไม่แตกต่างกัน และพบว่า มีด้านที่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 คือด้านการมีส่วนร่วม ในการประเมินผล ส่วนด้านการมีส่วนร่วมในการตัดสินใจ ด้านการมีส่วนร่วมในการปฏิบัติการ และด้านการมี ส่วนร่วมในผลประโยชน์ ไม่แตกต่างกัน
URI: http://202.28.20.112/dspace/handle/123456789/1073
Appears in Collections:School of Education

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
65204669.pdf2.65 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.